dc.contributor.advisor |
กรกรัณย์ ชีวะตระกุลพงษ์ |
en_US |
dc.contributor.author |
สุเมธ อุดมกิจ |
en_US |
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์ |
en_US |
dc.date.accessioned |
2015-06-24T06:45:59Z |
|
dc.date.available |
2015-06-24T06:45:59Z |
|
dc.date.issued |
2556 |
en_US |
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43963 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 |
en_US |
dc.description.abstract |
อุตสาหกรรมอาหารเป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจไทย เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ในระดับสูง อีกทั้งอาศัยปัจจัยการผลิตจากภายในประเทศตลอดห่วงโซ่อุปทาน การค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมอาหารพบว่ามีการขยายตัวอย่างรวด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การค้าระหว่างไทยกับกลุ่มประเทศอาเซียน โดยไทยส่งออกสินค้าในอุตสาหกรรมอาหารไทยยังกลุ่มประเทศอาเซียนสูงที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับภูมภาคอื่นๆ ของโลก ซึ่งประเทศในกลุ่มอาเซียนมีสัดส่วนการนำเข้าสินค้าในอุตสาหกรรมอาหารจากประเทศไทยมากที่สุด อย่างไรก็ตาม ลักษณะการค้าของอุตสาหกรรมดังกล่าวปรากฏทั้งการส่งออกและการนำเข้า อันเป็นลักษณะของการค้าภายในอุตสาหกรรมเดียวกัน (IIT) ผู้วิจัยจึงมีความสนใจในการศึกษาถึงลักษณะและปัจจัยกำหนดการทำการค้าภายในอุตสาหกรรมเดียวกันของอุตสาหกรรมอาหารระหว่างไทยกับกลุ่มประเทศอาเซียน
ผู้วิจัยศึกษาสินค้าในกลุ่มอาหารของกลุ่มประเทศอาเซียน 5 แบ่งกลุ่มสินค้าตามพิกัดศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์ ในระดับ 2 ถึง 4 หลัก ครอบคลุมช่วงปี พ.ศ. 2545 – 2555 ศึกษาทั้งกลุ่มปัจจัยเฉพาะของประเทศและปัจจัยเฉพาะของอุตสาหกรรม วัดระดับการค้าภายในอุตสาหกรรมเดียวกันด้วยดัชนี Grubel-Lloyd (GL) และดัชนี Aquino (AQ) รวมทั้งแบ่งรูปแบบเป็นการค้าภายในอุตสาหกรรมเดียวกันในแนวตั้ง (VIIT) และแนวนอน (HIIT) ประมาณการแบบจำลองด้วยวิธี Fixed-Effects Panel Data
ผลการศึกษาพบว่า ระดับการค้าภายในอุตสาหกรรมเดียวกันของอุตสาหกรรมอาหารระหว่างไทยกับกลุ่มประเทศอาเซียนในช่วงปีที่ทำการศึกษามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ยกเว้นกรณีการค้ากับสิงคโปร์ ในขณะที่ระดับการค้าภายในอุตสาหกรรมเดียวกันระหว่างไทยกับมาเลเซียมีค่าสูงที่สุด โดยดัชนี GL สามารถสะท้อนมูลค่าการค้าภายในอุตสาหกรรมเดียวกันได้ดีกว่าดัชนี AQ ในขณะที่การแบ่งรูปแบบการค้าภายในอุตสาหกรรมเดียวกันพบว่าโดยส่วนใหญ่กลุ่มสินค้าในอุตสาหกรรมอาหารมีลักษณะ VIIT แบบคุณภาพต่ำ และกลุ่มสินค้าที่มีลักษณะ VIIT โดยส่วนใหญ่คือกลุ่มสินค้าแปรรูป ส่วนกลุ่มวัตถุดิบและสินค้าขึ้นกลางส่วนใหญ่เป็น HIIT ผลการศึกษาปัจจัยกำหนดฯ พบว่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอธิบายกับตัวแปรตามอันได้แก่ ดัชนี GL, AQ และสัดส่วน HIIT มีทิศทางคล้ายคลึงกัน และตรงกันข้ามกับทิศทางความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอธิบายกับสัดส่วน VIIT ตัวแปรอธิบายสำคัญที่มีนัยสำคัญทางสถิติได้แก่ ความแตกต่างการบริโภคไฟฟ้าต่อหัว ดัชนีมูลค่าการผลิตโดยเฉลี่ย และสัดส่วนรายการสินค้าอ่อนไหว |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
An Agri-food industry is the essential part of Thailand’s economy as the industry with high value added. It employs the production factors domestically all over the major of supply chain. The industry has rapid growth in the sense of international. Thailand most exports these commodities to ASEAN countries rather than the other regions in the world. This community, meanwhile, most import them from Thailand as well. By the way, the trade of agri-food industry exists exports and imports either, the feature which is called intra-industry trade (IIT). IIT has played important role as the new trade theory. Therefore I’d like to investigate how the IIT of agri-food industry is and what its determinants are.
This study has focused on the agri-food industry among ASEAN-5 countries which let Thailand as the focal country. The industry is classified by Harmonized System (HS) into 2-4 digits. It covers the period of 2003 – 2012. The determinants are included both country and industry specific determinants. Share of IIT is measured by Grubel-Lloyd index (GL) and Aquino index (AQ). Moreover, it has the disentangling of IIT to be Vertical (VIIT) and Horizontal (HIIT). Finally, I estimate the model with using Fixed-Effects panel data method.
The results of this study show that the level of IIT in agri-food industry between Thailand and ASEAN countries has increased during the period but except the case of the trade with Singapore that has decreased. The highest value of IIT is between Thailand and Malaysia. GL index could efficiency reflect the level of IIT rather than AQ index. Mostly of agri-food categories exist low quality VIIT feature. Final goods tend to be VIIT while raw materials and intermediate goods seem to be HIIT. The relation between explanatory variables and dependent variables, including GL, AQ and share of HIIT, has the similar direction but opposite is with VIIT one. The important significant determinants are power consumption per capita differentiation, average production value index as well as share of commodities in the sensitive list. |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1416 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
อุตสาหกรรมอาหาร |
|
dc.subject |
การค้าระหว่างประเทศ |
|
dc.subject |
กลุ่มประเทศอาเซียน |
|
dc.subject |
Food industry and trade |
|
dc.subject |
International trade |
|
dc.subject |
ASEAN countries |
|
dc.title |
การศึกษาปัจจัยกำหนดการทำการค้าภายในอุตสาหกรรมเดียวกันของอุตสาหกรรมอาหาร ระหว่างประเทศไทยกับกลุ่มประเทศอาเซียน |
en_US |
dc.title.alternative |
THE DETERMINANTS OF INTRA-INDUSTRY TRADE IN AGRI-FOOD INDUSTRY BETWEEN THAILAND AND ASEAN COUNTRIES |
en_US |
dc.type |
Thesis |
en_US |
dc.degree.name |
เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต |
en_US |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
en_US |
dc.degree.discipline |
เศรษฐศาสตร์ |
en_US |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.email.advisor |
runechan@gmail.com |
en_US |
dc.identifier.DOI |
10.14457/CU.the.2013.1416 |
|