DSpace Repository

ความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนของผู้ปกครองด้านอาชีพ และความลังเลใจในการเลือกเส้นทางอาชีพของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยมีการรับรู้ความสามารถของตนในการตัดสินใจเลือกเส้นทางอาชีพเป็นตัวแปรส่งผ่าน

Show simple item record

dc.contributor.advisor อรัญญา ตุ้ยคำภีร์ en_US
dc.contributor.advisor สุภาพรรณ โคตรจรัส en_US
dc.contributor.author บุณฑริกา ลิ่วเฉลิมวงศ์ en_US
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา en_US
dc.date.accessioned 2015-06-24T06:11:06Z
dc.date.available 2015-06-24T06:11:06Z
dc.date.issued 2556 en_US
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42627
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 en_US
dc.description.abstract การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ ศึกษาอิทธิพลจากการสนับสนุนของผู้ปกครองด้านอาชีพ แบบสนับสนุน แบบก้าวก่าย แบบขาดการมีส่วนร่วม และการรับรู้ความสามารถของตนในการตัดสินใจเลือกอาชีพที่มีต่อความลังเลใจในการเลือกเส้นทางอาชีพของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยในครั้งนี้ คือนักเรียนระดับมัธยมปลาย ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,140 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ มาตรวัดการสนับสนุนของผู้ปกครองด้านอาชีพ มาตรวัดความลังเลใจในการเลือกเส้นทางอาชีพ มาตรวัดการรับรู้ความสามารถของตนในการตัดสินใจเลือกเส้นทางอาชีพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการสร้างสมการโครงสร้างด้วยโปรแกรมลิสเรล (LISREL) ผลการวิจัยพบว่า โมเดลเชิงสาเหตุของความลังเลใจในการเลือกประกอบอาชีพ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-square=25.520, df= 22, p=.273, GFI =.996, RMSEA=.012) ทั้งนี้ตัวแปรทั้งหมดในสมการสามารถอธิบายความแปรปรวนของความลังเลใจในการเลือกประกอบอาชีพได้ร้อยละ 62.10 โดยที่การรับรู้ความสามารถของตนในการตัดสินใจเลือกเส้นทางอาชีพ มีอิทธิพลทางตรงต่อความลังเลใจในการเลือกประกอบอาชีพสูงที่สุด (β = -.90, p < .01) รองลงมาเป็นอิทธิพลรวมของของการสนับสนุนของผู้ปกครองด้านอาชีพ แบบขาดการมีส่วนร่วม (β = .45, p < .01) และ การสนับสนุนของผู้ปกครองด้านอาชีพ แบบสนับสนุน (β = .37, p < .01) ทั้งนี้การสนับสนุนของผู้ปกครองด้านอาชีพแบบก้าวก่ายมีอิทธิพลรวมต่อความลังเลใจในการเลือกประกอบอาชีพอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (β = -.09, ns) การสนับสนุนจากผู้ปกครองด้านอาชีพทั้งสามรูปแบบสามารถอธิบาpความแปรปรวนของการรับรู้ความสามารถของตนในการตัดสินใจเลือกเส้นทางอาชีพได้ร้อยละ 51.90 โดยที่การสนับสนุนของผู้ปกครองด้านอาชีพแบบสนับสนุน มีอิทธิพลสูงที่สุด (β = -.90, p < .01) รองลงมาเป็น แบบขาดการมีส่วนร่วม (β = .50, p < .01) และ แบบก้าวก่าย (β = -.24, p < .01) en_US
dc.description.abstractalternative The purposes of this research were to investigate the relationship between 3 styles of parental career support (support style, interfere style and lack of engagement style), career decision-making self-efficacy and career indecision in high school students. Participants were 1,140 high school students. Instruments were parental career support scale, career indecision scale, and career decision-making self-efficacy scale. Data were collected via sets of questionnaires and subsequently analyzed using the structural equation modeling through LISREL. The findings reveal that the causal model where 3 styles of parental career support were used to predict career indecision in high school students with career decision-making self-efficacy being a mediator, fits the empirical data (Chi-square=25.520, df= 22, p=.273, GFI =.996 and RMSEA=.012). The model accounted for 62.10% of the varience of career indecision. Career decicion-making self-efficacy was most salient in predicting career indecision (β = -.90, p < .01), followed by parental career support, the lack of engagement style (β = .45, p < .01) and support style (β = .37, p < .01). However, the total effect on career indecision of Interfere style was not significant (β = -.09, ns). Additionally, parental career support accounted for 51.90% of the varience of career decision-making self-efficacy, with support style being most salient in its predictive value (β = -.90, p < .01), followed by lack of engagement style (β = .50, p < .01) and interfere style (β = -.24, p < .01). en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.101
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject การแนะแนวอาชีพ
dc.subject การรับรู้ตนเอง
dc.subject การตัดสินใจ
dc.subject Vocational guidance
dc.subject Self-perception
dc.subject Decision making
dc.title ความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนของผู้ปกครองด้านอาชีพ และความลังเลใจในการเลือกเส้นทางอาชีพของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยมีการรับรู้ความสามารถของตนในการตัดสินใจเลือกเส้นทางอาชีพเป็นตัวแปรส่งผ่าน en_US
dc.title.alternative THE RELATIONSHIP BETWEEN PARENTAL CAREER SUPPORT AND CAREER INDECISION OF HIGH SCHOOL STUDENTS WITH CAREER DECISION-MAKING SELF-EFFICACY AS A MEDIATOR en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline จิตวิทยา en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor arunya.t@chula.ac.th en_US
dc.email.advisor ksupapun@chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2013.101


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record