DSpace Repository

อิทธิพลของคุณลักษณะที่พึงประสงค์ต่อความพึงพอใจในครอบครัว โดยมีการประเมินแก่นแท้ของตนเองเป็นตัวแปรส่งผ่าน : การเปรียบเทียบโมเดลระหว่างวัยรุ่นตอนกลางและตอนปลาย

Show simple item record

dc.contributor.advisor พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์ en_US
dc.contributor.advisor เพ็ญพิไล ฤทธาคณานนท์ en_US
dc.contributor.author พนิดาพร จงราเชนทร์ en_US
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา en_US
dc.date.accessioned 2015-06-24T06:10:53Z
dc.date.available 2015-06-24T06:10:53Z
dc.date.issued 2556 en_US
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42578
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 en_US
dc.description.abstract งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ 5 ด้านของวัยรุ่นตอนกลางและตอนปลาย 2)เปรียบเทียบโมเดลเชิงสาเหตุของความพึงพอใจในครอบครัว โดยมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์เป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรง และมีอิทธิพลทางอ้อมผ่านตัวแปรส่งผ่านการประเมินแก่นแท้ของตนเอง ระหว่างวัยรุ่นตอนกลางและตอนปลาย และ 3)เปรียบเทียบอิทธิพลทางอ้อมผ่านตัวแปรส่งผ่านการประเมินแก่นแท้ของตนเองแบบ 4 มิติ (4-dimensional scale) ระหว่างวัยรุ่นตอนกลางและตอนปลาย ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในคน กลุ่มสหสถาบัน ชุดที่ 1 มีกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย 2 กลุ่ม คือ กลุ่มวัยรุ่นตอนกลาง ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 1,693 คน และกลุ่มวัยรุ่นตอนปลาย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 1,714 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบวัดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของวัยรุ่น 5 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกายและสุขภาพ ด้านสติปัญญาและทักษะความสามารถ ด้านอารมณ์ ด้านสังคม และด้านคุณธรรม แบบวัดการประเมินแก่นแท้ของตนเองแบบ 4 มิติ และแบบวัดความพึงพอใจในครอบครัว การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์สมการเชิงโครงสร้างเพื่อตรวจสอบความตรงและความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลสมมติฐานการวิจัยระหว่างอายุด้วยโปรแกรม LISREL ผลการวิจัยที่สำคัญ พบว่า 1. ผลการศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ 5 ด้านของกลุ่มวัยรุ่นตอนกลางและกลุ่มวัยรุ่นตอนปลายมีรูปแบบแตกต่างกัน และโมเดลการวัดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ 5 ด้านของกลุ่มวัยรุ่นตอนกลางและกลุ่มวัยรุ่นตอนปลายมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ทั้ง 2 กลุ่ม 2. ผลการวิเคราะห์ความตรงของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความพึงพอใจในครอบครัว โดยมีการประเมินแก่นแท้ของตนเองเป็นตัวแปรส่งผ่าน ของกลุ่มวัยรุ่นตอนกลางและกลุ่มวัยรุ่นตอนปลายมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ทั้ง 2 กลุ่ม โดยมีความแปรเปลี่ยนของค่าพารามิเตอร์เมทริกซ์ค่าน้ำหนักองค์ประกอบของตัวแปรแฝงภายนอกและตัวแปรแฝงภายใน (GA)และอิทธิพลเชิงสาเหตุระหว่างตัวแปรแฝงภายใน (BE) 3. ผลการเปรียบเทียบอิทธิพลทางอ้อมของคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่มีต่อความพึงพอใจในครอบครัวผ่านตัวแปรการประเมินแก่นแท้ของตนเองแบบ 4 มิติ พบว่า ตัวแปรความเชื่ออำนาจควบคุมตนเองในโมเดลวัยรุ่นตอนกลาง และตัวแปรการเห็นคุณค่าในตนเองในโมเดลวัยรุ่นตอนปลาย สามารถอธิบายอิทธิพลทางอ้อมได้สูงสุด en_US
dc.description.abstractalternative The purposes of this research were 1) to study the 5-domain desirable characteristics in middle and late adolescents, 2) to develop and validate the causal models of family satisfaction; the models were hypothesized to have a direct effect from desirable characteristics and an indirect effect via core self-evaluation, 3) to compare the indirect effect via 4-dimensional scales of core self-evaluation between 2 age groups. This research was approved by the Ethical Review Committee (ECCU) with the COA No.164/2012. 1,693 secondary school students (middle adolescents) and 1,714 high school students (late adolescents) were the research samples that recruited from multistage random sampling technique. The likert scale questionnaires used in data collection, were 1) the desirable characteristics in 5 domains; physical, cognitive, emotional, social, and moral, 2) 4-dimensional core self-evaluation and 3) family satisfaction. The data analysis for this research was structure equation model (LISREL). The major findings were as follow: 1. There are different patterns of 5-domain desirable characteristics between 2 age groups and the 2 measurement models of desirable characteristics are fit with the empirical data. 2. The 2 causal models of family satisfaction of each group are also fit well with the empirical data and invariant for model form. The causal effects between latent exogenous variables and latent endogenous variables were significantly different across age groups. 3. The comparison of the indirect effect via 4-dimensinal scale of core self-evaluation in the causal models of family satisfaction reveals that the highest indirect effect from desirable characteristics to family satisfaction is the indirect effect via Locus of control in middle adolescent’s model and Self-esteem in late adolescent’s model. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.63
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject วัยรุ่น
dc.subject ครอบครัว
dc.subject จิตวิทยาวัยรุ่น
dc.subject จิตวิทยาพัฒนาการ
dc.subject การประเมิน
dc.subject Adolescence
dc.subject Families
dc.subject Adolescent psychology
dc.subject Developmental psychology
dc.subject Evaluation
dc.subject ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
dc.title อิทธิพลของคุณลักษณะที่พึงประสงค์ต่อความพึงพอใจในครอบครัว โดยมีการประเมินแก่นแท้ของตนเองเป็นตัวแปรส่งผ่าน : การเปรียบเทียบโมเดลระหว่างวัยรุ่นตอนกลางและตอนปลาย en_US
dc.title.alternative EFFECT OF DESIRABLE CHARACTERISTICS ON FAMILY SATISFACTION WITH CORE SELF-EVALUATION AS A MEDIATOR: A COMPARISON OF MODELS BETWEEN MIDDLE AND LATE ADOLESCENTS en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาเอก en_US
dc.degree.discipline จิตวิทยา en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Puntip.S@chula.ac.th en_US
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2013.63


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record