DSpace Repository

การมีบุตรและการทำงานของผู้หญิง กรณีศึกษาสังคมเกษตรกรรม อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.advisor นพพล วิทย์วรพงศ์ en_US
dc.contributor.author ปัญจพล บิณกาญจน์ en_US
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์ en_US
dc.date.accessioned 2015-06-24T06:39:12Z
dc.date.available 2015-06-24T06:39:12Z
dc.date.issued 2556 en_US
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43542
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 en_US
dc.description.abstract วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลกระทบของการมีลูกต่อการทำงานในภาคเกษตรกรรมของผู้หญิงที่สมรสแล้วในชนบท โดยกำหนดให้การตัดสินใจทำงานในหรือนอกภาคเกษตรกรรมและการมีลูกถูกตัดสินใจพร้อมๆกัน และในมุมมองของผู้หญิงที่สมรสแล้วกิจกรรมทั้งสองสามารถแยกออกจากกันได้ ทั้งนี้ข้อมูลโครงการนางรองถูกนำมาใช้สำหรับศึกษา ซึ่งจัดเก็บและสำรวจโดย Carolina Population Center แห่ง The University of North Carolina at Chapel Hill สำรวจที่อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ทั้งสิ้น 3 รอบ คือ พ.ศ. 2527 2537 และ 2543 สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ ผู้หญิงที่สมรสแล้วที่มีอายุ 15-29 ปีในแต่ละรอบของการสำรวจ มีจำนวนทั้งสิ้น 2,691 ตัวอย่าง และแบบจำลองทางเศรษฐมิติที่ใช้สำหรับศึกษา คือ Recursive Bivariate Probit Model โดยกำหนดให้ อายุของภรรยา ตัวแปรหุ่นแทนการมีลูกที่มีอายุ 0-2 และ 3-5 ปี และสัดส่วนของผู้สูงอายุหญิงในครัวเรือนเป็นตัวแปรเครื่องมือ (Instrument Variables) ของการมีลูก เนื่องจากตัวแปรข้างต้นมีนัยสำคัญทางสถิติต่อการอธิบายการมีลูก แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติต่อการอธิบายการทำงานในภาคเกษตรกรรมของผู้หญิงที่สมรสแล้ว นอกจากนี้วิทยานิพนธ์ฉบับยังได้ทำการทดสอบความแข็งแรงของ Recursive Bivariate Probit Model ที่เลือกใช้ (Robustness Check) ด้วยการเปรียบเทียบผลการศึกษาที่ได้กับแบบจำลองทางเศรษฐมิติอื่นๆ โดยมีหลักการเปรียบเทียบดังนี้ กรณีที่หนึ่ง ใช้กลุ่มตัวอย่างเดิมแต่เปลี่ยนแบบจำลองเป็น Switching Probit Model พบว่า Recursive Bivariate Probit Model ให้ผลการศึกษาที่เสถียรกว่า กรณีที่สอง คือ ใช้แบบจำลองเดิมแต่เปลี่ยนกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้หญิงที่สมรสแล้วที่มีอายุ 15-45 ปีในแต่ละรอบของการสำรวจ พบว่าผลการศึกษาที่ได้ระหว่างสองกลุ่มตัวอย่างไม่แตกต่างกัน และกรณีสุดท้าย คือ ใช้กลุ่มตัวอย่างแบบ Panel ด้วย Bivariate Random Effects Probit Model ปรากฏว่าผลการศึกษาแบบ Panel ไม่มีความคงเส้นคงวา เพราะจำนวนรอบของกลุ่มตัวอย่างที่ใช้สั้นเกินไป เป็นต้น ผลการศึกษาของ Recursive Bivariate Probit Model พบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรมีลูกและการทำงานในภาคเกษตรกรรมของกลุ่มตัวอย่าง ในเชิงผกผัน กล่าวคือ หากตัวอย่างตัดสินใจมีลูกความน่าจะเป็นในการตัดสินใจทำงานในภาคเกษตรกรรมจะลดลง ประมาณ 0.2567 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 เนื่องจากข้อจำกัดเกี่ยวกับการจัดสรรปัจจัยเวลาและแรงงานของผู้หญิงที่สมรสแล้วในการทำกิจกรรมทั้งสอง กล่าวคือการเลี้ยงดูลูกต้องใช้ทั้งปัจจัยเวลาและแรงงานเข้มข้น เช่นเดียวกับการทำงานในภาคเกษตรกรรม เช่น การทำนา การทำไร่มันสำปะหลัง หรือการทำไร่อ้อย ที่ต้องการทั้งเวลาและแรงงานในการทำงานเหมือนกัน ดังนั้น หากผู้หญิงที่สมรสแล้วตัดสินใจมีลูก โอกาสในการทำงานในภาคเกษตรกรรมลดลง ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ต้องการนำเสนอมีสองแนวทาง กล่าวคือ หากรัฐมีเป้าหมายในการสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร และเล็งเห็นภาคเกษตรกรรมมีความสำคัญ โดยเฉพาะการใช้แรงงานผู้หญิงในภาคเกษตรกรรม รัฐควรออกนโยบายในการลดต้นทุนการมีลูก หรือ หากรัฐต้องการเพิ่มจำนวนประชากร ผ่านการออกมาตรการทางด้านแรงงาน รัฐควรส่งเสริมการทำงานนอกภาคเกษตรกรรม โดยเฉพาะกับผู้หญิงที่สมรสแล้ว en_US
dc.description.abstractalternative This thesis investigates the relationship between fertility and the decision to work in an agricultural sector among married women in a rural society in Thailand. It assumes having a child and working in an agricultural sector are simultaneously determined and separable. Data used in this thesis come from the Nang Rong Project conducted by the Carolina Population Center of the University of North Carolina at Chapel Hill. The Nang Rong Project took place in Nang Rong which is a district in Buriram in northeast Thailand and the data were collected three times: in 1984, 1994, and 2000. The final sample consists of 2,691 married women aged between 15 and 29 in each period of the survey. A Recursive Bivariate Probit Model is used. The age which the wife was married, the dummy variables for having a child between 0-2, and between 3-5 years of age and the proportion of female elders to total elders in the household are used as instrumental variables to minimize endogeneity bias. The thesis also provides the robustness checks. There are three ways. First, an alternative Switching Probit Model is used with the same sample. The results from the two models are not indifferent but a Recursive Bivariate Probit Model is more stable than Switching Probit Model. Second, a different sample is used with Recursive Bivariate Probit Model. The result shows that the estimated parameters of the two samples share the same signs. The last robustness check is to use a Panel data sample (in place of the pooled sample) and to run Bivariate Random Effects Probit Model. However, the estimates are possibly inconsistent because the period of the sample is too short (3 years). Therefore, it is concluded that the Recursive Bivariate Probit Model with the pooled sample is the most appropriate. The results of the Recursive Bivariate Random Effects Model show that fertility and the decision to work in the agricultural sector are significantly and negatively correlated. Having a child significantly reduces the probability to work in the agricultural sector by 0.2567. This is because the two activities require time and are labor intensive. If a married woman decides to have a child, she has to devote time and labor to bearing and rearing, while working in a farm also requires a lot of time, compared to work outside the agricultural sector. The thesis proposes two policy implications. If the government wishes to have food security, the government should devise a policy that reduces the cost of having a child. Alternatively, if the government is interested in increasing the fertility rate, the government should support marriage women working in finding a job outside the agricultural sector. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1010
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject เกษตรกรสตรี
dc.subject เกษตรกรรม -- แง่สังคม
dc.subject ครอบครัวชนบท
dc.subject Women farmers
dc.subject Agriculture -- Social aspects
dc.subject Rural families
dc.title การมีบุตรและการทำงานของผู้หญิง กรณีศึกษาสังคมเกษตรกรรม อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative FERTILITY AND FEMALE LABOR SUPPLY IN AN AGRICULTURAL SOCIETY IN NANG RONG DISTRICT, BURI RAM PROVINCE en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline เศรษฐศาสตร์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Nopphol.W@Chula.ac.th en_US
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2013.1010


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record