DSpace Repository

ปัจจัยที่มีผลต่อการออมในตลาดการเงิน

Show simple item record

dc.contributor.advisor ชัยรัตน์ เอี่ยมกุลวัฒน์
dc.contributor.author ทิพย์วารี สุปรยศิลป์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
dc.date.accessioned 2014-03-25T13:12:01Z
dc.date.available 2014-03-25T13:12:01Z
dc.date.issued 2550
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41960
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 en_US
dc.description.abstract ตลาดการเงินเป็นตัวกลางทางการเงินที่สำคัญในการระดมเงินทุนจากผู้มีเงินออมไปให้แก่ผู้ที่ต้องการเงินทุน อันจะช่วยให้เกิดการพัฒนาระบบการเงินของประเทศได้อย่างต่อเนื่อง วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงทำการศึกษาถึงภาพรวมการออมในตลาดการเงิน รวมถึงปัจจัยที่มีผลต่อการออมในตลาดการเงิน ทั้งตลาดเงินและตลาดทุน และความสัมพันธ์ของการออมในแต่ละตลาด ในลักษณะของการโยกย้ายเงินออมระหว่างตลาด ซึ่งพิจารณาจากปริมาณเงินฝากในธนาคารพาณิชย์ มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดและมูลค่าพันธบัตรรัฐบาล โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิรายไตรมาส ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2533 – 2549 มาทำการวิเคราะห์และประมาณค่าด้วยวิธีการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงพหุ และแบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ช่วง โดยช่วงแรก คือ ช่วงก่อนและหลังเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ (พ.ศ. 2533 – 2549) ช่วงที่สอง คือ ช่วงก่อนเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ (พ.ศ. 2533 – 2539 ) และช่วงสุดท้าย คือ ช่วงหลังเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ (พ.ศ. 2540 – 2549) ผลการศึกษาจากการประมาณค่าแบบจำลองทั้ง 3 ตลาด พบว่า ปัจจัยทางเศรษฐกิจบางปัจจัยมีผลต่อการออมแต่ละตลาดในตลาดการเงินแตกต่างกันในช่วงก่อนและหลังการเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ รวมถึงการโยกย้ายเงินออมระหว่างแต่ละตลาดก็มีความแตกต่างกันในแต่ละช่วงการศึกษา กล่าวคือ ในช่วงแรก (พ.ศ. 2533 -2549) พบว่า มีการโยกย้ายเงินออมระหว่างการฝากเงินในธนาคารพาณิชย์กับการออมในรูปของพันธบัตรรัฐบาล และระหว่างการออมในรูปหลักทรัพย์กับการออมในรูปพันธบัตรรัฐบาล สำหรับช่วงที่สอง (พ.ศ. 2533 – 2539) พบว่า มีการโยกย้ายเงินออมระหว่างทั้งสามตลาด ขณะที่ผลการศึกษาในช่วงที่สาม (พ.ศ. 2540 – 2549) พบว่า มีการโยกย้ายเงินระหว่างการฝากเงินในธนาคารพาณิชย์กับการออมในรูปของพันธบัตรรัฐบาล และระหว่างการออมในรูปหลักทรัพย์กับการออมในรูปพันธบัตรรัฐบาล
dc.description.abstractalternative Financial market performs the essential economic function of channeling funds from savers to investors. This thesis aims to study the overall savings in the financial market, factors affecting savings in the money market and capital market and the relationship of savings among markets. Deposits, market capitalization and bonds are considered in this study by using quarterly data over 1990 – 2006. Multiple regression analysis was used as a research tool. This study is separated into 3 periods: 1990 – 2006, 1990 – 1996 and 1997 – 2006. The results show that some economic factors affect savings in each market differently both before and after economic crisis of 1997. In addition, the switching of savings in each market is different in each period. In the first period (1990 – 2006), there is the switching between deposits and bond market and between stock market and bond market. In the second period (1990 – 1996), there is the switching between markets. However, in the third period (1997 – 2006), there is the switching between deposits and bond markets and between stock and bond markets.
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1155
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ตลาดเงิน
dc.subject ตลาดทุน
dc.subject การประหยัดและการออม
dc.title ปัจจัยที่มีผลต่อการออมในตลาดการเงิน en_US
dc.title.alternative Factors affecting savings in financial market en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline เศรษฐศาสตร์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2007.1155


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record