Abstract:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาแนวทางในการปฏิรูปคณะมนตรีความมั่นคงเสนอโดย คณะทํางานระดับสูงว่าด้วยภัยคุกคาม สิ่งท้าทาย และการเปลี่ยนแปลง ซึ่งได้รับการจัดตั้งโดยนายโคฟี อันนั้น ใน วันที่ 23 กันยายน ค.ศ. 2003 จากการศึกษาพบว่าแนวทางการปฏิรูปคณะมนตรีความมั่นคงของคณะทํางานประกอบไปด้วยประเด็น หลัก 3 ประเด็น คือ การเพิ่มจํานวนสมาชิกในคณะมนตรีความมั่นคง การปรับปรุงระบบการลงคะแนนเสียงและ การใช้สิทธิยับยั้ง และการปรับปรุงกระบวนการทํางานของคณะมนตรีความมั่นคง นอกจากนี้ยังพบว่าแม้แต่ สหรัฐอเมริกาก็ยังไม่สามารถแทรกแซงการดําเนินงานของคณะทํางานได้ ส่งผลให้ข้อเสนอในการปฏิรูปคณะ มนตรีความมั่นคงส่งผลกระทบต่อผลประโยชน์ของสหรัฐอเมริกา กล่าวคือสหรัฐอเมริกาจะยังได้ประโยชน์จาก ข้อเสนอให้องสิทธิยับยั้งไว้ให้สมาชิกถาวรเดิม ไม่ขยายการให้สิทธิยับยั้งให้กับสมาชิกถาวรใหม่ แต่ สหรัฐอเมริกาจะเสียประโยชน์จากข้อเสนอให้เพิ่มจํานวนสมาชิกในคณะมนตรีความมั่นคง การปรับปรุงระบบ การลงคะแนนเสียงโดยใช้ระบบ Indicative Voting และการปรับปรุงระบบการทํางานของคณะมนตรีความมั่นคง ให้มีประสิทธิภาพ ดังนั้น สหรัฐอเมริกาจึงพยายามไม่ให้ประเทศสมาชิกสหประชาชาติลงมติยอมรับแนวทางการปฏิรูป คณะมนตรีความมั่นคงในการประชุม World Summit 2005 แต่เมื่อความพยายามดังกล่าวไม่ประสบความสําเร็จ สหรัฐอเมริกาจึงดําเนินนโยบายไม่สนับสนุนต่อการปฏิรูปคณะมนตรีความมั่นคง แล้วหันมาเน้นให้ความสําคัญ กับการปฏิรูปองค์การสหประชาชาติในประเด็นอื่นๆ เช่น การปฏิรูประบบบริหารจัดการองค์การสหประชาชาติ โดยรวม