dc.contributor.advisor |
ไพวิภา กมลรัตน์ |
|
dc.contributor.author |
คมกฤช ลออธนกุล |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2015-07-17T02:32:35Z |
|
dc.date.available |
2015-07-17T02:32:35Z |
|
dc.date.issued |
2555 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44057 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 |
en_US |
dc.description.abstract |
การศึกษาหาความเร็วในการไหลของเลือดที่เลี้ยงไตด้วยอัลตราซาวด์ชนิดดอปเปลอร์ เพื่อใช้เป็นเทคนิคใหม่ในการวินิจฉัยสุนัขป่วยด้วยโรคไต สุนัขจำนวน 50 ตัว แบ่งเป็น 2 กลุ่มๆละ 25 ตัว ได้แก่ สุนัขปกติ (น้ำหนัก (W): 3.2-24 กก.; ค่าครีอะตินีนในเลือด (Cr): 0.6-1.2 มก./ดล. อัตราส่วนโปรตีนต่อครีอะตินีนในปัสสาวะ (UPC): 0.02-0.4) และสุนัขโรคไต (W: 2.4-31 กก.; Cr: 2.4-14 มก./ดล.; UPC: 0.8-15.8) ทำการตรวจอัลตราซาวด์ไตทั้งสองข้างในท่านอนตะแคง ตรวจภาพในโหมดบีเพื่อวัดขนาดไตและหลอดเลือดที่เลี้ยงไต และในโหมดดอปเปลอร์ชนิดสีและคลื่นพัลส์เพื่อวัดความเร็วในการไหลของเลือดขณะหัวใจบีบตัวเต็มที่ (PSV) และคลายตัวเต็มที่ (EDV) เพื่อคำนวณหาค่าความต้านทานของหลอดเลือดแดงอินเตอโลบาร์ (RI) อัตราส่วนความเร็วในการไหลของเลือดในหลอดเลือดแดงไตต่อในเอออร์ตา (RAR) และอัตราส่วนความเร็วในการไหลของเลือดในหลอดเลือดแดงไตต่อในหลอดเลือดแดงอินเตอโลบาร์ (RIR) ผลการศึกษาพบว่า เอออร์ตา (Ao) ต่อน้ำหนักตัว หลอดเลือดแดงไต (RA) และหลอดเลือดแดงอินเตอโลบาร์ (IA) ของสุนัขทั้งสองกลุ่มมีขนาดไม่แตกต่างกัน (p>0.05) สุนัขปกติมีค่า PSV ของ Ao, RA และ IA เท่ากับ 144.89±39.73, 85.67±21.41, และ 52.59±14.90 ซม./วินาที และค่า EDV ของ Ao, RA และ IA เท่ากับ 21.13±7.50, 22.91±6.69, และ 16.33±6.12 ซม./วินาที ตามลำดับ ในสุนัขโรคไตมีค่า PSV ของ Ao, RA และ IA เท่ากับ 126.49±31.21, 67.80±19.63, และ 27.72±10.16 ซม./วินาที และค่า EDV ของ Ao, RA และ IA เท่ากับ 20.99±8.46, 16.61±7.03, และ 9.38±2.71 ซม./วินาที ตามลำดับ ค่า RI ในสุนัขปกติและสุนัขโรคไต เท่ากับ 0.69±0.07 และ 0.64±0.08 ตามลำดับ โดยสุนัขโรคไตมีค่า RI ต่ำกว่าสุนัขปกติ และพบความสัมพันธ์เชิงลบระหว่างค่า RI กับ Cr (p<0.05) แต่ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างค่า RI กับ UPC (p>0.05) ค่า RAR ในสุนัขปกติและสุนัขโรคไต เท่ากับ 0.61±0.13 และ 0.55±0.17 ตามลำดับ ซึ่งไม่แตกต่างกันทางสถิติ และไม่มีความสัมพันธ์กับ Cr หรือ UPC (p>0.05) ส่วนค่า RIR ในสุนัขปกติและสุนัขโรคไต เท่ากับ 1.68±0.37 และ 2.69±1.06 ตามลำดับ โดยสุนัขโรคไตมีค่า RIR สูงกว่าสุนัขปกติ และพบความสัมพันธ์เชิงบวกกับ Cr และ UPC (p<0.05) ดังนั้น ค่า RIR ที่ได้จากการตรวจอัลตราซาวด์ชนิด ดอปเปลอร์จึงมีความเหมาะสมกว่า RI และ RAR สำหรับการศึกษาเพิ่มเติมถึงความเป็นไปได้ที่จะใช้เป็นค่าอ้างอิงทางคลินิกเพื่อวินิจฉัยโรคไตระยะแรกในสุนัข |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
Assessment of renal blood velocity by Doppler ultrasound as a new diagnostic technique was studied in dogs with renal diseases. Fifty dogs were divided equally into two groups of normal dog (weight (W): 3.2-24 kg; blood creatinine (Cr): 0.6-1.2 mg/dl; urinary protein : creatinine ratio (UPC): 0.02-0.4) and dogs with renal diseases (W: 2.4-31 kg; Cr: 2.4-14 mg/dl; UPC: 0.8-15.8). Ultrasonography of both kidneys was performed in lateral recumbency. Renal length and blood vessel diameters were obtained using B-mode. Color and pulsed wave Doppler modes were used to measure peak systolic velocity (PSV) and end diastolic velocity (EDV) for calculating resistive indexes of interlobar arteries (RI), renal aortic ratios (RAR), and renal interlobar ratios (RIR). The results indicated that diameters of aorta (Ao) per weight, renal arteries (RA), and interlobar arteries (IA) were not significantly different (p>0.05) between the two groups. In normal dogs, PSV of Ao, RA, and IA were 144.89±39.73, 85.67±21.41, and 52.59±14.90 cm/s; and EDV were 21.13±7.50, 22.91±6.69, and 16.33±6.12 cm/s, respectively. In dogs with renal diseases, PSV of Ao, RA, and IA were 126.49±31.21, 67.80±19.63, and 27.72±10.16 cm/s; and EDV were 20.99±8.46, 16.61±7.03, and 9.38±2.71 cm/s, respectively. RI of dogs with renal diseases (0.64±0.08) was significantly lower than of those normal dogs (0.69±0.07) (p<0.05). RI was found negatively correlated with Cr but UPC (p>0.05). RAR of normal dogs and dogs with renal diseases were 0.61±0.13 and 0.55±0.17, respectively, and were not significantly different. There was no correlation between RAR and Cr or UPC. RIR of normal dogs and dogs with renal diseases were 1.68±0.37 and 2.69±1.06, respectively. RIR was found positively correlated with both Cr and UPC (p<0.05). Thus, RIR assessed by Doppler ultrasound might be more suitable than RI and RAR to be used as a reference index for clinical diagnosis of early renal diseases in dogs. |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.407 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
สุนัข |
en_US |
dc.subject |
ไต -- โรค |
en_US |
dc.subject |
ดอปเปลอร์อัลตราโซโนกราฟี |
en_US |
dc.subject |
Dogs |
en_US |
dc.subject |
Kidneys -- Diseases |
en_US |
dc.subject |
Doppler ultrasonography |
en_US |
dc.title |
การหาความเร็วในการไหลของเลือดที่เลี้ยงไตด้วยอัลตราซาวด์ชนิดดอปเปลอร์ในสุนัขป่วยด้วยโรคไต |
en_US |
dc.title.alternative |
Assessment of renal blood velocity by doppler ultrasound in dogs with renal diseases |
en_US |
dc.type |
Thesis |
en_US |
dc.degree.name |
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
en_US |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
en_US |
dc.degree.discipline |
ศัลยศาสตร์ทางสัตวแพทย์ |
en_US |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.email.advisor |
Phiwipha.K@Chula.ac.th |
|
dc.identifier.DOI |
10.14457/CU.the.2012.407 |
|