DSpace Repository

ลักษณะรูปร่างจุลทรรศน์อิเล็กตรอน และไซโตเคมีของเซลล์เม็ดเลือด ค่าโลหิตวิทยา และเคมีโลหิตของเต่าบัว (Hieremys annandalii) โตเต็มวัย

Show simple item record

dc.contributor.advisor นันทริกา ชันซื่อ
dc.contributor.advisor จิรศักดิ์ ตั้งตรงไพโรจน์
dc.contributor.advisor อัจฉริยา ไศละสูต
dc.contributor.author นงนุช อัศววงศ์เกษม
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2014-03-23T06:48:24Z
dc.date.available 2014-03-23T06:48:24Z
dc.date.issued 2550
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41789
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 en_US
dc.description.abstract เก็บตัวอย่างเลือดจากเส้นเลือดคอในเต่าบัวโตเต็มวัย (Hieremys annandalii) ในธรรมชาติ เพศผู้และเมีย กลุ่มละ 20 ตัว จากการศึกษานี้พบว่าค่าเฉลี่ยของจำนวนเม็ดเลือดแดงทั้งหมดเท่ากับ 2.75+0.94x 106เซลล์/มคล. จำนวนเม็ดเลือดขาวทั้งหมดเท่ากับ 11.66+6.59 x 103เซลล์/มคล. เม็ดเลือดขาวแบ่งเป็น 5 ชนิด จำนวนเรียงจากมากไปน้อย คือ เฮเทอโรฟิล (29.40+6.88%) อีโอสิโนฟิล (23.69+5.30%) เบโซฟิล (21.23+1.90%) ลิมโฟไซต์ (14.81+5.88%) และโมโนไซติก-ไลต์ อะซูโรฟิล (10.73+5.29%) เม็ดเลือดแดงติดสีเข้มของ peroxidase ทรอมโบไซต์มีหลายรูปร่าง การติดสี periodic acid-Schiff ไม่สามารถใช้แยกทรอมโบไซต์ออกจากลิมโฟไซต์ และมีโครงสร้างทางจุลทรรศน์อิเล็กตรอนคล้ายกับเกล็ดเลือดของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เฮเทอโรฟิล และอีโอสิโนฟิลมีลักษณะโครงสร้างและการติดสีไซโตเคมีคล้ายกับเต่าและสัตว์เลื้อยคลานทั่วไป เบโซฟิลมีการพัฒนาการของโครงสร้างที่คล้ายคลึงกับสัตว์ปีก ส่วนลิมโฟไซต์ และโมโนไซติก-ไลต์ อะซูโรฟิลมีโครงสร้างและการติดสีไซโตเคมีคล้ายกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ค่า MCHC จำนวนเม็ดเลือดขาวทั้งหมด จำนวนเม็ดเลือดขาวชนิดโมโนไซติก-ไลต์ อะซูโรฟิล และเอนไซม์ ALT ในเต่าเพศผู้มีค่าสูงกว่าในเพศเมียอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ค่า MCV ของเต่าเพศผู้มีความสัมพันธ์ในเชิงผกผันกับน้ำหนักตัว เต่าบัวที่พบการติดเชื้อ Hemogregarine มีค่าเอนไซม์ AST สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) แต่ค่าพยาธิวิทยาคลินิกอื่นๆ ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับเต่าที่ไม่พบการติดเชื้อ ในเต่าบัวที่กระดองแตก ตัวบวม และไม่กินอาหาร พบจำนวนเม็ดเลือดขาวและทรอมโบไซต์ ค่ากรดยูริค โปรตีนโกลบูลิน และแคลเซียมในเลือดสูงกว่าเต่าปกติ รวมทั้งพบจำนวนเม็ดเลือดแดง และโปรตีนอัลบูมินต่ำกว่าเต่าปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ซึ่งค่าพยาธิวิทยาคลินิกดังกล่าวสรุปได้ว่าเต่าป่วยมีภาวะโลหิตจาง มีการอักเสบติดเชื้อแบบเรื้อรัง ร่วมกับภาวะทุโภชนาการ จากการขาดอาหาร และได้รับอาหารที่มีโปรตีน และแคลเซียมที่ไม่เหมาะสม ข้อมูลจากการศึกษานี้เป็นประโยชน์ในการนำไปดูแลจัดการ และฟื้นฟูสุขภาพ เพื่ออนุรักษ์ประชาการเต่าเหล่านี้ในประเทศไทยต่อไปในอนาคต
dc.description.abstractalternative Blood samples were collected from the jugular vein of 20 male and 20 female adult yellow-headed temple turtles. The average total red blood cell count was 4x106 cells/ µL. And the average total white blood cell count was11.66+6.59 x 103 cells/µL. The results of this study indicated that their white blood cells can be classified into 5 catagories, namely, heterophil (29.40+6.88%), eosinophil (23.69+5.30%), basophil (21.23+1.90%), lymphocytes (14.81+5.88%), and monocytic-like azurophils (10.73+5.29%), respectively. Red blood cells stained dark red by peroxidase. Thrombocytes consisted of various morphologies and staining, therefore, periodic acid-schiff stain could not be used to differentiate thrombocytes from lymphocytes. The electronmicroscopic structure was also similar to the mammals’ thrombocytes. Heterophils and eosinophils had similar in structure and cytochemical staining to other turtles and reptiles. Basophils structure was similar to avian. Lymphocytes and monocytic-like azurophils had similar staining and morphology to mammals. In male turtles, MCHC values, total monocytic-like azurophils, and ALT levels were significantly higher than that of female turtles (P<0.05). MCV value of male turtles had a negative relationship with body weight. The yellow-headed temple turtles with Hemogregarine infection had a significantly higher AST value (p<0.05) than normal turtles. But there was no difference in other blood values. In sick yellow-headed temple turtles with shell trauma, and edema showed marked erythropenia, leukocytosis, thrombocytosis, hypoalbuminemia, hyperuricaemia, hyperglobulinemia and hypercalcemia. These findings indicated anemia, chronic infections and malnutrition. The information from this study may contribute to the success in management, disease treatment, and health recovery for the conservation purposes of yellow-headed temple turtle populations in Thailand in the future.
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.463
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ชีวเคมีคลินิกทางสัตวแพทยศาสตร์
dc.subject โลหิตวิทยา
dc.subject จุลทรรศน์อิเล็กตรอน
dc.subject เต่าน้ำจืด -- ไทย
dc.subject เต่าบัว
dc.subject Turtles
dc.subject Veterinary clinical biochemistry
dc.subject Hematology
dc.subject Electron microscopy
dc.title ลักษณะรูปร่างจุลทรรศน์อิเล็กตรอน และไซโตเคมีของเซลล์เม็ดเลือด ค่าโลหิตวิทยา และเคมีโลหิตของเต่าบัว (Hieremys annandalii) โตเต็มวัย en_US
dc.title.alternative Morphological, Ultrastructural and Cytochemical Characteristics of Blood Cells, Hematology and Blood Chemistry of Adult Yello-headed Temple Turtles (Hieremys annandalii) en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline อายุรศาสตร์สัตวแพทย์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2007.463


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record