DSpace Repository

วัฒนธรรมบริโภคนิยมกับอาหารเพื่อสุขภาพในบริบทสังคมเมือง

Show simple item record

dc.contributor.advisor อมรา พงศาพิชญ์
dc.contributor.author ธนภูมิ อติเวทิน
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
dc.date.accessioned 2007-10-12T09:23:45Z
dc.date.available 2007-10-12T09:23:45Z
dc.date.issued 2543
dc.identifier.isbn 9741302118
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4375
dc.description วิทยานิพนธ์ (มน.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 en
dc.description.abstract ศึกษาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพและบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ ภายใต้บริบทสังคมเมือง ในด้านการรับรู้มุมมองต่อตนเองจากการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ อิทธิพลจากกระแสวัฒนธรรมบริโภคนิยมสมัยใหม่ รวมถึงศึกษาแนวโน้มการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพในอนาคต ทั้งนี้โดยศึกษาจากการรวบรวมข้อมูลทางเอกสารของผลิตภัณฑ์ และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกในกลุ่มตัวอย่างจำนวน 24 รายที่มีอายุอยู่ในช่วงตั้งแต่ 41-55 ปี สำเร็จการศึกษาขั้นต่ำในระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 1 ปี ทั้งนี้ จำแนกกลุ่มตัวอย่างตามกลุ่มอาชีพแบ่งเป็น 3 กลุ่มๆ ละ 8 ราย ภายในแต่ละกลุ่มย่อยจะจำแนกตามกลุ่มที่มีรายได้สูง ตั้งแต่ 30,000 บาทขึ้นไป 4 ราย และกลุ่มที่มีรายได้ต่ำกว่า 30,000 บาทอีก 4 ราย รวมทั้งหมดจาก 24 รายจะประกอบด้วยกลุ่มผู้มีรายได้สูง 12 รายและรายได้ต่ำกว่าอีก 12 ราย ผลการศึกษาพบว่า การบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพเป็นทางเลือกหนึ่งที่สำคัญ ในการดูแลรักษาสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรง มีอายุที่ยืนยาว และเพื่อชดเชยความต้องการสารอาหารที่จำเป็นของร่างกายในแต่ละวัน เนื่องจากข้อจำกัดต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายใต้การดำเนินชีวิตประจำวันในสังคมเมือง ที่ส่งผลต่อการดูแลสุขภาพของตนเอง การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพยังสะท้อนให้เห็นถึงการจัดการร่างกาย ในรูปของโครงการและทุนทางร่างกายเพื่อให้เกิดประโยชน์ในอนาคตต่อไป ทั้งนี้ปัจจัยที่มีบทบาทในการบริโภคก็คือ อิทธิพลจากบุคคลแวดล้อมรอบข้างและการสร้างภาพ ให้เกิดความคล้อยตามจากสื่อหรือการโฆษณา ทั้งนี้ ผู้บริโภคยังมีความต้องการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ อย่างต่อเนื่องต่อไปในอนาคต ขณะเดียวกันก็พยายามแสวงหาทางเลือกอื่นๆ เพื่อดูแลรักษาสุขภาพร่างกายควบคู่ไปด้วย en
dc.description.abstractalternative To study consumers' self concept and self identification in consuming health food and factors influencing decision-making and selection of health food behavior are also examined. Data were collected from product brochures and in-depth interviews with 24 persons of ages ranged from 41 to 55 years old. Key informants have academic background of at least bachelor degree and continuous product consumption of at least one year. Informants were divided into three subgroups based on gender, occupation, and monthly income (greater than 30,000 baht and less than 30,000 baht). The result shows that consumer choose health food to maintain good health and long lives or to compensate for daily nutritional needs. Urban way-of-life limits individuals' ability to properly maintain good health. Health food consumption then creates body images in the forms of body projects and body capital. Factors affecting consumption behavior are from surrounded people and advertisements. Moreover, informants show intention to continue toconsume health food while seeking for alternatives ways to maintain good health. en
dc.format.extent 3545731 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th en
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject บริโภคกรรม en
dc.subject บริโภคศึกษา en
dc.subject อาหารเพื่อสุขภาพ en
dc.subject อาหารเสริม en
dc.subject สังคมเมือง en
dc.subject การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง en
dc.title วัฒนธรรมบริโภคนิยมกับอาหารเพื่อสุขภาพในบริบทสังคมเมือง en
dc.title.alternative Consumer culture and health food in an urban context en
dc.type Thesis en
dc.degree.name มานุษยวิทยามหาบัณฑิต en
dc.degree.level ปริญญาโท en
dc.degree.discipline มานุษยวิทยา en
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor amara.p@chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record