dc.contributor.advisor | พุทธกาล รัชธร | |
dc.contributor.author | ดารุณี กฤตบุญญาลัย | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2014-03-23T06:41:38Z | |
dc.date.available | 2014-03-23T06:41:38Z | |
dc.date.issued | 2550 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41769 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของการผลิตการตลาด การแปรรูป นโยบายและมาตรการต่าง ๆ ของรัฐบาลต่อสินค้าและผลิตภัณฑ์นมของไทยรวมทั้งวิเคราะห์ผลกระทบจากนโยบายด้านโคนมของรัฐบาลที่มีต่อผู้บริโภคและเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในประเทศไทย ข้อมูลที่ใช้ศึกษา ซึ่งได้จากการรายงานการวิจัย เอกสารที่เกี่ยวข้อง บทความ ข้อมูลสถิติ รวมทั้งทำการสัมภาษณ์เชิงลึกบุคคลที่เกี่ยวข้อง นำเสนอข้อมูลโดยวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาของอุตสาหกรรมนมของไทย ได้แก่ ปัญหาการขาดประสิทธิภาพในการผลิต เนื่องจากขาดแคลนพันธุ์โคนมที่เหมาะสม ขาดแคลนเงินลงทุน ปัญหาการแข่งขันกับผลิตภัณฑ์นมจากต่างประเทศ ประเทศไทยยังผลิตน้ำนมดิบไม่เพียงพอต่อการบริโภค เกษตรกร ผู้ผลิตนมดิบส่วนใหญ่เป็นผู้ผลิตขนาดย่อย ยังต้องพึ่งพาความช่วยเหลือจากรัฐบาล การเปิดเสรีทำให้ไทยต้องเปิดโควตานำเข้านมผงขาดมันเนยให้กับคู่ค้าโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศออสเตรเลียเป็นการเฉพาะ หรือผู้แปรรูปนมรายใหญ่จะหันไปซื้อนมผงซึ่งมีต้นทุนต่ำกว่าการซื้อน้ำนมดิบในประเทศ ผลกระทบจากการดำเนินการลดภาษีภายใต้กรอบข้อตกลงขององค์การการค้าโลก ผู้นำเข้ามี แนวโน้มนำเข้านมผงมากขึ้น เพื่อลดต้นทุน ทำให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์จากความหลากหลาย ของผลิตภัณฑ์ ที่มีมากขึ้นแต่คุณค่าทางโภชนาการที่ได้รับมีความแตกต่างกันในผลิตภัณฑ์ จึงควร กระตุ้นให้ผู้บริโภคได้รับความรู้คุณค่าของน้ำนมสด และสร้างมูลค่าเพิ่มแก่นมสดให้มากขึ้น สำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม รัฐควรสร้างความสมดุลระหว่างปริมาณการผลิตและความต้องการใช้ น้ำนมเพื่อวางแผนการผลิตและการตลาดร่วมกันระหว่างผู้ผลิตและอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์นม รวมทั้งควบคุมปริมาณการนำเข้าให้เป็นไปตามกรอบข้อตกลงขององค์การการค้าโลกที่กำหนดไว้ เพื่อลดผลกระทบต่อเกษตรกรไทย พร้อมทั้งให้มีการพัฒนาอุตสาหกรรมธุรกิจโคนมและผลิตภัณฑ์ นมอย่างเป็นระบบและชัดเจน เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงการค้าที่เกิดขึ้นในอนาคต ข้อมูลจากการสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการผลิตพบว่า รัฐบาลยังขาดความรอบคอบใน การพิจารณาถึงผลกระทบทางลบที่จะเกิดขึ้นแก่ผู้ผลิตน้ำนมดิบของไทยโดยเฉพาะในเกษตรกรราย ย่อย และผู้แปรรูปผลิตภัณฑ์นมดิบ ในขณะที่ฝ่ายรัฐบาลมีความเห็นว่าการเปิดเสรีผลิตภัณฑ์นมจะ เป็นการสร้างโอกาสทางการตลาด ภาระต้นทุนจะถูกลง รวมทั้งกระตุ้นให้อุตสาหกรรมนมไทย พัฒนาประสิทธิภาพในการผลิตรวมทั้งพัฒนาคุณภาพให้สามารถแข่งขันในตลาดการค้าเสรีได้ ข้อเสนอแนะในการพัฒนาอุตสาหกรรมนมของไทย คือ ต้องเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต โดยการปรับโครงสร้างในการผลิต ลดต้นทุน ใช้โคพันธุ์ที่เหมาะสม พัฒนาระบบสหกรณ์ พัฒนาการตลาด ส่งเสริมการบริโภคนมของประชาชน และจำแนกผลิตภัณฑ์ที่ทำจากน้ำนมดิบนมผง แปรรูปให้ชัดเจน | |
dc.description.abstractalternative | This research is a qualitative research of which the objective is to study general conditions of the production, marketing, processing, policy and various measures of the government over the Thai dairy products and analyze the effects of the government’s dairy cow policy on consumers and dairy farmers in Thailand. The information used for the study is gained from research reports, related documents, articles, statistical data including in-depth interview of the person concerned presented in a descriptive analysis. The research has found that the Thai dairy industry problems lie in a lack of the production efficiency because of lacks of suitable dairy cow breeds, fund and competition with overseas dairy products. Thailand still can not produce enough fluid milk for consumers. Most fluid milk-producing farmers are small-sized manufacturers, still depending on the government assistance. The free trade enforces Thailand to open the quotas of the non-dairy powder milk imports for its counterparts: Australia in particular or the major milk industry chooses to buy milk powder, which has less cost than domestic fluid milk purchase. The effects of the tax reduction undergone under the agreement context of the World Trade Organization are that the importers tend to import more milk powder to reduce cost benefiting consumers from more and various products but different in nutritious values. Therefore they should stimulate the consumers to be aware of fresh milk values and bring about more vats on fresh milk. As for the dairy farmers, the government should create the balance between production quantity and milk-using demand in order to plan the production and marketing together between dairy producers and industry and control the import quantity in accordance with the WTO agreement contexts designated to lower effects on Thai farmers while developing the dairy cow business industry and products systematically and explicitly so as to measure up to prospective trade changes. The data from the interviews the persons concerning the production have found that the government still lack carefulness in considering the negative effects on the fluid milk producers especially small-sized farmers and fluid milk transformers whereas the government sees that dairy free opening will create marketing opportunities, decrease cost and stimulate the Thai dairy industry to develop its production efficiency and quality to enable them to compete in free trade markets. The suggestion of Thai dairy industry development is that they have to increase production effectiveness by adjusting production structure, utilizing appropriate cow breeds, developing the coordinative system, developing marketing, enhancing milk consumption of the people and clearly differentiating products made from fluid milk and processed milk powder. | |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.title | ผลกระทบต่อการค้าเสรีที่มีต่ออุตสาหกรรมนมในประเทศไทย | en_US |
dc.title.alternative | The Effects of Free Trade on the Milk Industry in Thailand | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | เศรษฐศาสตร์การเมือง | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |