DSpace Repository

ความแข็งแรงดัดขวางของเรซินคอมโพสิตเสริมเส้นใยแก้วและเส้นใยโพลีเอทิลลีน

Show simple item record

dc.contributor.advisor อิศราวัลย์ บุญศิริ
dc.contributor.author พิสัยศิษฏ์ ชัยจรีนนท์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2014-03-23T04:22:09Z
dc.date.available 2014-03-23T04:22:09Z
dc.date.issued 2549
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41625
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 en_US
dc.description.abstract งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาค่าความแข็งแรงดัดขวางของเรซิน คอมโพสิตเสริมเส้นใยแก้ว และ เส้นใยโพลีเอทิลลีน เปรียบเทียบกับไม่เสริมเส้นใย โดยเส้นใยแก้วที่ใช้ในการทดลองเป็นเส้นใยแก้วในประเทศ ไทย เส้นใยแก้วสำเร็จรูปจากต่างประเทศและเส้นใยโพลีเอทิลลีนสำเร็จรูปจากต่างประเทศ ทำชิ้นงานเรซิน คอมโพสิต 140 ชิ้นขนาด 2 x 2 x 25 มิลลิเมตร แบ่งเป็น 7 กลุ่มๆละ 20 ชิ้น ชิ้นงาน เรซิน คอมโพสิต ที่ไม่ เสริมเส้นใยเป็นกลุ่มควบคุม ชิ้นงาน เรซิน คอมโพสิต เสริมเส้นใยแก้วที่มีในประเทศไทย มีปริมาณเส้นใยแต่ ละกลุ่มร้อยละ10,20,30,40โดยปริมาตร กลุ่มที่เสริมเส้นใยแก้วสำเร็จรูปและกลุ่มที่เสริมเส้นใยโพลีเอทิลลีน สำเร็จรูป แบ่งกลุ่มละ 10 ชิ้น แช่ในน้ำกลั่นอุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 7 วัน และ 30 วัน ทดสอบค่าความแข็งแรงดัดขวางด้วยเครื่องทดสอบสากลรุ่น 8572 ความเร็วหัวกด 1 มิลลิเมตรต่อนาที จาก สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการทดสอบแบบที พบว่าในทุกกลุ่มของชิ้นงาน เรซิน คอมโพสิตที่ เสริมเส้นใยมีค่าความแข็งแรงดัดขวางที่สูงกว่าในกลุ่มที่ไม่เสริมเส้นใยที่ความเชื่อมั่น 0.05ยกเว้นกลุ่มที่เสริม เส้นใยโพลีเอทิลลีนสำเร็จรูปที่แช่ในน้ำกลั่น7วัน เมื่อเปรียบเทียบค่าความแข็งแรงดัดขวางกับเวลาในการแช่ น้ำกลั่นพบว่ากลุ่มที่แช่ในน้ำกลั่น 30วัน ค่าความแข็งแรงดัดขวางเฉลี่ยลดลงที่ความเชื่อมั่น 0.05 ยกเว้น กลุ่มที่ไม่เสริมเส้นใย กลุ่มที่เสริมเส้นใยโพลีเอทิลลีนสำเร็จรูปและกลุ่มเสริมเส้นใยแก้วที่มีในประเทศไทย ปริมาณร้อยละ40โดยปริมาตร เมื่อพิจารณาปริมาณเส้นใยที่เสริมในชิ้นงานพบว่าในชิ้นงาน เรซิน คอมโพสิต เสริมเส้นใยแก้วที่มีในประเทศไทยปริมาณร้อยละ30โดยปริมาตรมีค่าความแข็งแรงดัดขวางสูงสุด79.244เม กะปาสคาล(7วัน)และ71.078เมกะปาสคาล (30วัน)โดยในกลุ่มไม่เสริมเส้นใยมีค่าความแข็งแรงดัดขวางต่ำ ที่สุด31.147เมกะปาสคาล(7วัน)และ27.442 เมกะปาสคาล (30วัน) กลุ่มชิ้นงานเรซิน คอมโพสิตที่เสริมด้วย เส้นใยแก้วที่มีในประเทศไทยปริมาณร้อยละ10โดยปริมาตรค่าความแข็งแรงดัดขวางมีค่า37.805เมกะ ปาสคาล(7วัน)และ35.035เมกะปาสคาล (30วัน) ใกล้เคียงกับกลุ่มที่เสริมด้วยเส้นใยแก้วสำเร็จรูปจาก ต่างประเทศมีค่า43.271เมกะปาสคาล(7วัน)และ 36.366เมกะปาสคาล(30วัน)และชิ้นงานที่เสริมด้วยเส้นใย โพลีเอทิลลีนสำเร็จรูปมีค่า36.956เมกะปาสคาล(7วัน)และ34.892เมกะปาสคาล(30วัน) นำชิ้นงานดูด้วย กล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอนแบบส่องกราด พบกลุ่มที่เสริมเส้นใยแก้วมีการเชื่อมยึดติดกันระหว่างเส้นใย กับเรซิน เมทริกซ์ ส่วนกลุ่มชิ้นงานที่เสริมด้วยเส้นใยโพลีเอทิลลีนสำเร็จรูปไม่มีการเชื่อมยึดติดระหว่างเส้นใย กับเรซิน เมทริกซ์
dc.description.abstractalternative The purpose of this study was to evaluate the flexural strength of resin composite with glass fiber and polyethylene fiber reinforcement compared with non reinforcement. The reinforced fiber are domestic glass fiber , imported glass fiber , imported polyethylene fiber. One hundred forty specimens, 2X2X25 mm. were fabricated into 7 groups of specimen (n=20). They were non-reinforcement which is control group, reinforcement with domestic glass fiber of 10,20,30,40 % by volume, imported glass fiber and polyethylene fiber. Each group were divided in half (n=10) and immersed in 37 °C distrill water for 7 and 30 days. After immersed, flexural strength of the group was tested by INSTRON 8572 with crosshead speed of 1mm/min. The results were analyzed statistically by 1-ways ANOVA and student’s t test. They revealed that all reinforced groups enhanced higher flexural strength than nonreinforced groups (p<0.05) except reinforcement with polyethylene fiber group immersed in distrill water for 7 days. Water immersion period of 30 days groups decreased flexural strength (p<0.05) except nonreinforced groups , reinforcement with polyethylene fiber and reinforcement with domestic glass fiber of 40% . Among the groups which reinforcement with domestic glass fiber 30% by volume showed the highest flexural strength of 79.244 Mpa (7 days) and 71.078 Mpa (30 days), while non reinforcement groups showed the lowest flexural strength of 31.147 Mpa (7 days) and 27.442 Mpa (30 days). It was found that 10% by volume which reinforcement with domestic glass fiber showed flexural strength (7 day is 37.805 Mpa , 30 day is 35.035 Mpa) compared to imported glass fiber (7 day is 43.271 Mpa , 30 day is 36.366 Mpa) and polyethylene fiber group (7 day is 36.956 Mpa , 30 day is 34.892 Mpa) . Scanning electron microscope revealed bonding between glass fiber and resin matrix of all groups except polyethylene group.
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.223
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.title ความแข็งแรงดัดขวางของเรซินคอมโพสิตเสริมเส้นใยแก้วและเส้นใยโพลีเอทิลลีน en_US
dc.title.alternative The flexural strength of composite resin reinforced by glass fiber and polyethylene fiber en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline ทันตกรรมประดิษฐ์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2006.223


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record