DSpace Repository

คติชาติพันธุ์นิยมและความเต็มใจช่วยเอื้อต่อการปรับตัวของพนักงานต่างชาติ : อิทธิพลส่งผ่านของการจัดประเภททางสังคม และอิทธิพลกำกับของความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับองค์การ

Show simple item record

dc.contributor.advisor อภิชญา ไชยวุฒิกรณ์วานิช en_US
dc.contributor.advisor ชูชัย สมิทธิไกร en_US
dc.contributor.author วิศรุต ศรีศิวะเศรษฐ์ en_US
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา en_US
dc.date.accessioned 2015-06-24T06:11:19Z
dc.date.available 2015-06-24T06:11:19Z
dc.date.issued 2556 en_US
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42688
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 en_US
dc.description.abstract งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคติชาติพันธุ์นิยมและความเต็มใจของพนักงานท้องถิ่นในการช่วยเอื้อต่อการปรับตัวของพนักงานต่างชาติ โดยมีการจัดประเภททางสังคมเป็นตัวแปรสื่อ และมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับองค์การเป็นตัวแปรกำกับในกลุ่มตัวอย่างพนักงานท้องถิ่นในประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ ไทยและเวียดนามของบริษัทข้ามชาติด้านยานยนต์และเทคโนโลยีอุตสาหการจากยุโรปจำนวน 205 คน โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างตามสะดวก เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ มาตรวัดคติชาติพันธุ์นิยม มาตรวัดความเต็มใจช่วยเอื้อต่อการปรับตัวของพนักงานต่างชาติ มาตรวัดการจัดประเภททางสังคม และมาตรวัดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับองค์การ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีบูธสแตรป ด้วยโปรแกรม PROCESS ซึ่งเป็นส่วนต่อขยายของโปรแกรม SPSS ผลการวิจัยพบว่า 1. คติชาติพันธุ์นิยมมีอิทธิพลทางตรงทางบวกต่อการจัดประเภททางสังคมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าประมาณขนาดอิทธิพลทางตรงเท่ากับ 0.16 2. การจัดประเภททางสังคมมีอิทธิพลทางตรงทางลบต่อความเต็มใจช่วยเอื้อต่อการปรับตัวของพนักงานต่างชาติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าประมาณขนาดอิทธิพลทางตรงเท่ากับ -0.19 3. การจัดประเภททางสังคมเป็นตัวแปรสื่อในความสัมพันธ์ระหว่างคติชาติพันธุ์นิยมและความเต็มใจช่วยเอื้อต่อการปรับตัวของพนักงานต่างชาติ ค่าประมาณอิทธิพลทางอ้อมเท่ากับ -0.0307 ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% โดยช่วงความเชื่อมั่นมีค่าระหว่าง -0.0904 ถึง -0.0025 4. ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับองค์การไม่ได้เป็นตัวแปรกำกับในความสัมพันธ์ระหว่างการจัดประเภททางสังคมและความเต็มใจช่วยเอื้อต่อการปรับตัวของพนักงานต่างชาติ en_US
dc.description.abstractalternative This research aimed to investigate the relationship between host country nationals’ ethnocentrism and their willingness to facilitate expatriate adjustment with social categorization as mediator and organizational identification as moderator. Participants were 205 local employees in Malaysia, Singapore, Thailand and Vietnam, working for a multinational company from Europe chosen by convenience sampling. Research instruments included the ethnocentrism scale, the willingness to facilitate expatriate adjustment scale, the social categorization scale and the organizational identification scale. The bootstrapping method using PROCESS program was employed. The study reveals that: 1. Host country nationals’ ethnocentrism has a positive direct effect on social categorization at the statistical significance level of .05. The estimate of direct effect is 0.16. 2. Social categorization has a negative direct effect on host country nationals’ willingness to facilitate expatriate adjustment at the statistical significance level of .05. The estimate of direct effect is -0.19. 3. Social categorization mediates the relationship between host country nationals’ ethnocentrism and their willingness to facilitate expatriate adjustment. The estimate of indirect effect is -0.0307, BC 95%, CI: -0.0904 to -0.0025. 4. Organizational identification does not moderate the relationship between social categorization and willingness to facilitate expatriate adjustment. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.167
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ชาติพันธุ์วิทยา
dc.subject จิตวิทยาประยุกต์
dc.subject Ethnology
dc.subject Psychology, Applied
dc.title คติชาติพันธุ์นิยมและความเต็มใจช่วยเอื้อต่อการปรับตัวของพนักงานต่างชาติ : อิทธิพลส่งผ่านของการจัดประเภททางสังคม และอิทธิพลกำกับของความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับองค์การ en_US
dc.title.alternative ETHNOCENTRISM AND WILLINGNESS TO FACILITATE EXPATRIATE ADJUSTMENT: THE MEDIATING EFFECT OF SOCIAL CATEGORIZATION AND THE MODERATING EFFECT OF ORGANIZATIONAL IDENTIFICATION en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline จิตวิทยาประยุกต์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor apitchaya.c@chula.ac.th en_US
dc.email.advisor csmithikrai@gmail.com
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2013.167


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record