dc.contributor.advisor |
ไพบูลย์ เตชะเลิศไพศาล |
|
dc.contributor.advisor |
พสุธา ธัญญะกิจไพศาล |
|
dc.contributor.author |
สุธาภา ศรีอรุโณทัย |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2015-08-14T08:15:57Z |
|
dc.date.available |
2015-08-14T08:15:57Z |
|
dc.date.issued |
2550 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44285 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 |
en_US |
dc.description.abstract |
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการยับยั้งเชื้อสเตร็ปโตคอกคัสมิวแทนส์ คุณสมบัติความทนแรงอัด ความหนาของแผ่นฟิล์ม การปลดปล่อยฟลูออไรด์ การดูดซึมน้ำ และสภาพการละลายของซีเมนต์กลาสไอโอโนเมอร์ที่ผสมเจลพอลิแซ็กคาไรด์จากเปลือกทุเรียน (พีจี) ในห้องปฏิบัติการ วัสดุและวิธีการ เตรียมสารกลุ่มทดลองโดยผสมพีจีกับส่วนผงของซีเมนต์กลาสไอโอโนเมอร์ ในอัตราส่วนร้อยละ 4.76 7.50 9.09 และ 12.50 โดยน้ำหนักตามลำดับ กลุ่มควบคุมลบ คือ กลุ่มที่ไม่ผสมพีจี และกลุ่มควบคุมบวก คือ กลุ่มที่ผสมผงแอมพิซิลลินในอัตราส่วนร้อยละ 4.76 โดยน้ำหนัก จากนั้นผสมส่วนผงที่เตรียมไว้กับส่วนเหลวตามอัตราส่วนและวิธีการที่บริษัทผู้ผลิตกำหนด ใส่ในแม่แบบรูปทรงกระบอกที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง (มิลลิเมตร) x สูง (มิลลิเมตร) ดังนี้ 3 x 2 เพื่อศึกษาผลการยับยั้งเชื้อ 4 x 6 เพื่อศึกษาการทนแรงอัด และ 9 x 1.5 เพื่อทดสอบสภาพการละลาย การดูดซึมน้ำ และการปลดปล่อยฟลูออไรด์ จำนวน 6 ชิ้นต่อกลุ่ม ทดสอบผลการยับยั้งด้วยเทคนิคบรอทไดลูชันเป็นเวลา 4 8 และ 24 ชั่วโมง ทดสอบความทนแรงอัดและความหนาของแผ่นฟิล์มตามมาตรฐานไอโซปี 2546 ทดสอบการละลายและการดูดซึมน้ำโดยคำนวนจากน้ำหนัก ทดสอบการปลดปล่อยฟลูออไรด์ด้วยการนำชิ้นงานแช่ในน้ำปราศจากอิออน วัดค่าการปลดปล่อยฟลูออไรด์ด้วยฟลูออไรด์อิเล็กโตรดที่ระยะเวลา 1 2 4 6 8 15 และ 22 วัน
ผลการศึกษาและสรุป ที่ระยะเวลา 8 ชั่วโมง ซีเมนต์ที่ผสมพีจีในอัตราส่วนร้อยละ 7.50 9.09 และ 12.50 มีผลยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อสเตร็ปโตคอกคัสมิวแทนส์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติประมาณร้อยละ 15 เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมลบ (P<0.05) โดยที่ระยะเวลา 24 ชั่วโมง พบประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อประมาณร้อยละ 5 ซึ่งไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบกับกลุ่มควบคุมลบ ในขณะที่กลุ่มควบคุมลบและกลุ่มที่ผสมพีจีอัตราส่วนร้อยละ 4.76 ไม่มีผลยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ กลุ่มที่ผสมพีจีอัตราส่วน 4.76 มีค่าความทนแรงอัด 60.37 เมกะปาสคาล ซึ่งมีค่ามากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ และผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานไอโซ ในขณะที่เมื่อผสมพีจีอัตราส่วนร้อยละ 7.50 9.09 และ 12.50 มีแนวโน้มค่าความทนแรงอัดน้อยลงตามลำดับ และไม่ผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานไอโซ กลุ่มที่ผสมพีจีอัตราส่วนร้อยละ 4.76 มีค่าเฉลี่ยความหนาของแผ่นฟิล์มเท่ากับ 15.8 + 9 ไมโครเมตร ซึ่งไม่มีความแตกต่างกับกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ และผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานไอโซ กลุ่มที่ผสมเจลอัตราส่วนร้อยละ 4.76 มีค่าการละลายเท่ากับ 10.47 x 10-3 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์มิลลิลิตร ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญกับกลุ่มควบคุมลบ กลุ่มที่ผสมเจลอัตราส่วนร้อยละ 4.76 มีค่าการดูดซึมน้ำเท่ากับ 0.143 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์มิลลิลิตร ซึ่งไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับกลุ่มควบคุม ขณะที่กลุ่มที่ผสมเจลอัตราส่วนร้อยละ 7.50 9.09 และ 12.50 มีสภาพการละลายสูงมากจนไม่สามารถชั่งน้ำหนักได้ กลุ่มควบคุมลบ และกลุ่มที่ผสมพีจีอัตราส่วนต่าง ๆ มีแนวโน้มการปลดปล่อยฟลูออไรด์คล้ายกัน คือ ในช่วงแรกมีการปลดปล่อยอย่างรวดเร็ว และในช่วงหลังมีการปลดปล่อยช้าลง |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
Objective: To investigate, in vitro, the antimicrobial effect and some physical properties of a mixture of glass-ionomer cement and polysaccharide gel from durian fruit-hulls against Streptococcus mutans. Materials and Methods: The experimental group were prepared as a mixture of polysaccharide gel from durian fruit-hulls for 4.76 7.50 9.09 and 12.50 percent by weight within the powder of glass-ionomer cement. Powder of glass-ionomer cement was used for negative control group, while a mixture of ampicillin for 4.76 percent by weight and glass-ionomer cement was used for positive control group. Thereafter, the substances were mixed with the liquid part followed the manufacturer’s instructions in the cylindrical mold. (3 mm[D] x 2 mm[H] for antimicrobial effect, 4 mm[D] x 6 mm[H] for compressive test, 9 mm[D] x 1.5 mm[H] for sorption test, solubility test and fluoride release test, n = 6) The antimicrobial activity was determined by using broth dilution technique at 4, 8 and 24 hours incubation. Compressive strength and film thickness were measured under the recommendation of the ISO 2003 9917-1. Water sorption and solubility were calculated by means of weighting the samples before and after water immersion and desiccation. Fluoride release was assessed by a potentiometric method from cement discs at 1, 3, 7, 14, 21 and 30 days interval. Results and conclusion: At 8 hours incubation, GI with 7.50%PG, 9.09%PG and 12.50%PG established an significant inhibitory effect (15% estimate) against S.mutans (p<.05). At 24 hours, They had 5% estimate inhibitory effect against S.mutans. Whereas, negative control group and GI with 4.76%PG showed no inhibitory effect against S.mutans. The compressive strength of GI with 4.76%PG was 60.37 MPa which was higher than the control group significantly and passed the requirement of ISO 2003. While the compressive strength of GI with 7.50%PG, 9.09%PG and 12.50%PG were lower consequently and fail the requirement of ISO 2003. Film thickness of GI with 4.76%PG was 15.8 + 9 µm which was lower than the control group significantly. Solubility of GI with 4.76%PG was 10.47 mg/mm3 which was lower than the control group significantly. Water sorption of GI with 4.76%PG was 0.143 mg/mm3. Fluoride release in all groups showed the high rate of releasing during the 1st day though declined within time. |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.570 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
กลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ทางทันตกรรม |
en_US |
dc.subject |
เปลือกทุเรียน |
en_US |
dc.subject |
ฟันผุ -- การป้องกัน |
en_US |
dc.subject |
โพลิแซ็กคาไรด์ |
en_US |
dc.subject |
Dental glass ionomer cements |
en_US |
dc.subject |
Durian Fruit-hulls |
en_US |
dc.subject |
Dental Caries -- Prevention |
en_US |
dc.subject |
Polysaccharides |
en_US |
dc.subject |
Streptococcus Mutans |
en_US |
dc.title |
ผลในการยับยั้งเชื้อและคุณสมบัติทางกายภาพบางประการของซีเมนต์กลาสไอโอโนเมอร์ที่ผสมเจลพอลิแซคคาไรด์จากเปลือกทุเรียน |
en_US |
dc.title.alternative |
The antimicrobial effect and some physical properties of a glass-ionomer cement with polysaccharide gel from durian fruit-hulls |
en_US |
dc.type |
Thesis |
en_US |
dc.degree.name |
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
en_US |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
en_US |
dc.degree.discipline |
ทันตกรรมจัดฟัน |
en_US |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.email.advisor |
Paiboon.T@Chula.ac.th |
|
dc.email.advisor |
Pasutha.T@Chula.ac.th |
|
dc.identifier.DOI |
10.14457/CU.the.2007.570 |
|