DSpace Repository

การเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติการทางทหาร: กรณีศึกษา การคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเลของกองทัพเรือ

Show simple item record

dc.contributor.advisor อิศรา ศานติศาสน์ en_US
dc.contributor.author สุเชษฐ์ อุบลภาพ en_US
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์ en_US
dc.date.accessioned 2015-08-21T09:30:43Z
dc.date.available 2015-08-21T09:30:43Z
dc.date.issued 2557 en_US
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44646
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 en_US
dc.description.abstract ข้อจำกัดด้านงบประมาณเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติการทางทหารทั้งในยามปกติและสภาวการณ์ที่ต้องเผชิญกับภัยคุกคามที่เพิ่มขึ้น การพิจารณาหาแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติการทางทหาร ย่อมจะทำให้การใช้กำลังทางทหารในการปฏิบัติภารกิจที่ได้รับมอบหมายมีประสิทธิภาพสูงขึ้นและมีความคุ้มค่าต่อการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด งานวิจัยนี้ได้เสนอแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพ โดยการจัดกำลังและการใช้กำลังทางเรือของกองทัพเรือเป็นหมู่เรือปฏิบัติภารกิจเพื่อคุ้มครองรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลทั้งในยามปกติและสภาวการณ์ที่ต้องเผชิญกับภัยคุกคามที่เพิ่มขึ้น ผู้วิจัยได้ใช้การศึกษาวิจัยจากเอกสาร (documentary research) จากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิ ได้แก่ ตำราเอกสารทางราชการ ระบบสารสนเทศและคู่มือต่างๆ นำมาวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่เกี่ยวข้องในรูปแบบของความสัมพันธ์เชิงเส้น (Linear Programming) และใช้วิธีการซิมเพล็กซ์ (Simplex Method) ในการคำนวณวิเคราะห์เปรียบเทียบ พบว่าในยามปกติการจัดกำลังทางเรือเป็นหมู่เรือจำนวน 2 ลำที่ประกอบด้วย เรือตรวจการณ์ปืน (Patrol Craft Gun) และเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง (Coastal Patrol Craft) ให้ระยะทางในการลาดตระเวนรวมเพื่อคุ้มครองรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลรวมสูงสุด ขณะที่มีการเพิ่มเติมงบประมาณมากขึ้นจากเดิม 1 เท่า เมื่อต้องเผชิญกับภัยคุกคามที่มากขึ้น การจัดกำลังทางเรือเป็นหมู่เรือจำนวน 3 ลำ ที่ประกอบด้วย เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง (Offshore Patrol) เรือตรวจการณ์ปืน (Patrol Craft Gun) และเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง (Coastal Patrol Craft) กลับให้ระยะทางในการลาดตระเวนรวมสูงสุด ซึ่งสะท้อนการมีประสิทธิภาพสูงสุด นอกจากนี้ค่า Dual Price ของหมู่เรือที่คำนวณได้ 550.231 ยังทำให้ทราบว่า หมู่เรือจำนวน 3 ลำ ดังกล่าว สามารถลาดตระเวนเพิ่มขึ้นได้ 550.231 ไมล์ทะเลต่องบประมาณที่เพิ่มขึ้น 1 ล้านบาท สำหรับค่า Reduced Cost ของเรือฟริเกต (Frigate) และเรือคอร์เวต (Corvette) ซึ่งมีค่า 3,907.9 และ 72.595 ยังบ่งชี้ถึงค่าเสียโอกาสหรือแสดงจำนวนระยะทางการลาดตระเวนรวมของหมู่เรือที่ต้องลดลง เมื่อต้องการเพิ่มเติมกำลังทางเรือโดยการใช้เรือประเภทนั้นๆ ทำการลาดตระเวนเพิ่มขึ้น 1 เที่ยว เนื่องจากเป็นการเพิ่มเรือเข้าไปใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ซึ่งได้มีการจัดสรรไว้อย่างมีประสิทธิภาพอยู่แล้ว โดยทั้งค่า Dual Price และ Reduced Cost จึงเป็นปัจจัยที่ช่วยให้ผู้วางแผนทางทหารทราบถึงผลกระทบต่อการเพิ่มหรือลดประสิทธิภาพในการปฏิบัติการทางทหาร โดยหากผู้วางแผนต้องการใช้กำลังทางเรือในแต่ละประเภททำการลาดตระเวนเพิ่มขึ้นเรือที่มีค่า Reduced Cost ต่ำจะให้ประสิทธิภาพในการปฏิบัติการสูงกว่าเรือที่มีค่า Reduced Cost สูง เนื่องจากค่า Reduced Cost บ่งชี้ถึงค่าเสียโอกาสหรือจำนวนระยะทางการลาดตระเวนรวมที่ต้องลดลง เมื่อมีการใช้เรือประเภทนั้น ๆ ทำการลาดตระเวนเพิ่มขึ้น ขณะที่หมู่เรือที่มีค่า Dual Price สูงจะให้ประสิทธิภาพในการปฏิบัติการที่มากกว่าหมู่เรือที่มีค่า Dual Price ต่ำ เนื่องจากค่า Dual Price แสดงจำนวนระยะทางในการลาดตระเวนที่เพิ่มขึ้นต่องบประมาณที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงเป็นเครื่องมือช่วยให้ผู้วางแผนสามารถจัดเตรียมกำลังทางเรือได้อย่างมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับสภาวการณ์และงบประมาณที่จำกัดอีกด้วย en_US
dc.description.abstractalternative Budget constraints are factors that affect military operations in both peacetime and situations of increasing threats. An Optimization of the military operation will elevate the efficiency of military force in assigned missions with limited resources. This study proposes to optimize the naval force mission to defend Thai Maritime Interests both in peacetime and in situations of increasing threats. Documentary research was conducted on textbook, official documents, Information system and operation manuals. Linear Programming was employed to identify the relationship of multiple factors, and comparative analysis was calculated with Simplex Method. This research found that in peacetime the Combined Task Force consists of 2 different types of ships: Patrol Craft (Gun); and Coastal Patrol Craft, offers maximum distance for patrol. In the situations of increasing threats, the Combined Task Force consists of 3 different types of ships: Offshore Patrol Ship, Patrol Craft (Gun) and Coastal Patrol Craft, offers maximum distance for patrol. This reflects an increasing efficiency in limited budget and resources. Moreover, the calculation of Dual Price at 550.231 reflects the increase of patrol area by 550.231 nautical miles for additional Baht 1 Million budget. As for the reduced cost calculation of the Frigate and the Corvette, at 3,907.9 and 72.595 consecutively, indicates the opportunity cost or the reduced overall capacity of the patrolling task force when a commander needs to increase 1 round of patrolling by assigning each type of ship. This is because the additional ships will consume limited resources that has already been efficiently allocated. Both the Dual Price and Reduced Cost contribute to the accuracy of a naval planner to identify factors affecting the increase or decrease in the efficiency of military operations, and to foresee the impact of his decision. If the commander or strategic planner increases the number of patrol ship with low reduced cost, the efficiency of the patrol task will be higher than ships with high reduced cost, which indicates the value of opportunity loss or the lower patrolling capacity when increasing the number of the patrol ships. However, patrol ships with high dual price yield higher efficiency than those with lower dual price, because it indicates the increasing range and patrolling capacity as a result of the increasing amount of budget. This finding will contribute to the decision process of the commander under pressuring situations and budget constraints. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.title การเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติการทางทหาร: กรณีศึกษา การคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเลของกองทัพเรือ en_US
dc.title.alternative Increasing Efficiency in Military Operations: a Case study of Defending Thai Maritime Interests by Royal Thai Navy Force en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline เศรษฐศาสตร์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Isra.S@Chula.ac.th,Isra.S@chula.ac.th en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record