Abstract:
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของลักษณะสมบูรณ์แบบนิยมต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและสุขภาวะทางจิต ของนิสิตระดับปริญญาตรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 270 คน ผู้ร่วมการวิจัยตอบมาตรวัดลักษณะสมบูรณ์แบบนิยมโดยแบ่งเป็นลักษณะสมบูรณ์แบบนิยมเชิงบวกและเชิงลบ มาตรวัดความพึงพอใจในชีวิต และมาตรวัดความรู้สึกทางบวกและความรู้สึกทางลบ โดยสลับลำดับการทำมาตรด้วยวิธีการสุ่ม ผลการวิเคราะห์พบว่า ลักษณะสมบูรณ์แบบนิยมสามารถทำนายสุขภาวะทางจิตได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 1.1. ลักษณะสมบูรณ์แบบนิยมเชิงบวกสามารถทำนายสุขภาวะทางจิตในทิศทางบวกได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และสามารถอธิบายความแปรปรวนของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทางได้ร้อยละ 11 (R2 = .11, β = 0.48, p < .001) 1.2. ลักษณะสมบูรณ์แบบนิยมเชิงลบสามารถทำนายสุขภาวะทางจิตในทิศทางลบได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และสามารถอธิบายความแปรปรวนของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทางได้ร้อยละ 21 (R2 = .21, β = -0.41, p < .001) 2. ลักษณะสมบูรณ์แบบนิยมสามารถทำนายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2.1. ลักษณะสมบูรณ์แบบนิยมเชิงบวกสามารถทำนายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในทิศทางบวกได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.001 และสามารถอธิบายความแปรปรวนของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้ร้อยละ 14 (R2 = .14, β = 0.43, p < .001) 2.2. ลักษณะสมบูรณ์แบบนิยมเชิงลบสามารถทำนายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในทิศทางลบได้อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ.001 และสามารถอธิบายความแปรปรวนของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้ร้อยละ 8 (R2 = .08, β = -0.36, p < .001)
Description:
โครงงานทางจิตวิทยานี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2556
A senior project submitted in partial fulfillment of the requirements for the Degree of Bachelor of Science in Psychology, Faculty of Psychology, Chulalongkorn University, Academic year 2013