DSpace Repository

การศึกษาผลกระทบของตลาดทุนสหรัฐอเมริกาต่อการเคลื่อนไหวของสกุลเงินดอลลาร์

Show simple item record

dc.contributor.advisor พรชนก คัมภีรยส คูเวนเบิร์ด
dc.contributor.author วิหรรษา ศรีเมือง
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
dc.date.accessioned 2014-03-25T12:02:05Z
dc.date.available 2014-03-25T12:02:05Z
dc.date.issued 2550
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41878
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 en_US
dc.description.abstract วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่นักลงทุนใช้ตัดสินใจเลือกลงทุนระหว่างตลาดทุนสหรัฐฯ กับตลาดทุนต่างประเทศ อาทิเช่น แคนาดา อังกฤษ และญี่ปุ่น และศึกษารูปแบบการคาดการณ์ของนักลงทุนว่ามีลักษณะเป็น Forward-looking หรือ Backward-looking expectation รวมทั้งคาดการณ์แนวโน้มของค่าเงินดอลลาร์ว่าจะปรับตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปหรือปรับตัวอย่างทันทีทันใด โดยใช้แบบจำลอง Augmented UIP ตาม Flood และ Marion(2000) และ Sarantis(2006) จากผลการศึกษา พบว่า นักลงทุนในตลาดทุนมีการคาดการณ์ค่าเงินดอลลาร์เป็นแบบ Forward-looking expectation และพิจารณาปัจจัยเสี่ยงในมุมที่แตกต่างไปจากการศึกษาของ Flood และ Marion(2000) และ Sarantis(2006) สำหรับปัจจัยที่นักลงทุนใช้ตัดสินใจลงทุน ซึ่งน่าจะมีผลต่อการเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยนในระยะยาว ได้แก่ ส่วนต่างระหว่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล 10 ปีของสหรัฐฯและต่างประเทศ ความผันผวนคาดการณ์ของอัตราแลกเปลี่ยน ปฏิกิริยาระหว่างความผันผวนคาดการณ์ค่าเงินสกุลต่าง ๆ กับสัดส่วนมูลค่าพันธบัตรรัฐบาลของสหรัฐฯและต่างประเทศ ส่วนต่างระหว่างดัชนีราคาบ้านของสหรัฐฯและต่างประเทศ ปริมาณการส่งออกของประเทศทางแถบเอเชียไปยังตลาดสหรัฐฯ และราคาน้ำมันดิบโดยเฉลี่ยในตลาดโลก จากการศึกษาสรุปได้ว่าดอลลาร์สหรัฐฯน่าจะมีการปรับตัวอย่างทันทีทันใด เนื่องจากการเคลื่อนไหวของค่าเงินดอลลาร์ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของนักลงทุนในตลาดทุนอย่างมีนัยสำคัญ อีกทั้งนักลงทุนยังพิจารณาปัจจัยเสี่ยงแตกต่างไปจากที่ควรจะเป็นตามทฤษฎี
dc.description.abstractalternative The thesis examines factors that may influence investment decisions between the U.S. and foreign capital markets, namely the Canadian, British, Japanese markets. We study whether investors in these market have forward-looking or backward-looking expectations and by which degree. By using Flood & Marion (2000) and Sarantis (2006) Augmented UIP, we can ultimately address an interesting question whether the U.S. dollar will have a soft or hard landing. According to empirical results, investors have forward-looking expectation, and their interpretation of risk factors is different from Flood and Marion(2000) and Sarantis(2006). The factors that affect investment flows and thus, the exchange rate movement in the long run are long-term interest rate differentials, the predicted future volatility of exchange rate, the ratio of the U.S. government bonds to the foreign government bonds, housing price index differentials, Asian exports to the U.S. and oil prices. The study indicates that the U.S. dollar is likely to have a hard landing. This is due to the fact that the U.S. dollar significantly depends on the investment decision in the capital markets. Besides, investors consider risk factors differently from theories.
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.377
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ตลาดทุน -- สหรัฐอเมริกา
dc.subject ดอลลาร์สหรัฐฯ
dc.subject การเคลื่อนย้ายเงินทุน
dc.title การศึกษาผลกระทบของตลาดทุนสหรัฐอเมริกาต่อการเคลื่อนไหวของสกุลเงินดอลลาร์ en_US
dc.title.alternative A Study of U.S.Capital Market'Effect on the Dollar Movement en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline เศรษฐศาสตร์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2007.377


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record