DSpace Repository

การเข้าเฝือกภายในช่องปากด้วยอะคริลิกทันตกรรมเพื่อดามกระดูกขากรรไกรล่างหัก

Show simple item record

dc.contributor.advisor ชนินทร์ กัลล์ประวิทธ์ en_US
dc.contributor.author ภัทรกฤษณ์ จงไพบูลย์พัฒนะ en_US
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์ en_US
dc.date.accessioned 2015-06-24T06:37:27Z
dc.date.available 2015-06-24T06:37:27Z
dc.date.issued 2556 en_US
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43351
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 en_US
dc.description.abstract การศึกษานี้ มีจุดประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อเปรียบเทียบแรงจากการถ่วงน้ำหนักระหว่างการมัดลวดเพียงอย่างเดียวกับการมัดลวดร่วมกับการใส่อะคริลิกทันตกรรม 2) เพื่อทดสอบการอักเสบของเนื้อเยื่อในช่องปาก 3) เพื่อติดตามผลการรักษาในสัตว์ป่วยที่รักษาด้วยวิธีการดามเฝือกภายในช่องปากด้วยการมัดลวดร่วมกับอะคริลิก การศึกษาได้แบ่งเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 ทำการศึกษาในซากส่วนหัวของสุนัข 7 ตัว เพื่อเปรียบเทียบแรงจากการถ่วงน้ำหนักระหว่าง 2 วิธี ได้แก่ การมัดลวดเพียงอย่างเดียว และการมัดลวดร่วมกับการใส่อะคริลิก โดยถ่วงน้ำหนัก 1, 2 และ 3 กิโลกรัม เป็นเวลา 10 นาที หลังจากนั้น ถ่ายภาพทางรังสีวิทยาด้านข้างเพื่อนำช่องระหว่างรอยหักไปวัด และนำไปคำนวณแรงด้วยกฎของโมเมนตัมและสมดุลแรง แรง S1 คือ แรงที่ได้จากการมัดลวดเพียงอย่างเดียว และแรง S2 คือ แรงที่ได้จากการมัดลวดร่วมกับการใส่อะคริลิก โดยใช้ paired t-test ในการทดสอบ ผลจากการศึกษานี้นั้น แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) (-22.76 และ -3.58) ระยะที่ 2 ทำการศึกษาในสุนัขทดลอง 3 ตัว โดยการใส่อะคริลิกทันตกรรมที่บริเวณฟันเขี้ยวด้านบน และทำการตรวจการอักเสบของเหงือกในวันที่ 1, 2, 3, 7 และ 14 หลังการใส่ ผลการทดสอบพบว่า ไม่มีการอักเสบของเนื้อเยื่อหรือมีการอักเสบของเนื้อเยื่อเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ระยะที่ 3 ศึกษาในสุนัขป่วย 2 ตัว ที่มีการหักของขากรรไกรล่างส่วน body สุนัขได้รับการดามกระดูกด้วยการมัดลวดร่วมกับการใส่อะคริลิกทันตกรรม หลังจากการใส่ 2 เดือน พบว่ามีการพอกของกระดูก และหลังการใส่ 4 เดือน พบว่า กระดูกมีการเชื่อมกัน จากการศึกษานี้ สรุปได้ว่า การดามกระดูกด้วยการมัดลวดร่วมกับการใส่อะคริลิกทันตกรรมสามารถรับแรงได้มากกว่าการมัดลวดเพียงอย่างเดียวและอะคริลิกทันตกรรมไม่เหนี่ยวนำให้เนื้อเยื่อในบริเวณที่ใส่เกิดการอักเสบภายใน 14 วัน และการดามกระดูกด้วยวิธีนี้ ช่วยจัดการปัญหาการหักของขากรรไกรล่างส่วน body ได้ดี en_US
dc.description.abstractalternative The objectives of this study were 1) to compare force from weight load of interdental wiring with that form interdental wiring together with dental acrylic 2) to test tissue inflammation when use dental acrylic in the oral cavity 3) to follow up the cases using the intraoral splint together with dental acrylic. This study was divided into 3 phases. The 1st phase was the experiment in seven cadaver skulls to compare force from weight loading of the 2 techniques; interdental wiring and interdental wiring together with dental acrylic, with 1, 2 and 3 kilogram bar for 10 minutes. The evaluation was done by measuring the gap between fracture line using lateral radiography. The force was calculated from the gap according to momentum and force balance law. Force after the interdental wiring technique (S1) and force after intraoral acrylic splint together with interdental wiring (S2) were compared by paired t-test. The results from this study show significant difference (P<0.05) (-22.76 and -3.58 respectively). The 2nd phase, upper canine teeth of 3 lab dogs were banded with dental acrylic for 14 days. Then the gum was checked for inflammation at days 1, 2, 3, 7 and 14. There was very mild or no inflammation. The 3rd phase, mandibular body fractures of 2 dogs were treated with intraoral splint together with dental acrylic. Both had progressive bone healing at 2 months and clinical bone union at 4 months after surgery. In conclusion, the intraoral splint together with dental acrylic can sustain load more than interdental wiring alone. Dental acrylic did not induce inflammation of oral tissue during 14 postoperative days. The intraoral splint together with dental acrylic is useful for repairing stable mandibular body fracture. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.762
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject เรซินอะคริลิกทางทันตกรรม
dc.subject ขากรรไกรล่าง -- ศัลยกรรม
dc.subject เนื้อเยื่อ
dc.subject Dental acrylic resins
dc.subject Mandible -- Surgery
dc.subject Tissues
dc.title การเข้าเฝือกภายในช่องปากด้วยอะคริลิกทันตกรรมเพื่อดามกระดูกขากรรไกรล่างหัก en_US
dc.title.alternative INTRAORAL SPLINT WITH DENTAL ACRYLIC FOR MANDIBULAR STABILITY en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline ศัลยศาสตร์ทางสัตวแพทย์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor chanin.k@chula.ac.th en_US
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2013.762


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record