DSpace Repository

การเปรียบเทียบวิธีการทดสอบการแจกแจงแบบปกติเชิงพหุ

Show simple item record

dc.contributor.advisor อัครินทร์ ไพบูลย์พานิช en_US
dc.contributor.author กัญญะมน จวนสงวน en_US
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี en_US
dc.date.accessioned 2015-06-24T06:22:51Z
dc.date.available 2015-06-24T06:22:51Z
dc.date.issued 2556 en_US
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42958
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 en_US
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบวิธีการทดสอบการแจกแจงแบบปกติเชิงพหุ พิจารณาจากความสามารถในการควบคุมความน่าจะเป็นของการเกิดความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 และกำลังการทดสอบของวิธีการทดสอบ 3 วิธี คือ วิธีการทดสอบซาพิโรและวิลค์ของมัดโฮลการ์ – ศรีวาสทาวา – ลิน (WF) วิธีการทดสอบเฮนซ์ – เซอร์เคลอร์ (HZ) และวิธีการทดสอบดัดแปลงจากวิธีการของมาร์เดียและซาพิโรและวิลค์ที่พัฒนาขึ้นโดยกุศยา (2546) โดยใช้การแจกแจงแบบปกติเชิงพหุ การแจกแจงแบบสติวเดนท์-ทีเชิงพหุ และการแจกแจงแบบโคชีเชิงพหุ ขนาดตัวอย่าง 25, 50,100 และ 150 และจำนวนตัวแปรที่ศึกษา 3 และ 5 ตัวแปร ที่มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 0.3 และ 0.7 และค่าความแปรปรวนเท่ากันและไม่เท่ากัน ที่ระดับนัยสำคัญของการทดสอบ 0.01, 0.05 และ 0.10 ทำการทดสอบซ้ำ 5,000 รอบ ผลการวิจัยพบว่า วิธีการทดสอบซาพิโรและวิลค์ของมัดโฮลการ์ – ศรีวาสทาวา – ลิน (WF) วิธีการทดสอบเฮนซ์ – เซอร์เคลอร์ (HZ) และวิธีการทดสอบดัดแปลงจากวิธีการของมาร์เดียและซาพิโรและวิลค์พัฒนาขึ้นโดยกุศยา (2546) สามารถควบคุมความน่าจะเป็นของการเกิดความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 ได้ทุกกรณีของการทดสอบ กรณีขนาดตัวอย่าง 25 และ 50 วิธีการทดสอบซาพิโรและวิลค์ของมัดโฮลการ์ – ศรีวาสทาวา – ลิน (WF) มีค่ากำลังการทดสอบสูงที่สุด รองลงมาเป็นวิธีการทดสอบดัดแปลงจากวิธีการของมาร์เดียและซาพิโรและวิลค์พัฒนาขึ้นโดยกุศยา (2546) และวิธีการทดสอบเฮนซ์ – เซอร์เคลอร์ (HZ) ตามลำดับ ส่วนกรณีขนาดตัวอย่าง 100 และ 150 วิธีการทดสอบเฮนซ์ – เซอร์เคลอร์ (HZ) มีค่ากำลังการทดสอบสูงที่สุด รองลงมาเป็นวิธีการทดสอบดัดแปลงจากวิธีการของมาร์เดียและซาพิโรและวิลค์พัฒนาขึ้นโดยกุศยา (2546) และวิธีการทดสอบซาพิโรและวิลค์ของมัดโฮลการ์ – ศรีวาสทาวา – ลิน (WF) ตามลำดับทุกกรณีของการทดสอบ en_US
dc.description.abstractalternative The purpose of the research is to compare the ability to control the Type I error and power of the three multivariate normality tests : the Shapiro and Wilk test of Mudholkar, Srivastava and Lin (WF), the Henze – Zirkler test (HZ), the modified technique base on techniques of Mardia and Shapiro and Wilk developed by Kusaya (2003), under various distributions and combinations of number of variables (3 and 5 variables) and sample sizes (25, 50, 100 and 150). The distributions used under the simulation study were multivariate normal distribution, multivariate student – t distribution and multivariate cauchy distribution. The Type I error rates were specified at 0.01, 0.05 and 0.10 and the powers of the test were compared under 5,000 data sets in every conditions. The research results indicated that : The Shapiro and Wilk test of Mudholkar, Srivastava and Lin (WF), the Henze – Zirkler test (HZ), the modified technique based on techniques of Mardia and Shapiro and Wilk developed by Kusaya (2003) can control type I error for all conditions under the study. In cases of 25 and 50 sample sizes, the Shapiro and Wilk test of Mudholkar, Srivastava and Lin (WF) gives the highest power, followed by the modified technique based on techniques of Mardia and Shapiro and Wilk developed by Kusaya (2003) and the Henze – Zirkler test (HZ), respectively for most conditions. And in case of 50, 100 and 150 sample size, the Henze – Zirkler test (HZ) gives the highest power, followed by the modified technique based on techniques of Mardia and Shapiro and Wilk developed by Kusaya (2003) and the Shapiro and Wilk test of Mudholkar, Srivastava and Lin (WF), respectively for most conditions. The power of all tests increases as sample size and level of significances increases. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.431
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject สถิติวิเคราะห์
dc.subject การแจกแจงปกติ
dc.subject Gaussian distribution
dc.title การเปรียบเทียบวิธีการทดสอบการแจกแจงแบบปกติเชิงพหุ en_US
dc.title.alternative THE COMPARISON OF THE MULTIVARIATE NORMAL DISTRIBUTION TESTS en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline สถิติ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor akarin@cbs.chula.ac.th en_US
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2013.431


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record