DSpace Repository

ผลกระทบต่อชีวิตครอบครัวของสตรีทำงานนอกบ้าน : ศึกษากรณีของอาจารย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Show simple item record

dc.contributor.advisor นิเทศ ตินณะกุล
dc.contributor.author พัชรมณี สุดรัก
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
dc.coverage.spatial ไทย
dc.date.accessioned 2007-10-12T09:21:21Z
dc.date.available 2007-10-12T09:21:21Z
dc.date.issued 2543
dc.identifier.isbn 9743464522
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4374
dc.description วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 en
dc.description.abstract การวิจัยเรื่อง "ผลกระทบต่อชีวิตครอบครัวของสตรีทำงานนอกบ้าน:ศึกษากรณีของอาจารย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อครอบครัวจากการทำงานนอกบ้านของอาจารย์ประจำสตรีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจำนวน 100 ชุดด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling และการสัมภาษณ์เจาะลึก (In-depth Interview) จำนวน 10 คน ที่ไม่ใช่กลุ่มประชากร 100 คน ที่ตอบแบบสอบถาม เพื่อรวบรวมข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ จากนั้นนำมาวิเคราะห์หาค่าทางสถิติ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (SPSS/PC)(statistcal package for the social science) ซึ่งแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ สถิติเชิงพรรณนา (descriptive statistics) ในการพรรณนาลักษณะข้อมูลที่รวบรวมได้จากกลุ่มประชากร เช่น ร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) กับสถิติอ้างอิง (infer statistics) ในการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระ กับตัวแปรตาม โดยใช้ค่าไคสแควร์ (chi-square) และมีระดับนัยสำคัญที่ 0.05 เพื่อทดสอบสมมติฐาน 5 ข้อดังนี้ 1. อาจารย์ที่มีอายุมากจะเลี้ยงดูบุตรได้ดีกว่าอาจารย์ที่มีอายุน้อย 2. อาจารย์ที่มีการศึกษาสูงจะเลี้ยงดูบุตรได้ดีกว่าอาจารย์ที่มีการศึกษาต่ำ 3. อาจารย์ที่ไม่มีต่ำแหน่งบริหารจะเลี้ยงดูบุตรได้ดีกว่าอาจารย์ที่มีตำแหน่งบริหาร 4. อาจารย์ที่มีบุตรน้อยจะเลี้ยงดูบุตรได้ดีกว่าอาจารย์ที่มีบุตรมาก 5 อาจารย์ที่มีรายได้มากจะเลี้ยงดูบุตรได้ดีกว่าอาจารย์ที่มีรายได้น้อย ผลการวิจัยพบว่า การมีตำแหน่งบริหาร ส่งผลกระทบต่อบทบาทการเป็นมารดาจึงยอมรับสมมติฐานข้อ 3 สำหรับตัวแปร อายุ การศึกษา จำนวนบุตร และรายได้นั้นไม่ส่งผลกระทบต่อบทบาทการเป็นมารดา จึงปฏิเสธสมมติฐานข้อ 1, ข้อ 2, ข้อ 4, และข้อ 5 en
dc.description.abstractalternative The objective of this research was to study the effect on family life of working women. By using simple random sampling method, 100 professors from Chulalongkorn University were selected to answer the questionairs. In addition other 10 professors were selected for in-depth interview. Analysis of data was conducted using SPSS program to calculate percentage, means and chi-square at the significant level of 0.05. The hypotheses of this research were as followed: 1. Older professors take care their children better than younger professors. 2. Higher educated professors take care their children better than lower educated professors. 3. Professors without administrative positions take care their children better than professors with administrative positions. 4. Professors with less children take care their children better than professors with more children. 5. Professors with higher income take care their children better than professors with lower income. The result of the research were accepted hypothesis number3 and rejected hypothesis number 1, 2, 4 and 5. en
dc.format.extent 1025949 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th en
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject สตรี -- ไทย en
dc.subject สตรี -- การจ้างงาน en
dc.subject ครอบครัว en
dc.subject จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย -- อาจารย์ en
dc.title ผลกระทบต่อชีวิตครอบครัวของสตรีทำงานนอกบ้าน : ศึกษากรณีของอาจารย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.title.alternative The effect on family life of working women : a case study of Chulalongkorn University Professors en
dc.type Thesis en
dc.degree.name สังคมวิทยามหาบัณฑิต en
dc.degree.level ปริญญาโท en
dc.degree.discipline สังคมวิทยา en
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor Nithet.T@Chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record