Abstract:
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาค่าความแข็งแรงดัดขวางของเรซิน คอมโพสิตเสริมเส้นใยแก้ว และ เส้นใยโพลีเอทิลลีน เปรียบเทียบกับไม่เสริมเส้นใย โดยเส้นใยแก้วที่ใช้ในการทดลองเป็นเส้นใยแก้วในประเทศ ไทย เส้นใยแก้วสำเร็จรูปจากต่างประเทศและเส้นใยโพลีเอทิลลีนสำเร็จรูปจากต่างประเทศ ทำชิ้นงานเรซิน คอมโพสิต 140 ชิ้นขนาด 2 x 2 x 25 มิลลิเมตร แบ่งเป็น 7 กลุ่มๆละ 20 ชิ้น ชิ้นงาน เรซิน คอมโพสิต ที่ไม่ เสริมเส้นใยเป็นกลุ่มควบคุม ชิ้นงาน เรซิน คอมโพสิต เสริมเส้นใยแก้วที่มีในประเทศไทย มีปริมาณเส้นใยแต่ ละกลุ่มร้อยละ10,20,30,40โดยปริมาตร กลุ่มที่เสริมเส้นใยแก้วสำเร็จรูปและกลุ่มที่เสริมเส้นใยโพลีเอทิลลีน สำเร็จรูป แบ่งกลุ่มละ 10 ชิ้น แช่ในน้ำกลั่นอุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 7 วัน และ 30 วัน ทดสอบค่าความแข็งแรงดัดขวางด้วยเครื่องทดสอบสากลรุ่น 8572 ความเร็วหัวกด 1 มิลลิเมตรต่อนาที จาก สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการทดสอบแบบที พบว่าในทุกกลุ่มของชิ้นงาน เรซิน คอมโพสิตที่ เสริมเส้นใยมีค่าความแข็งแรงดัดขวางที่สูงกว่าในกลุ่มที่ไม่เสริมเส้นใยที่ความเชื่อมั่น 0.05ยกเว้นกลุ่มที่เสริม เส้นใยโพลีเอทิลลีนสำเร็จรูปที่แช่ในน้ำกลั่น7วัน เมื่อเปรียบเทียบค่าความแข็งแรงดัดขวางกับเวลาในการแช่ น้ำกลั่นพบว่ากลุ่มที่แช่ในน้ำกลั่น 30วัน ค่าความแข็งแรงดัดขวางเฉลี่ยลดลงที่ความเชื่อมั่น 0.05 ยกเว้น กลุ่มที่ไม่เสริมเส้นใย กลุ่มที่เสริมเส้นใยโพลีเอทิลลีนสำเร็จรูปและกลุ่มเสริมเส้นใยแก้วที่มีในประเทศไทย ปริมาณร้อยละ40โดยปริมาตร เมื่อพิจารณาปริมาณเส้นใยที่เสริมในชิ้นงานพบว่าในชิ้นงาน เรซิน คอมโพสิต เสริมเส้นใยแก้วที่มีในประเทศไทยปริมาณร้อยละ30โดยปริมาตรมีค่าความแข็งแรงดัดขวางสูงสุด79.244เม กะปาสคาล(7วัน)และ71.078เมกะปาสคาล (30วัน)โดยในกลุ่มไม่เสริมเส้นใยมีค่าความแข็งแรงดัดขวางต่ำ ที่สุด31.147เมกะปาสคาล(7วัน)และ27.442 เมกะปาสคาล (30วัน) กลุ่มชิ้นงานเรซิน คอมโพสิตที่เสริมด้วย เส้นใยแก้วที่มีในประเทศไทยปริมาณร้อยละ10โดยปริมาตรค่าความแข็งแรงดัดขวางมีค่า37.805เมกะ ปาสคาล(7วัน)และ35.035เมกะปาสคาล (30วัน) ใกล้เคียงกับกลุ่มที่เสริมด้วยเส้นใยแก้วสำเร็จรูปจาก ต่างประเทศมีค่า43.271เมกะปาสคาล(7วัน)และ 36.366เมกะปาสคาล(30วัน)และชิ้นงานที่เสริมด้วยเส้นใย โพลีเอทิลลีนสำเร็จรูปมีค่า36.956เมกะปาสคาล(7วัน)และ34.892เมกะปาสคาล(30วัน) นำชิ้นงานดูด้วย กล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอนแบบส่องกราด พบกลุ่มที่เสริมเส้นใยแก้วมีการเชื่อมยึดติดกันระหว่างเส้นใย กับเรซิน เมทริกซ์ ส่วนกลุ่มชิ้นงานที่เสริมด้วยเส้นใยโพลีเอทิลลีนสำเร็จรูปไม่มีการเชื่อมยึดติดระหว่างเส้นใย กับเรซิน เมทริกซ์