DSpace Repository

ทุนมนุษย์กับการเตรียมความพร้อมเพื่อวัยสูงอายุด้วยตนเองของประชากรไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor ปัทพร สุคนธมาน en_US
dc.contributor.author สุภาภรณ์ คำเรืองฤทธิ์ en_US
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยาลัยประชากรศาสตร์ en_US
dc.date.accessioned 2015-08-21T09:29:38Z
dc.date.available 2015-08-21T09:29:38Z
dc.date.issued 2557 en_US
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44530
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 en_US
dc.description.abstract การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของสัดส่วนผู้สูงอายุและการที่ประเทศไทยมีระยะเวลาน้อยในการเตรียมตัวเข้าสู่การเป็นสังคมสูงวัย เป็นเหตุให้การเตรียมความพร้อมเพื่อวัยสูงอายุเป็นประเด็นสำคัญหนึ่งในการวางแผนงานด้านผู้สูงอายุของไทย การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเตรียมความพร้อมเพื่อวัยสูงอายุด้วยตนเองในด้านสุขภาพกาย ด้านสุขภาพจิต ด้านการเงิน ด้านที่อยู่อาศัย และด้านผู้ดูแล ของประชากรไทยผู้มีอายุระหว่าง 50-59 ปี และทำการสร้างและศึกษาดัชนีทุนมนุษย์และดัชนีการเตรียมความพร้อมเพื่อวัยสูงอายุด้วยตนเอง รวมทั้งศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านทุนมนุษย์กับการเตรียมความพร้อมเพื่อวัยสูงอายุด้วยตนเอง งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงปริมาณที่ใช้ข้อมูลจากโครงการการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ.2554 ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ และได้กำหนดกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่มีอายุ 50-59 ปี จำนวน 17,651 ราย สำหรับการศึกษาลักษณะการเตรียมความพร้อมเพื่อวัยสูงอายุด้วยตนเองจำแนกตามตัวแปรปัจจัยด้านทุนมนุษย์จะทำการจำแนกประเภทไขว้ และการวิเคราะห์ปัจจัยกำหนดการเตรียมความพร้อมเพื่อวัยสูงอายุด้วยตนเองจะทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ถดถอยโพรบิท (probit regression) ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีดัชนีทุนมนุษย์อยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งดัชนีทุนมนุษย์ของการศึกษาครั้งนี้ได้พัฒนามาจากดัชนีองค์ประกอบ 3 ด้าน ได้แก่ ดัชนีความรู้ ดัชนีทักษะและความสามารถในการทำงาน และดัชนีภาวะสุขภาพ ผลการศึกษายังพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีการเตรียมความพร้อมเพื่อวัยสูงอายุด้วยตนเองในทุกๆด้านอยู่ในระดับต่ำโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านผู้ดูแล และจากการสร้างดัชนีการเตรียมความพร้อมเพื่อวัยสูงอายุด้วยตนเองจากการเตรียมความพร้อมทั้ง 5 ด้าน พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีดัชนีการเตรียมความพร้อมเพื่อวัยสูงอายุด้วยตนเองอยู่ในระดับต่ำ และจากการศึกษาการจำแนกประเภทไขว้พบว่าบุคคลที่มีระดับทุนมนุษย์สูงกว่าจะมีสัดส่วนของการเตรียมความพร้อมเพื่อวัยสูงอายุด้วยตนเองมากกว่าผู้ที่มีระดับทุนมนุษย์ต่ำกว่า ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านทุนมนุษย์กับการเตรียมความพร้อมเพื่อวัยสูงอายุด้วยตนเอง ที่พบว่าเมื่อควบคุมอิทธิพลของตัวแปรอิสระในปัจจัยด้านประชากร ด้านเขตที่อยู่อาศัย ด้านเศรษฐกิจ ด้านการเกื้อหนุนระหว่างรุ่นในครอบครัว และด้านนโยบายสาธารณะแล้ว ผู้ที่มีระดับทุนมนุษย์สูงกว่าจะมีโอกาสในการเตรียมความพร้อมเพื่อวัยสูงอายุด้วยตนเองมากกว่าผู้ที่มีระดับทุนมนุษย์ต่ำกว่า และดัชนีความรู้จะมีขนาดของอิทธิพลที่สูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับดัชนีทักษะและความสามารถในการทำงาน และดัชนีภาวะสุขภาพ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในสังคมสูงวัยที่ภาครัฐควรจะส่งเสริมให้ประชากรมีทุนมนุษย์เพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้เพราะการที่บุคคลมีทุนมนุษย์สูงขึ้น จะทำให้สามารถคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจ และปฏิบัติตัวเพื่อเตรียมความพร้อมเพื่อวัยสูงอายุด้วยตนเองได้อย่างเหมาะสมมากขึ้น en_US
dc.description.abstractalternative The rapid increase in the proportion of the elderly left Thailand with little time to prepare for aging society. Therefore, the preparation for old age by themselves has become an important part of the nation plan of the elderly in Thailand. This study explores the preparation for old age by themselves in the areas of physical health, psychological well-being, financial security, housing and caregiver. The paper creates and investigates index of human capital and index of preparation for old age by themselves. The study focuses on how human capital influences an individual’s preparation for old age. This research is a quantitative study. Data used in this study are derived from the 2011 National Survey of Older Persons in Thailand conducted by the National Statistical Office. This study focuses on the population aged 50-59 years old and the sample size is 17,651. The paper employs cross tabulation and probit regression analysis. This study finds that people who have the medium level of human capital index make up the highest proportion of the sample. The index of human capital is created from three composite indexes; knowledge index, skill and ability index and health index. The results reveal that people who have the lowest level of the preparation for old age make up the highest proportion. Especially, the proportion of people who have prepared for their old age in the area of caregiver is particularly low. The study indicates that most of the samples have the lowest level of index of preparation for old age. The analysis of cross tabulation shows that, the proportion of those who have prepared for their old age is higher among people with higher levels of human capital (as compared to people with lower levels of human capital). Accordingly, after controlling for the influence of other independent variables, the analysis of probit model shows that people with higher levels of human capital index are more likely to prepare for old age by themselves than people with lower levels of human capital index. Especially, the size of influence of the knowledge index is greater than the skill and ability index, and health index. Therefore, it is necessary in aging society in Thailand that the government encourages people to increase their human capital. This is because people with high levels of human capital can more appropriately analyze, decide and act in order to prepare for old age by themselves. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.547
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ทุนมนุษย์ -- ไทย
dc.subject ผู้สูงอายุ -- ไทย
dc.subject การเตรียมพร้อม
dc.subject Human capital -- Thailand
dc.subject Older people -- Thailand
dc.subject Preparedness
dc.title ทุนมนุษย์กับการเตรียมความพร้อมเพื่อวัยสูงอายุด้วยตนเองของประชากรไทย en_US
dc.title.alternative HUMAN CAPITAL AND THE PREPARATION FOR OLD AGE BY THEMSELVES IN THAILAND en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาเอก en_US
dc.degree.discipline ประชากรศาสตร์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Pataporn.S@chula.ac.th,pataporn@hotmail.com,pataporn@hotmail.com en_US
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2014.547


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record