DSpace Repository

การใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ของบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานคร

Show simple item record

dc.contributor.advisor อัจฉรา เอ๊นซ์
dc.contributor.author สุภาภรณ์ คำเรืองฤทธิ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยาลัยประชากรศาสตร์
dc.date.accessioned 2014-03-19T10:29:10Z
dc.date.available 2014-03-19T10:29:10Z
dc.date.issued 2548
dc.identifier.isbn 9741427417
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41421
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 en_US
dc.description.abstract พลังงานทดแทน เช่น น้ำมันแก๊สโซฮอล์ เป็นทางเลือกหนึ่งในการประหยัดพลังงานน้ำมัน ซึ่งนับเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินกิจกรรมของมนุษย์ การวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษาการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ของบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานคร โดยใช้ทฤษฎีการแพร่กระจายนวัตกรรมในการพัฒนากรอบแนวคิดของการวิจัย ซึ่งเป็นการสำรวจเชิงตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญที่ขับรถยนต์จำนวน 546 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่ผู้ตอบกรอกเองระหว่างเดือนกันยายน - ตุลาคม พ.ศ. 2549 ร้อยละ 40.5 ของบุคลากรที่เป็นตัวอย่างใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ในรอบ 6 เดือนก่อนการสำรวจ และจากการวิเคราะห์ความถดถอยโลจิสติคอย่างง่ายพบว่า ขนาดของครัวเรือน ระดับความทันสมัย การประสบปัญหาค่าใช้จ่ายเรื่องน้ำมัน การรับข่าวสารเกี่ยวกับน้ำมันแก๊สโซฮอล์จากสื่อมวลชน การรับข่าวสารเกี่ยวกับน้ำมันแก๊สโซฮอล์จากสื่อบุคคล การรับข่าวสารเกี่ยวกับน้ำมันแก๊สโซฮอล์จากสื่อเฉพาะกิจ การรับรู้คุณสมบัติของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ การรับรู้การเข้าถึงน้ำมันแก๊สโซฮอล์และทัศนคติเกี่ยวกับน้ำมันแก๊สโซฮอล์มีอิทธิพลทางบวกต่อการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ในขณะที่อายุมีอิทธิพลทางลบ แต่ในการวิเคราะห์ความถดถอยโลจิสติคเชิงพหุพบว่า ตัวแปรที่ยังอิทธิพล ได้แก่ ขนาดของครัวเรือน การรับข่าวสารเกี่ยวกับน้ำมันแก๊สโซฮอล์จากสื่อบุคคล การรับรู้คุณสมบัติของน้ำมันแก๊สโซฮอล์และการรับรู้การเข้าถึงน้ำมันแก๊สโซฮอล์ และตัวแปรอิสระทั้ง 18 ตัวสามารถอธิบายการแปรผันของการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ได้ร้อยละ 29.9 การวิเคราะห์ความถดถอยโลจิสติคเชิงพหุแบบขั้นตอนได้ยืนยันถึงอิทธิพลทางบวกของขนาดของครัวเรือน การรับข่าวสารเกี่ยวกับน้ำมันแก๊สโซฮอล์จากสื่อบุคคล การรับรู้คุณสมบัติของน้ำมันแก๊สโซฮอล์และการรับรู้การเข้าถึงน้ำมันแก๊สโซฮอล์ที่มีต่อการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ และยังพบอิทธิพลทางลบของความรู้เกี่ยวกับน้ำมันแก๊สโซฮอล์ที่มีต่อการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ ตัวแปรอิสระทั้ง 5 ตัว สามารถอธิบายการแปรผันของการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ได้ร้อยละ 26.3 ทฤษฎีการแพร่กระจายนวัตกรรมสามารถอธิบายการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ได้ดีพอสมควร รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรรณรงค์ให้ผู้ขับรถยนต์ใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์เป็นประจำมากขึ้น โดยเน้นการสร้างความมั่นใจด้านคุณภาพของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ และการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อบุคคล รวมทั้งการกำหนดราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ให้ถูกกว่าน้ำมันเบนซินมากขึ้น
dc.description.abstractalternative Gasohol is an alternative energy for saving fuel, a major factor of human activities performing. This research aims to study gasohol use of university personnel in Bangkok and to investigate factors influencing their uses. A cross-sectional survey, applying the diffusion of innovation theory for its conceptual framework, included 546 samples of Chulalongkorn University and Assumption University. The data were collected through self-administered questionnaires from September to October 2006. There are 40.5 percent of the samples who have used gasohol in the past six months prior to the survey. Simple logistic regression analyses show that samples’ household size, personal modernization level, perceived problems from fuel price, exposure to mass-media, interpersonal media and ad hoc media regarding gasohol, perceived property of gasohol, perceived accessibility to gasohol and attitude towards gasohol, each, has a positive influence on uses at the 0.05 statistically significant level. Age, on the other hand, has a negative influence. However, multiple regression analysis shows that only samples’ household size, exposure to interpersonal media regarding gasohol, perceived property of gasohol and perceived accessibility to gasohol independently influence the uses. All of 18 independent variables can explain variation on gasohol use by 29.9 percent. Further multiple regression analysis, using stepwise method, confirms the positive influences of those four factors, but a negative influence of samples’ knowledge regarding gasohol on the uses is also found. These five independent variables can explain variation on gasohol use by 26.3 percent. The diffusion of innovation theory can explain gasohol use moderately. The government and related agencies should create campaigns to increase regular gasohol use by focusing on heightening users’ confidence towards quality of gasohol, promoting interpersonal communication and setting the price of gasohol to be much lower than benzene’s.
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.title การใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ของบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานคร en_US
dc.title.alternative Gasohol use by University in Bangkok en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline ประชากรศาสตร์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record