DSpace Repository

การเปลี่ยนรัฐบาลกับการเปลี่ยนแปลงนโยบายปราบปรามยาเสพติด

Show simple item record

dc.contributor.advisor พิษณุ เสงี่ยมพงษ์ en_US
dc.contributor.author นำพล สุวรรณกาศ en_US
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ en_US
dc.date.accessioned 2015-06-24T06:21:47Z
dc.date.available 2015-06-24T06:21:47Z
dc.date.issued 2556 en_US
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42836
dc.description วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 en_US
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเปลี่ยนรัฐบาลที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงนโยบายปราบปรามยาเสพติด ซึ่งได้ศึกษาเงื่อนไขปัจจัยต่างๆ ที่สามารถสะท้อนให้เห็นถึงความแตกต่างในการกำหนดและการปฏิบัตินโยบายดังกล่าวภายใต้รัฐบาลอภิสิทธิ์ และรัฐบาลยิ่งลักษณ์ โดยแนวคิดที่เป็นโครงสร้างในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วยแนวคิดเรื่องบริบททางการเมืองและเศรษฐกิจที่มีผลต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะ เรื่องยุทธศาสตร์ของพรรคการเมืองในการกำหนดและปฏิบัตินโยบาย และเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายการเมืองและฝ่ายบริหารในนโยบายสาธารณะ ซึ่งการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้วิธีการศึกษาจากเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการศึกษาพบว่า เมื่อมีการเปลี่ยนรัฐบาลจากพรรคการเมืองขั้วตรงข้ามกัน (พรรคประชาธิปัตย์และพรรคเพื่อไทย) ได้นำไปสู่การกำหนดและการปฏิบัตินโยบายปราบปรามยาเสพติดที่แตกต่างกัน เนื่องจากเงื่อนไขปัจจัยหลักที่ประกอบไปด้วยบริบททางการเมืองและเศรษฐกิจที่แตกต่างกันของสองรัฐบาลตลอดจนยุทธศาสตร์ที่แตกต่างกันของทั้งสองพรรคการเมืองในการกำหนดและการปฏิบัตินโยบายปราบปรามยาเสพติด โดยภายใต้รัฐบาลอภิสิทธิ์นั้น พบว่า ได้เผชิญกับปัญหาวิกฤตความขัดแย้งทางการเมืองและวิกฤตเศรษฐกิจ จึงทำให้นโยบายปราบปรามยาเสพติดไม่ได้ถูกเน้นให้เป็นเครื่องมือในการสร้างความชอบธรรมในการปกครองบริหาร พรรคประชาธิปัตย์ภายใต้การนำของนายอภิสิทธิ์จึงมุ่งเน้นไปที่นโยบายด้านอื่นๆแทน โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่ตกต่ำ และวางยุทธศาสตร์ในการสร้างความพึงพอใจจากประชาชนไปที่นโยบายการศึกษาและนโยบายเศรษฐกิจเป็นหลัก ดังนั้นในส่วนนโยบายปราบปรามยาเสพติดของรัฐบาลอภิสิทธิ์จึงไม่ได้เข้าไปสร้างแรงกดเชิงนโยบายต่อข้าราชการมากนัก นอกจากนี้รัฐบาลก็ไม่ได้เข้าไปแทรกแซงการแต่งตั้งเลขาธิการ ป.ป.ส. จึงสรุปได้ว่ารูปแบบนโยบายปราบปรามยาเสพติดภายใต้รัฐบาลอภิสิทธิ์มีลักษณะความสัมพันธ์ของการเมืองและการบริหารที่แยกออกจากกัน ในทางตรงกันข้าม ภายใต้รัฐบาลยิ่งลักษณ์นั้นเห็นได้ว่าระดับของปัญหาวิกฤติทางการเมืองและเศรษฐกิจบรรเทาเบาบางลง การปราบปรามยาเสพติดจึงถูกจัดวางความสำคัญไว้เป็นนโยบายลำดับต้นในฐานะเป็นวาระแห่งชาติ จึงแสดงให้เห็นว่านโยบายนี้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างความชอบธรรมให้แก่รัฐบาลพร้อมกับการสร้างความพึงพอใจจากประชาชนด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้รัฐบาลจึงมียุทธศาสตร์ของนโยบายนี้ไปในเชิงการป้องกันควบคู่กับการปราบปราม และยังสร้างแรงกดเชิงนโยบายต่อข้าราชการเป็นอย่างมากในการปฏิบัตินโยบาย นอกจากนี้แล้วรัฐบาลยิ่งลักษณ์ยังเข้าไปแทรกแซงในการแต่งตั้งเลขาธิการ ป.ป.ส. ซึ่งตรงข้ามกับรัฐบาลอภิสิทธิ์ ดังนั้นข้อค้นพบที่ได้จึงนำมาสู่การสรุปที่ว่า ลักษณะความสัมพันธ์ของการเมืองและการบริหารนั้นไม่แยกออกจากกันในนโยบายปราบปรามยาเสพติดภายใต้การนำของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ en_US
dc.description.abstractalternative This research aims at studying the effect of the change of governmental administration on the change of narcotics eradication policy. In particular, the research examines factors that possibly affect the difference in the formulation and implementation of such policy under Abhisit and Yingluck administrations. The main political concepts used to structure the research are the following: Political and economic contexts within public policy, political parties’ strategies in policy formulation and implementation, and the relationship between politics and administration within public policy. The qualitative research methods used in the study comprise documentary study and in-depth interviews. The research result and analysis show that the change of governments led by the two different political parties – Democrat and Phueathai – does, in fact, lead to the difference in the drug policy formulation and implementation. The main explanation for such variation consists of different political and economic contexts of the two administrations as well as the variation in the two political parties’ strategies with respect to the policy. Within Abhisit administration, suffering from much political conflict and economic problem, the narcotics eradication policy was not the means to promote the legitimacy of the administration. Instead, the Democrat Party under Abhisit’s leadership put more emphasis on other policy areas, especially the correction of the economic downturn. It garnered public satisfaction from elsewhere, such as education policy and economic policy. The Abhisit administration, therefore, was not keen on pressuring the bureaucracy into strict drug eradication. In addition, the administration did not intervene in the appointment of the Secretary-General of the Narcotics Control Board (NCB). Therefore, this study concludes that the narcotics eradication policy style under Abhisit administration was one where there was a sense of politics and administration separation. In contrast, under Yingluck administration, where there was a lesser degree of political and economic crises, the narcotics eradication was positioned high on the government agenda. It also meant for the policy to be a means of seeking legitimacy for the government, while gathering satisfaction among the electorate. As a result, the administration emphasized both prevention and eradication of drugs; and it put pressure on the bureaucracy to strict implementation of such policy. Also, unlike the Abhisit administration, Yingluck administration appointed the Secretary-General of the Narcotics Control Board. Such research finding leads to the conclusion of this research that there is a commingling of politics and administration within the Narcotics Eradication Policy under Yingluck’s leadership. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.336
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ไทย -- การเมืองและการปกครอง
dc.subject การนำนโยบายไปปฏิบัติ
dc.subject Thailand -- Politics and government
dc.subject Policy implementation
dc.title การเปลี่ยนรัฐบาลกับการเปลี่ยนแปลงนโยบายปราบปรามยาเสพติด en_US
dc.title.alternative THE CHANGE OF ADMINISTRATIONS AND THE CHANGE OF NARCOTICS ERADICATION POLICY en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name รัฐศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline การปกครอง en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor pisanu.s@chula.ac.th en_US
dc.email.advisor en_US
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2013.336


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record