Abstract:
การศึกษาครั้งนี้ได้ดำเนินการในพื้นที่การศึกษานี้ทำการศึกษาในสถาบันโรคทรวงอกและจังหวัดที่มีการรายงานจำนวนผู้ป่วย MDR-TB สูงสุด 10 อันดับแรก ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2555 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2555 ผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนานรายใหม่ที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ หรือผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาในสูตร Second line drug จำนวน 100 ราย วัณโรค 268 ราย พบว่าการปัจจัยการเคยมีประวัติรักษาวัณโรคมาก่อนเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดวัณโรคดื้อยาหลายขนาน (Adjusted Odds ratio = 54.72; 95%CI 14.26, 210.02) เมื่อควบคุมปัจจัยทางด้านการสูบบุหรี่ ในขณะที่ปัจจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมการสูบบุหรี่กลับพบว่ามีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดวัณโรคดื้อยาหลายขนานเมื่อควบคุมปัจจัยทางด้านการมีประวัติการรักษาวัฌโรคมาก่อน 6.00 เท่าเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่เคยสูบบุหรี่ (Adjusted Odds ratio = 6.00; 95%CI 1.32, 27.32) สำหรับระยะเวลาในการเริ่มรักษาวัณโรค พบว่าระยะเวลาตั้งแต่เริ่มมีอาการของวัณโรคจนถึงการเข้ารับบริการหรือขอคำปรึกษาครั้งแรกที่สถานบริการสุขภาพต่างๆ คือ 30 วันสำหรับระยะเวลาตั้งแต่ขอรับคำปรึกษาหรือบริการครั้งแรกที่สถานบริการจนถึงวันที่ได้รับการรักษาวัณโรค พบว่ามีความแตกต่างกันระหว่างกลุ่มผู้ป่วยวัณโรคทั่วไปกับผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนาน การเคยมีประวัติเคยดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แต่ปัจจุบันเลิกดื่มแล้ว และการมีหลักประกันสุขภาพล้วนเป็นปัจจัยป้องกันความล่าช้าจากตัวผู้ป่วยเองเมื่อควบคุมตัวแปรอื่นๆ (Adjusted Odds ratio = 0.37; 95%CI 0.18, 0.76 และ Adjusted Odds ratio = 0.25; 95%CI 0.12, 0.55 ตามลำดับ) ในขณะที่การติดเชื้อวัณโรคดื้อยาหลายขนานมีโอกาสเสี่ยงที่ล่าช้าจากผู้ให้บริการเป็น 6.37 เท่าเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ป่วยวัณโรคทั่วไป เมื่อควบคุมปัจจัยการมีอาการไอ (95%CI 1.68, 24.15)