DSpace Repository

ผลของเรซินโคตทิงที่มีต่อกำลังแรงยึดดึงระหว่างเรซินซีเมนต์และเนื้อฟัน

Show simple item record

dc.contributor.advisor นิยม ธำรงค์อนันต์สกุล en_US
dc.contributor.author กฤษณะ บัญญัติศรีสกุล en_US
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์ en_US
dc.date.accessioned 2015-06-24T06:36:49Z
dc.date.available 2015-06-24T06:36:49Z
dc.date.issued 2556 en_US
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43284
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 en_US
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของเรซินโคตทิงต่อกำลังแรงยึดดึงระหว่างเรซินซีเมนต์และเนื้อฟัน โดยใช้เรซินโคตทิง 1 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ไฮบริดโคต และเรซินซีเมนต์ 2 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ พานาเวียเอฟทูและซุปเปอร์บอนด์ซีแอนด์บี การทดสอบกำลังแรงยึดดึง ฟันกรามมนุษย์จำนวน 40 ซี่ ถูกตัดด้านบดเคี้ยวในแนวระนาบเพื่อเผยให้เห็นเนื้อฟันด้วยเครื่องตัดฟันความเร็วต่ำ จากนั้นขัดผิวเนื้อฟันด้วยกระดาษซิลิกอนคาร์ไบด์ความละเอียด 600 กริท แบ่งฟันเป็น 4 กลุ่มได้แก่ 1) เนื้อฟันที่ไม่เคลือบด้วยเรซินโคตทิงแล้วยึดด้วยพานาเวียเอฟทู 2) เนื้อฟันที่เคลือบด้วยเรซินโคตทิงแล้วยึดด้วยพานาเวียเอฟทู 3) เนื้อฟันที่ไม่เคลือบด้วยเรซินโคตทิงแล้วยึดด้วยซุปเปอร์บอนด์ซีแอนด์บี และ 4) เนื้อฟันที่เคลือบด้วยเรซินโคตทิงแล้วยึดด้วยซุปเปอร์บอนด์ซีแอนด์บี เก็บชิ้นงานทั้งหมดไว้ภายใต้ความชื้นสัมพัทธ์ร้อยละ 100 ที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 24 ชั่วโมง นำชิ้นงานมาเตรียมเป็น รูปมินิดัมเบลล์ (10 ชิ้นตัวอย่างต่อกลุ่มการทดสอบ) และทดสอบกำลังแรงยึดดึงด้วยเครื่องทดสอบแรงแบบสากล ด้วยความเร็วหัวจับ 0.5 มิลลิเมตรต่อนาที บันทึกค่ากำลังแรงยึดดึงเป็นหน่วยเมกะปาสคาลนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว นำชิ้นทดสอบที่ผ่านการทดสอบไปตรวจสอบรูปแบบความล้มเหลวด้วย กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด ผลการทดสอบ กำลังแรงยึดดึงของกลุ่มที่ 1 และ 2 มีค่าเท่ากับ 9.59 ±3.65 และ 5.54±2.07 เมกะปาสคาล ตามลำดับ ส่วนกลุ่ม 3 และ 4 มีค่าเท่ากับ 17.03±2.93 และ 8.81 ±3.85 เมกะปาสคาล ตามลำดับ วิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยใช้สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวพบว่ากำลังแรงยึดดึงของกลุ่มที่ 3 มีค่าสูงที่สุดและแตกต่างจากกลุ่มที่เหลืออีก 3 กลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และกำลังแรงยึดดึงของกลุ่มที่ 1 และ 2 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ส่วนกำลังแรงยึดดึงระหว่างกลุ่มที่ 1 กับกลุ่มที่ 4 และกำลังแรงยึดดึงระหว่างกลุ่มที่ 2 กับกลุ่มที่ 4 แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ความล้มเหลวของชิ้นทดสอบ พบว่าร้อยละ 70 ของกลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 3 เกิดระหว่างชั้นยึดโดยมีเรซินซีเมนต์หลงเหลือบนเนื้อฟันขณะที่ร้อยละ 60 ของกลุ่มที่ 2 และร้อยละ 70 ของกลุ่มที่ 4 เกิดระหว่างชั้นเรซินโคตทิงกับเรซินซีเมนต์โดยมีเรซินซีเมนต์เหลือบนชั้นเรซินโคตทิง สรุปได้ว่ากำลังแรงยึดดึงของเนื้อฟันกับเรซินซีเมนต์ซุปเปอร์บอนด์ซีแอนด์บี และพานาเวียเอฟทูมีค่าสูงกว่ากลุ่มเนื้อฟันที่ผ่านการเคลือบด้วย เรซินโคตทิงแล้วยึดด้วยเรซินซีเมนต์ทั้งสองชนิด en_US
dc.description.abstractalternative The objective of this study was to evaluate the effect of a resin coating on tensile bond strength (TBS) between resin cements and dentin by using a product of resin coating: Hybrid coat and 2 products of resin cement : Panavia F 2.0 and Superbond C&B. For TBS test, 40 extracted human molars were ground to flatten dentin surface using low speed cutting machine and finished by 600-grit silicon carbide paper. The teeth were divided into 4 groups; 1) fresh dentin without coating was bonded with Panavia F 2.0, 2) dentin was coated by resin coating and bonded with Panavia F 2.0, 3) fresh dentin without coating was bonded with Superbond C&B, and 4) dentin was coated by resin coating and bonded with Superbond C&B. After storage at 100% relative humidity and 37◦C for 24 hours, all bonded teeth were prepared to mini-dumbbell specimens. The tensile bond strength was performed using universal testing machine at cross-head speed 0.5 mm/min. Data were statistically analyzed by one-way ANOVA. The failure mode was determined under scanning electron microscope. Results : The tensile bond strengths of group 1 and 2 were 9.59 ± 3.65 and 5.54 ±2.07 MPa, respectively. While those of group 3 and 4 were 17.03 ± 2.93 and 8.81 ± 3.85 MPa, respectively. The highest tensile bond strength was found in group 3 and it was significantly different to other three groups (p<0.05). The tensile bond strengths between group 1 and 2 were significantly different (p<0.05). On the other hand, there was no significant difference between bond strengths of group 1 and 4 as well as between group 2 and 4 (p>0.05). For failure mode, 70% of specimens in group 1 and group 3 showed partial adhesive failure with remnants of resin cement remained on dentin surface. While 60% of specimens in group 2 and 70% of those in group 4 demonstrated partial adhesive failure with remnants of resin cement on coated dentin surface. Conclusion: Both Panavia F 2.0 and Superbond C&B showed higher tensile bond strength on fresh dentin than coated dentin. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.692
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject เรซินทางทันตกรรม
dc.subject ทันตกรรมประดิษฐ์
dc.subject Resin Cements
dc.subject Prosthodontics
dc.title ผลของเรซินโคตทิงที่มีต่อกำลังแรงยึดดึงระหว่างเรซินซีเมนต์และเนื้อฟัน en_US
dc.title.alternative EFFECT OF RESIN COATING ON TENSILE BOND STRENGTH BETWEEN RESIN CEMENTS AND DENTIN en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline ทันตกรรมประดิษฐ์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Niyom.T@chula.ac.th en_US
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2013.692


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record