DSpace Repository

การปฏิรูปคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ : ศึกษารายงานของคณะทำงานระดับสูงว่าด้วยภัยคุกคามสิ่งท้าทาย และการเปลี่ยนแปลง

Show simple item record

dc.contributor.advisor ไชยวัฒน์ ค้ำชู
dc.contributor.advisor ประทุมพร วัชรเสถียร
dc.contributor.author ปิยะฉัตร เนียมแสง
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
dc.date.accessioned 2014-03-23T06:46:04Z
dc.date.available 2014-03-23T06:46:04Z
dc.date.issued 2550
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41783
dc.description วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 en_US
dc.description.abstract วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาแนวทางในการปฏิรูปคณะมนตรีความมั่นคงเสนอโดย คณะทํางานระดับสูงว่าด้วยภัยคุกคาม สิ่งท้าทาย และการเปลี่ยนแปลง ซึ่งได้รับการจัดตั้งโดยนายโคฟี อันนั้น ใน วันที่ 23 กันยายน ค.ศ. 2003 จากการศึกษาพบว่าแนวทางการปฏิรูปคณะมนตรีความมั่นคงของคณะทํางานประกอบไปด้วยประเด็น หลัก 3 ประเด็น คือ การเพิ่มจํานวนสมาชิกในคณะมนตรีความมั่นคง การปรับปรุงระบบการลงคะแนนเสียงและ การใช้สิทธิยับยั้ง และการปรับปรุงกระบวนการทํางานของคณะมนตรีความมั่นคง นอกจากนี้ยังพบว่าแม้แต่ สหรัฐอเมริกาก็ยังไม่สามารถแทรกแซงการดําเนินงานของคณะทํางานได้ ส่งผลให้ข้อเสนอในการปฏิรูปคณะ มนตรีความมั่นคงส่งผลกระทบต่อผลประโยชน์ของสหรัฐอเมริกา กล่าวคือสหรัฐอเมริกาจะยังได้ประโยชน์จาก ข้อเสนอให้องสิทธิยับยั้งไว้ให้สมาชิกถาวรเดิม ไม่ขยายการให้สิทธิยับยั้งให้กับสมาชิกถาวรใหม่ แต่ สหรัฐอเมริกาจะเสียประโยชน์จากข้อเสนอให้เพิ่มจํานวนสมาชิกในคณะมนตรีความมั่นคง การปรับปรุงระบบ การลงคะแนนเสียงโดยใช้ระบบ Indicative Voting และการปรับปรุงระบบการทํางานของคณะมนตรีความมั่นคง ให้มีประสิทธิภาพ ดังนั้น สหรัฐอเมริกาจึงพยายามไม่ให้ประเทศสมาชิกสหประชาชาติลงมติยอมรับแนวทางการปฏิรูป คณะมนตรีความมั่นคงในการประชุม World Summit 2005 แต่เมื่อความพยายามดังกล่าวไม่ประสบความสําเร็จ สหรัฐอเมริกาจึงดําเนินนโยบายไม่สนับสนุนต่อการปฏิรูปคณะมนตรีความมั่นคง แล้วหันมาเน้นให้ความสําคัญ กับการปฏิรูปองค์การสหประชาชาติในประเด็นอื่นๆ เช่น การปฏิรูประบบบริหารจัดการองค์การสหประชาชาติ โดยรวม
dc.description.abstractalternative The objective of this thesis is to study the reform of the United Nations Security Council suggested in the report of the High-level Panel on Threats, Challenges and Change launched by Kofi Annan on 23 September 2003. The study shows that the High-level Panel on Threats, Challenges and Change's suggestion consists of three main ideas which are (a) the expansion of the Security Council, (b) voting procedure and the use of veto, (c) and working methods. It also shows the US cannot intervene in the High-level Panel's working process. As a result, the High-level's suggestion affects the US interest. The US will gain the interest from maintaining the veto power for the permanent members of the security council and restricting the veto power from the new. However, the US will lose it interest in the expansion of the Security Council, indicative voting, and reforming working methods. Therefore, the US tries very hard to call for the General Assembly not to accept any reform proposals at the 2005 World Summit. When this effort was not successful, the United States of America declared that it will not support the reform of the Security Council.
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.title การปฏิรูปคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ : ศึกษารายงานของคณะทำงานระดับสูงว่าด้วยภัยคุกคามสิ่งท้าทาย และการเปลี่ยนแปลง en_US
dc.title.alternative The reform of the United Nation Security Council : A study of the report of the high-Level on threats, challenges and change en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name รัฐศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record