Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา : อิทธิพลของอำนาจและความชอบธรรมต่อระยะห่างทางสังคม โดยมีความพอเพียงในตนเองเป็นตัวแปรส่งผ่าน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 122 คน ได้ถูกสุ่มเข้าเงื่อนไข จากนั้นทำมาตรวัดความพอเพียงในตนเอง และมาตรวัดระยะห่างทางสังคม
ผลการวิจัยพบว่า
1. เมื่อควบคุมอิทธิพลของบุคลิกภาพครอบงำ-ยอมตาม อำนาจและความชอบธรรมมีอิทธิพลทำให้ตัวแปรระยะห่างทางสังคมเพิ่มขึ้น (M = 52.16, SE = 1.14) เมื่อเทียบกับไร้อำนาจที่มีความชอบธรรม (M = 48.30, SE = 1.13) การวิเคราะห์เปรียบเทียบอิทธิพลหลักอย่างง่ายพบว่า ความแตกต่างของระยะห่างทางสังคมระหว่างกลุ่มเงื่อนไขทั้งสองกลุ่มข้างต้นมีนัยสำคัญ
(p < .05)
2. เมื่อควบคุมอิทธิพลของบุคลิกภาพครอบงำ-ยอมตาม การไร้อำนาจและการไร้ความชอบธรรมไม่มีอิทธิพลทำให้ระยะห่างทางสังคมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งนี้แม้ว่า เงื่อนไขไร้อำนาจและไร้ความชอบธรรมจะทำให้ตัวแปรระยะห่างทางสังคมเพิ่มขึ้น (M = 51.10, SE = 1.13) เมื่อเทียบกับเงื่อนไขมีอำนาจและไร้ความชอบธรรม (M = 49.65, SE = 1.12) แต่การวิเคราะห์เปรียบเทียบอิทธิพลหลักอย่างง่ายพบว่า ความแตกต่างดังกล่าวไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
3. ความพอเพียงในตนเองไม่ได้เป็นตัวแปรส่งผ่านในความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจและระยะห่างทางสังคม อย่างไรก็ตาม ความชอบธรรมเป็นตัวแปรกำกับระหว่างอำนาจและความพอเพียงในตนเอง (p < .05)