dc.contributor.advisor |
อิศราวัลย์ บุญศิริ |
|
dc.contributor.author |
เฉลิมศักดิ์ สิริวิชัย |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2007-10-10T06:38:16Z |
|
dc.date.available |
2007-10-10T06:38:16Z |
|
dc.date.issued |
2543 |
|
dc.identifier.isbn |
9741301758 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4354 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 |
en |
dc.description.abstract |
ปัจจุบันมีการใช้เรซินซีเมนต์ในการยึดชิ้นงานบูรณะชนิดติดแน่นเพิ่มมากขึ้น และมีการแนะนำเรซินซีเมนต์ชนิดใหม่เข้ามาใช้ในทางคลีนิคหลายชนิด การศึกษานี้เปรียบเทียบแรงยึดเฉือนระหว่างเรซินซีเมนต์ 5 ชนิด ได้แก่ เอบีซี คาลิบรา พานาเวียเอฟ รีไลเอ็กซ์อาร์ค และ ซูเปอร์บอนด์ซีแอนด์บี กับโลหะผสมนิเกิล โครเมียม โมลิบดีนัม เบอริลเลียม และเพื่อศึกษาผลกระทบของการใช้ไพรเมอร์ 2 ชนิด ได้แก่ เมตาฟาสต์ และอัลลอยไพรเมอร์ ต่อแรงยึดเฉือน ชิ้นโลหะผสมทรงกระบอก 2 ขนาด เส้นผ่าศูนย์กลาง 7 และ 9 มิลลิเมตร หนา 2 มิลลิเมตร 225 คู่ ทำการเป่าทรายด้วยอลูมินัมออกไซด์ 50 ไมครอน ทำความสะอาดด้วยเครื่องอุลตราโซนิคทำการปรับสภาพด้วยไพรเมอร์ชนิดต่างๆ 2 ชนิด แล้วนำมายึดติดกันด้วยเรซินซีเมนต์ชนิดต่างๆ 5 ชนิด นำไปแช่น้ำกลั่น 24 ชั่วโมง แล้วนำมาทดสอบแรงยึดเฉือนด้วยเครื่องลอยด์อินสตรูเมนต์ บันทึกค่าแรงยึดเฉือนและลักษณะการแตกหัก จากการวิเคราะห์ความแปรปรวนพบว่า ปัจจัยชนิดของเรซินซีเมนต์ และปัจจัยการใช้ไพรเมอร์มีอิทธิพลต่อแรงยึดเฉือนอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) จากการเปรียบเทียบเชิงซ้อนด้วยวิธีของ Tukey HSD พบว่าเมื่อไม่คำนึงถึงการใช้ไพรเมอร์ เรซินซีเมนต์พานาเวียเอฟ และซูเปอร์บอนด์ซีแอนด์บี มีแรงยึดเฉือนเฉลี่ยสูงกว่าเรซินซีเมนต์ 3 ชนิดที่เหลืออย่างมีนัยสำคัญ เรซินซีเมนต์พานาเวียเอฟมีแรงยึดเฉือนเฉลี่ยไม่แตกต่างกับซูเปอร์บอนด์ซีแอนด์บีอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อไม่คำนึงถึงชนิดของเรซินซีเมนต์ การใช้เรซินซีเมนต์ร่วมกับอัลลอยไพรเมอร์หรือเมตาฟาสต์ ทำให้แรงยึดเฉือนเฉลี่ยสูงกว่าไม่ใช้ไพรเมอร์อย่างมีนัยสำคัญ การใช้เรซินซีเมนต์ร่วมกับอัลลอยด์ไพรเมอร์ไม่แตกต่างกับการใช้เรซินซีเมนต์ร่วมเมตาฟาสต์อย่างมีนัยสำคัญ จากการทดสอบไคสแควร์พบว่าลักษณะการแตกหักมีความสัมพันธ์กับการใช้ไพรเมอร์อย่างมีนัยสำคัญในเรซินซีเมนต์ทุกชนิดยกเว้นคาลิบรา แรงยึดเฉือนเฉลี่ยของลักษณะการแตกหักแบบผสม สูงกว่าลักษณะการแตกหักระหว่างพื้นผิวในเรซินซีเมนต์ทุกชนิดแต่มีนัยสำคัญกับเรซินซีเมนต์รีไลเอ๊กซ์อาร์คเท่านั้น |
en |
dc.description.abstractalternative |
Nowadays resin cements have been used for cementing fixed restorations increasingly. Many new resin cements have been introduced for clinical applications. This study compared shear bond strength of 5 resin cements ABC, Calibra, Panavia F, RelyX ARC and Super-Bond C&B to nickel-chromium-molybdenum-beryllium alloy and studied effect of 2 primers META FAST and ALLOY PRIMER on shear bond strength. Two sizes of alloy cylinders, diameter 7 and 9x2 millimeters thickness, 225 pairs sandblasted with 50 micron aluminum oxide, cleaned with ultrasonic cleaner, conditioned with 1 of 2 primers and bonded with 1 of 5 resin cements. After storing in distilled water for 24 hours, shear bond strength testing was performed with Lloyd instrument. Shear bond strength and mode of failure were recorded. Analysis of variances revealed significant effect on shear bond strength from type of resin cements and primer applications (P<0.05). Not regarding to primer applications, Tukey HSD's multiple comparison showed Panavia F and Super-Bond C&B yielded significantly higher mean shear bond strength than the other 3 resin cements. Panavia F showed insignificant difference in mean shear bond strength with Super-Bond C&B. Not regarding to type of resin cements, using resin cement with ALLOY PRIMER or META FAST yielded significantly higher mean shear bond strength than using resin cement with no primer. Using resin cement with ALLOY PRIMER yielded insignificant difference in mean shear bond strength with using resin cement with META FAST. Chi-square test revealed significant relation between mode of failure and primer applications in all resin cements except Calibra. Mean shear bond strength of mixture adhesive and cohesive failure founded higher than mean shear bond strength of adhesive failure in all resin cements but significant difference with RelyX ARC only. |
en |
dc.format.extent |
2084879 bytes |
|
dc.format.mimetype |
application/pdf |
|
dc.language.iso |
th |
en |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.14457/CU.the.2000.380 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.subject |
แรงเฉือน (กลศาสตร์) |
en |
dc.subject |
ซีเมนต์ทางทันตกรรม |
en |
dc.subject |
เรซินทางทันตกรรม |
en |
dc.subject |
การยึดติดทางทันตกรรม |
en |
dc.title |
แรงยึดเฉือนของเรซินซีเมนต์ 5 ชนิดกับโลหะผสมนิเกิล โครเมียม โมลิบดีนัม เบอริลเลียม |
en |
dc.title.alternative |
Shear bond strength of 5 resin cements to nickel-chromium-molybdenum-beryllium alloy |
en |
dc.type |
Thesis |
en |
dc.degree.name |
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
en |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
en |
dc.degree.discipline |
ทันตกรรมประดิษฐ์ |
en |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.email.advisor |
Issarawon.B@chula.ac.th |
|
dc.identifier.DOI |
10.14457/CU.the.2000.380 |
|