DSpace Repository

นโยบายเขตการค้าเสรีไทย-จีนพิกัด 07-08 เรื่องผัก และผลไม้ : ศึกษาผู้ได้ประโยชน์ และผู้เสียประโยชน์

Show simple item record

dc.contributor.advisor พิษณุ เสงี่ยมพงษ์
dc.contributor.author แสน กีรตินวนันท์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
dc.date.accessioned 2014-03-25T12:47:20Z
dc.date.available 2014-03-25T12:47:20Z
dc.date.issued 2550
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41944
dc.description วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 en_US
dc.description.abstract วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีจุดประสงค์หลักเพื่อศีกษาผู้ที่ได้รับประโยชน์ และผู้เสียประโยชน์จากนโยบายเขตการค้าเสรีไทย-จีน เฉพาะพิกัด 07-08 เรื่องผัก และผลไม้ โดยการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ใช้แนวความคิดและทฤษฏีชนชั้นนำ กลุ่มผลประโยชน์ การตัดสินใจอย่างมีเหตุผล และเสรีนิยมใหม่เป็นกรอบในการวิเคราะห์งานวิจัยครั้งนี้ บนสมมติฐานที่ว่านโยบายเขตการค้าเสรีไทย-จีนส่งผลกระทบต่อเกษตรกรส่วนใหญ่ในเชิงลบ โดยเฉพาะเกษตรกรผู้ปลูกพืชเมืองหนาว ส่วนผู้ที่ได้ประโยชน์คือเกษตรกรผู้ปลูกพืชเมืองร้อน และกลุ่มธุรกิจเอกชนขนาดใหญ่ เนื่องจากว่ากลุ่มธุรกิจเอกชนขนาดใหญ่มีศักยภาพ ความพร้อมและอำนาจต่อรองกับภาครัฐ จนได้รับผลประโยชน์ตอบแทนอย่างสมประโยชน์ซึ่งกันและกัน สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บข้อมูลครั้งนี้คือเกษตรกรผู้ปลูกพืชผลไม้ 4 ชนิด ได้แก่เกษตรกรผู้ปลูกลำไย ทุเรียน มังคุด และลิ้นจี่ และกลุ่มธุรกิจเอกชนอย่างเครือเจริญโภคภัณฑ์ ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย การศึกษาข้อมูลเอกสาร และการสัมภาษณ์เกษตรกรผู้ปลูกพืช ข้างต้น ผลการวิจัยพบว่า ภายใต้นโยบายเขตการค้าเสรีไทย-จีนนี้ได้ก่อให้เกิดผู้ที่เสียประโยชน์คือเกษตรกรผู้ปลูกพืชเมืองหนาวโดยเฉพาะเกษตรผู้ปลูกหอม กระเทียม แครอท เป็นต้น ซึ่งผลวิจัยพบว่าเกษตรเหล่านั้นต้องลดพื้นที่เพาะปลูกลง รวมถึงเลิกประกอบอาชีพในที่สุด ส่วนฝ่ายที่ได้รับประโยชน์คือ เกษตรกรผู้ปลูกพืชเมืองร้อน เช่นลำไย มังคุด ทุเรียน กล้วยขึ้น และกลุ่มธุรกิจเอกชนอย่างเครือเจริญโภคภัณฑ์ โดยสาเหตุที่ทำให้เครือเจริญโภคภัณฑ์ได้รับผลประโยชน์นั้น เนื่องมาจากการที่เครือเจริญโภคภัณฑ์เดิมเป็นกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมการเกษตรที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยอยู่แล้ว ดังนั้นศักยภาพ ความมั่งคงทางการเงิน ความพร้อมทางด้านต่างๆเช่นความพร้อมเกี่ยวกับข้อมูลการทำเขตการค้าเสรี การปรับตัว จึงมีมากกว่ากลุ่มอื่นๆเช่นกลุ่มเกษตรกร หรือกลุ่มผู้ประกอบการอยู่แล้ว เมื่อรวมกับความสัมพันธ์อันดีระหว่างเครือเจริญโภคภัณฑ์และประเทศจีนที่มีมาช้านานแล้ว ยิ่งทำให้เครือเจริญโภคภัณฑ์ได้ประโยชน์มากที่สุดจากเขตการค้าเสรีไทยจีนนี้ นอกจากนี้ ในขณะที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรเป็นนายกรัฐมนตรีนั้น ถือว่ากลุ่มเครือเจริญโภคภัณฑ์เป็นกลุ่มหนึ่งที่สัมพันธ์แน่นแฟ้นกับคณะรัฐบาลชุดนั้น โดยผู้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเครือเจริญโภคภัณฑ์หลายคนสามารถเข้าดำรงตำแหน่งทางการเมืองในตำแหน่งสำคัญๆได้ ซึ่งสายสัมพันธ์ตรงนี้อาจเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เครือเจริญโภคภัณฑ์ได้รับการเอื้อประโยชน์เพิ่มขึ้น จนกระทั่งได้รับประโยชน์
dc.description.abstractalternative This research studies gainers and losers from Free Trade Agreement Policy (FTA) between Thailand and People’s republic of China (HS Chapter 07-08). Elitism, Interest Group Theory, Rational Choice Theory, and Neo-liberalism are used as the research framework. The hypothesis is that FTA Policy has negative effects on many Thai farmers, particularly those growing cold-climate crops, while those who grow warm-climate crops receive some benefit from the FTA. The FTA also benefits business conglomerates, due to their close relationship with the Thai Government. The research interviews farmers growing longans, durians, mangosteens, and lychees, as well as companies such as CP Group. Secondary data sources, especially agricultural statistics, are also used for analysis. The research findings reveal that the FTA between Thailand and China has negative impact on the Thai farmers growing cold-climate crops, especially shallots, fresh garlic, and carrots, in that many of them have had to reduce their production area and quantity while many others have quit their crop-growing career. On the other hand, farmers who grow warm-climate crops such as longans, mangosteens, durians, and bananas have gained somewhat. But in particular, business conglomerates such as CP Group have much to gain from the FTA, due to their large production size, financial stability, know-how, and ability to adapt well to the FTA situation. The long relationship between CP Group and China also benefits CP Group. In addition, during Thaksin Administration, CP Group had a close relation with the Government. A number of people having close contact with CP Group were awarded ministerial posts, possibly adding more benefit to the Group within the FTA situation.
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.365
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ข้อตกลงทางการค้าระหว่างประเทศ
dc.subject การค้าระหว่างประเทศ
dc.subject ไทย -- การค้ากับต่างประเทศ -- จีน
dc.title นโยบายเขตการค้าเสรีไทย-จีนพิกัด 07-08 เรื่องผัก และผลไม้ : ศึกษาผู้ได้ประโยชน์ และผู้เสียประโยชน์ en_US
dc.title.alternative Free trade agreement (FTA) policy between Thailand and people's republic of China (HS Chapter 07-08 [Vegetables and Frutts] : a study of gainers and losers en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name รัฐศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline การปกครอง en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2007.365


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record