DSpace Repository

ผลของกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวปัญญาพฤติกรรมนิยมต่อการกำกับอารมณ์ตนเองและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในเด็กที่มาจากครอบครัวหย่าร้าง

Show simple item record

dc.contributor.advisor กุลยา พิสิษฐ์สังฆการ en_US
dc.contributor.author สินีนาฏ ไชยวงศ์ en_US
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา en_US
dc.date.accessioned 2015-06-24T06:11:18Z
dc.date.available 2015-06-24T06:11:18Z
dc.date.issued 2556 en_US
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42682
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 en_US
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวปัญญาพฤติกรรมนิยมต่อการกำกับอารมณ์ตนเองและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในเด็กที่มาจากครอบครัวหย่าร้าง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ทดสอบก่อนและหลังการทดลองแบบมีกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมที่มาจากครอบครัวหย่าร้าง จำนวน 48 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมจำนวนเท่ากัน กลุ่มทดลองเข้าร่วมกลุ่มการปรึกษาสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง รวมทั้งหมด 8 ครั้ง ครั้งละ 2 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ โปรแกรมกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวปัญญาพฤติกรรมนิยม มาตรวัดการกำกับอารมณ์ตนเอง และมาตรวัดปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการกำกับอารมณ์ตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติความแปรปรวนพหุนาม (MANOVA) ผลการวิจัย พบว่า 1. เมื่อพิจารณาคะแนนของกลุ่มทดลอง พบว่า ภายหลังการเข้ารับการทดลอง กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนการกำกับอารมณ์ด้านการรู้คิด คะแนนการกำกับอารมณ์ด้านพฤติกรรม และคะแนนการรับรู้ความสามารถในการกำกับอารมณ์สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 แต่สำหรับคะแนนอารมณ์ทางบวกและคะแนนอารมณ์ทางลบ พบว่าไม่มีความแตกต่างกัน 2. เมื่อพิจารณาคะแนนของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่า ภายหลังเข้ารับการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนการกำกับอารมณ์ด้านการรู้คิด คะแนนการกำกับอารมณ์ด้านพฤติกรรม และคะแนนการรับรู้ความสามารถในการกำกับอารมณ์สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 แต่สำหรับคะแนนอารมณ์ทางบวก และคะแนนอารมณ์ทางลบ พบว่าไม่มีความแตกต่างกัน en_US
dc.description.abstractalternative The purpose of this research was to examine the effects of cognitive behavior group counseling on emotion regulation and related factors of children of divorce. A quasi-experimental with pretest-posttest control group design was employed. Participants, 48 primary school students from divorced family, were selected purposively according to inclusion criteria and were assigned into the experimental and control group equally. Participants in the experimental group attended a weekly CBT group sessions of eight 2-hour sessions. Measures of emotion regulation and related factors were administered pre and post-group participation. Data obtained were analyzed using a MANOVA. Findings were as follows: 1) When compared with their scores prior to group participation, participants in the experimental condition obtained significantly higher score on emotion regulation, both in the cognitive and behavioral aspects (p < .001). Additionally, they obtained a significantly higher score on emotion control (p < .001). Their scores on negative and positive emotions did not differ prior to and after group participation, however. 2) When compared with their scores between experimental group and control group, participants in the experimental condition obtained significantly higher score than control group on emotion regulation, both in the cognitive and behavioral aspects (p < .001). Additionally, they obtained a significantly higher score than control group on emotion control (p < .001). Their scores on negative and positive emotions did not differ between experimental group and control group, however. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject จิตวิทยาการปรึกษา
dc.subject การให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม
dc.subject ครอบครัวแตกแยก
dc.subject พฤติกรรมการช่วยเหลือในเด็ก
dc.subject Counseling psychology
dc.subject Group counseling
dc.subject Broken homes
dc.subject Helping behavior in children
dc.title ผลของกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวปัญญาพฤติกรรมนิยมต่อการกำกับอารมณ์ตนเองและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในเด็กที่มาจากครอบครัวหย่าร้าง en_US
dc.title.alternative EFFECTS OF COGNITIVE BEHAVIOR THERAPY GROUP COUNSELING ON EMOTION REGULATION AND RELATED FACTORS OF CHILDREN OF DIVORCE en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline จิตวิทยา en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Kullaya.D@chula.ac.th en_US
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2013.1


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record