DSpace Repository

การพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการกระทำความรุนแรงและการถูกกระทำความรุนแรงในคู่รัก

Show simple item record

dc.contributor.advisor คัคนางค์ มณีศรี en_US
dc.contributor.author ศรัญญา ศรีโยธิน en_US
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา en_US
dc.date.accessioned 2015-08-21T09:28:19Z
dc.date.available 2015-08-21T09:28:19Z
dc.date.issued 2557 en_US
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44394
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 en_US
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราส่วน ความถี่และรูปแบบความรุนแรงในคู่รัก รวมถึงพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการกระทำและถูกกระทำความรุนแรงในคู่รัก โดยศึกษากับผู้ใหญ่วัยทำงานที่มีคู่รักต่างเพศ จำนวน 1,010 คน ตอบแบบสอบถามประสบการณ์ที่ได้รับจากผู้เลี้ยงดูในวัยเด็ก รูปแบบความผูกพัน ความหลงตนเอง การกระทำความรุนแรงต่อคู่รักและการถูกกระทำความรุนแรงจากคู่รัก ผลการศึกษา พบว่า เพศชายมีค่าเฉลี่ยกระทำความรุนแรงต่อคู่รักทางจิตใจสูงที่สุด รองลงมาคือทางเพศ ทางกายและการทำร้ายจนบาดเจ็บต่ำที่สุด ในขณะที่เพศหญิงกระทำความรุนแรงทางจิตใจสูงที่สุด รองลงมาคือทางกาย ทางเพศและการทำร้ายจนบาดเจ็บต่ำที่สุด แต่เพศชายรายงานการถูกกระทำความรุนแรงทางจิตใจสูงที่สุด รองลงมาได้แก่ทางกายและทางเพศที่มีคะแนนใกล้เคียงกันและถูกทำร้ายจนบาดเจ็บต่ำที่สุด ส่วนเพศหญิงถูกกระทำความรุนแรงทางจิตใจสูงที่สุด รองลงมาคือทางเพศ ทางกายและถูกทำร้ายจนบาดเจ็บต่ำที่สุด ผลการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง พบว่า ประสบการณ์ความรุนแรงจากผู้เลี้ยงดูมีอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมต่อการกระทำความรุนแรงต่อคู่รักผ่านความวิตกกังวลในความผูกพันและความหลงตนเอง และมีอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมต่อการถูกกระทำความรุนแรงจากคู่รักผ่านความวิตกกังวลและการหลีกหนีในความผูกพัน ในขณะที่ประสบการณ์การสนับสนุนจากผู้เลี้ยงดูมีอิทธิพลทางลบต่อการกระทำความรุนแรงต่อคู่รักผ่านความวิตกกังวลในความผูกพันและความหลงตนเองและมีอิทธิพลทางลบต่อการถูกกระทำความรุนแรงจากคู่รักผ่านความวิตกกังวลและการหลีกหนีในความผูกพัน en_US
dc.description.abstractalternative The purposes of this research were to explore prevalence, frequency and forms of intimate partner violence (IPV,) and to investigate causal model of perpetration and victimization. A sample of 1,010 heterosexual adults completed the questionnaires measuring their childhood experiences, adult attachment styles, narcissism, and IPV. For the mean score of perpetration, male perpetrators’ psychological aggression score was the highest, followed by sexual coercion, physical assault, and the lowest mean was for injury. Female perpetrators’ psychological aggression score was the highest, followed by physical assault, sexual coercion, and the lowest was for injury. For male victims, psychological aggression score was the highest, followed by physical assault, sexual coercion, and the lowest was for injury. Female victims’ psychological aggression score was the highest, followed by sexual coercion, physical assault, and the lowest was for injury. Structural equation modeling results revealed that abusive childhood experiences affected perpetration directly and indirectly through anxiety over abandonment and narcissism, and affected victimization directly and indirectly through anxiety over abandonment and avoidance of intimacy; whereas supportive childhood experiences affected perpetration through anxiety over abandonment and narcissism, and affected victimization through both anxiety over abandonment and avoidance of intimacy. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.466
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject คู่รัก
dc.subject ความรุนแรงในครอบครัว
dc.subject ความผูกพัน
dc.subject การหลงตนเอง
dc.subject การเรียนรู้ทางสังคม
dc.subject จิตวิทยาสังคม
dc.subject Couples
dc.subject Family violence
dc.subject Commitment (Psychology)
dc.subject Narcissism
dc.subject Social learning
dc.subject Social psychology
dc.title การพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการกระทำความรุนแรงและการถูกกระทำความรุนแรงในคู่รัก en_US
dc.title.alternative A DEVELOPMENT OF THE CAUSAL MODELS OF PERPETRATION AND VICTIMIZATION OF INTIMATE PARTNER VIOLENCE en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาเอก en_US
dc.degree.discipline จิตวิทยา en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Kakanang.M@chula.ac.th en_US
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2014.466


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record