DSpace Repository

อัตราการกัดกร่อนของโลหะผสมไทเทเนียม-6อะลูมินัม-4วานาเดียมที่ผ่านการแอโนไดส์ในสารละลายกรดฟอสฟอริกด้วยความต่างศักย์ที่แตกต่างกัน

Show simple item record

dc.contributor.advisor วิริทธิ์พล ศรีมณีพงศ์
dc.contributor.author วริษฐา อสัมภินวงศ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2015-06-23T04:18:30Z
dc.date.available 2015-06-23T04:18:30Z
dc.date.issued 2555
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42423
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 en_US
dc.description.abstract การศึกษานี้ทำขึ้นเพื่อประเมินความต้านทานการกัดกร่อนของโลหะผสมไทเทเนียม-6 อะลูมินัม-4วานาเดียม หลังจากการแอโนไดส์ในสารละลายกรดฟอสฟอริกความเข้มข้น 0.5 โมลาร์ เป็นเวลา 30 นาที ที่ความต่างศักย์ในช่วง 100 โวลต์ 150 โวลต์ 200 โวลต์ และ 300 โวลต์ โดยศึกษาพฤติกรรมการกัดกร่อนของโลหะผสมด้วยวิธีทางไฟฟ้าเคมี ด้วยเทคนิคโพเทนชิออไดนามิกส์ โพลาไรเซชัน ในสารละลายน้ำเกลือความเข้มข้น 0.9 %โดยน้ำหนัก ที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส นอกจากนี้ชิ้นงานที่ผ่านการแอโนไดส์แล้วจะถูกนำมาวิเคราะห์ลักษณะสัณฐานของพื้นผิวด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด วัดความขรุขระของผิวหน้าด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบสแกนนิ่งโพรบ และวิเคราะห์โครงสร้างผลึกบนพื้นผิวชั้นออกไซด์ด้วยเครื่องเอกซเรย์ดิฟแฟรกชัน รวมถึงนำชิ้นงานมาตัดขวางเพื่อวัดความหนาของชั้นออกไซด์ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด ผลการประเมินศักย์ไฟฟ้าการกัดกร่อนและอัตราการกัดกร่อนด้วยสถิติบราวน์ ฟอร์ไซท์ โดยเปรียบเทียบเชิงซ้อนแบบแทมเฮนที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 พบว่าโลหะผสมที่ไม่ได้รับการปรับสภาพพื้นผิวมีค่าศักย์ไฟฟ้าการกัดกร่อน (Ecorr) ต่ำกว่ากลุ่มที่ผ่านการแอโนไดส์ และค่าศักย์ไฟฟ้าการกัดกร่อนจะเพิ่มขึ้นเมื่อความต่างศักย์ที่ใช้ในการแอโนไดส์มีค่าสูงขึ้น ส่วนอัตราการกัดกร่อนพบว่า กลุ่มที่ใช้ความต่างศักย์ 300 โวลต์ มีค่าเฉลี่ยของอัตราการกัดกร่อนสูงที่สุด (5.77x10-4 มิลต่อปี) และมีความแตกต่างทางสถิติกับกลุ่มอื่น ๆ ตามมาด้วยกลุ่ม 200 โวลต์ (3.27x10-4 มิลต่อปี) ส่วนกลุ่มที่ไม่ได้ปรับสภาพพื้นผิวกับกลุ่มที่ผ่านการทำแอโนไดส์เซชันที่ความต่างศักย์ 100 และ 150 โวลต์ พบว่าอัตราการกัดกร่อนไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากการศึกษาครั้งนี้ สรุปได้ว่าการแอโนไดส์สามารถเพิ่มความต้านทานการกัดกร่อนของโลหะผสมไทเทเนียม-6อะลูมินัม-4วานาเดียมได้ แต่การใช้ความต่างศักย์ 200 และ 300 โวลต์ ในกระบวนการนี้ทำให้พื้นผิวมีอัตราการกัดกร่อนสูง ดังนั้นการปรับค่าความต่างศักย์ที่ใช้ในการ แอโนไดส์จึงมีความสำคัญ เพื่อที่จะได้พื้นผิวที่เหมาะสมต่อการนำมาทำรากเทียม en_US
dc.description.abstractalternative The objective of this study was to investigate the corrosion resistance of Titanium-6Aluminum-4Vanadium alloy after anodization. Ti-6Al-4V alloy specimens were anodized in 0.5 M phosphoric acid solution for 30 minutes using voltages at 100 V, 150 V, 200 V and 300 V. The corrosion behavior of anodized Ti-6Al-4V alloys was observed by a potentiodynamic polarization technique in a 0.9% saline solution at 37oC. In addition, the surface morphology, surface roughness and crystal structure of anodized specimens were observed under scanning electron microscopy (SEM), scanning probe microscopy (SPM) and x-ray diffraction (XRD), respectively. Cross-sections of the specimens were polished and observed by SEM. The results of the corrosion potentials (Ecorr) and corrosion rates were statistically analyzed with Brown Forsythe test and Tamhane multiple comparison (α=.05). This investigation showed that the corrosion potential of the as-received material was lower than that of the anodized groups. The corrosion potential of anodized Ti-6Al-4V alloy increased as the anodization voltage was increased. There was no significant difference (P>.05) in corrosion rate among as-received material and Ti-6Al-4V alloy specimens anodized using 100 or 150 V. Titanium alloy anodized using 300 V had the highest mean corrosion rate (5.77x10-4 MPY) followed by the group receiving 200 V (3.27x10-4 MPY). From this study, increased voltage in the anodization of Ti-6Al-4V alloy led to an increased corrosion rate. The appropriate applied anodization voltage is necessary in order to generate the best implant surface. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1022
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject การกัดกร่อนและการป้องกันการกัดกร่อน en_US
dc.subject สารละลาย (เคมี) en_US
dc.subject กรดฟอสฟอริก en_US
dc.subject Corrosion and anti-corrosives en_US
dc.subject Solution (Chemistry) en_US
dc.subject Phosphoric acid en_US
dc.subject Titanium Alloy (TiAl6V4) en_US
dc.subject Phosphoric Acids en_US
dc.subject Surface Properties en_US
dc.subject Coated Materials, Biocompatible en_US
dc.subject Corrosion en_US
dc.subject Alloys en_US
dc.subject Titanium en_US
dc.title อัตราการกัดกร่อนของโลหะผสมไทเทเนียม-6อะลูมินัม-4วานาเดียมที่ผ่านการแอโนไดส์ในสารละลายกรดฟอสฟอริกด้วยความต่างศักย์ที่แตกต่างกัน en_US
dc.title.alternative The corrosion rate of anodized titanium-6aluminum-4vanadium alloy in phosphoric acid solution with different voltage en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline ทันตกรรมประดิษฐ์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Viritpon.S@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2012.1022


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record