DSpace Repository

เหตุเพิกถอนคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 : ศึกษากรณีตามมาตรา 40 (2) (ข)

Show simple item record

dc.contributor.advisor พิชัยศักดิ์ หรยางกูร
dc.contributor.author จุฑาวรรณ สุทธิรัตน์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิืทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.coverage.spatial ไทย
dc.date.accessioned 2007-10-19T03:58:04Z
dc.date.available 2007-10-19T03:58:04Z
dc.date.issued 2548
dc.identifier.isbn 9745323322
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4464
dc.description วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 en
dc.description.abstract ิวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาเรื่องเหตุเพิกถอน คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการที่บกพร่อง ทั้งหลักเกณฑ์ทั่วไปและวิธีการเพิกถอนคำชี้ขาดตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 ซึ่งเป็นมาตรการเพื่อให้คู่พิพาทฝ่ายที่เสียหายมีโอกาสยื่นคำร้องคัดค้าน ไม่ให้ตนต้องถูกบังคับตามผลแห่งคำชี้ขาดนั้นและให้ศาลเพิกถอนคำชี้ขาดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายให้สิ้นผลบังคับไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีคำชี้ขาดเกี่ยวกับข้อพิพาทที่ไม่สามารถระงับโดยอนุญาโตตุลาการ ได้ตามกฎหมาย (Arbitrability) ตามมาตรา 40(2)(ก) และคำชี้ขาดที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนตามมาตรา 40(2)(ข) ซึ่งเป็นเหตุเพิกถอนที่กฎหมายเปิดโอกาสให้ศาลสามารถตีความปรับใช้บทกฎหมายดังกล่าวได้เอง สำหรับเหตุเพิกถอนคำชี้ขาดเกี่ยวกับ Arbitrability ตามมาตรา 40(2)(ก) นี้เป็นหลักการที่กำหนดขึ้นเพื่อรักษาความศักดิ์สิทธิ์ของความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงสรุปได้ว่าบทบัญญัติตามมาตรา 40(2)(ก) เป็นหลักการเดียวกับบทบัญญัติมาตรา 40(2)(ข) นั่นเอง แต่เหตุเพิกถอนตามมาตรา 40(2)(ข) มีลักษณะเป็นนามธรรม ทำให้มีปัญหาในการปรับใช้ว่าพฤติการณ์ใดบ้างที่เข้าหลักเกณฑ์ตามมาตรา 40(2)(ข) อันถือว่าขัดต่อหลักความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน จากการศึกษาพบว่า พฤติการณ์ที่มีผลทำให้คำชี้ขาดมีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบและศีลธรรมอันดีของประชาชน น่าจะรวมถึงกรณีดังต่อไปนี้ (1) กรณีมีพยานหลักฐานแสดงให้เห็นว่า อนุญาโตตุลาการฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอคติ (bias) มีความลำเอียงและขาดความเป็นกลาง (partial) ในการปฏิบัติหน้าที่หรือมีความไม่สุจริต (dishonest) (2) ข้อกำหนดในสัญญาเกี่ยวกับการตั้งอนุญาโตตุลาการกระทำขึ้นโดยขาดอิสรภาพ ในการเจรจาตกลงกันของคู่พิพาทฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ส่งผลต่อกระบวนพิจารณาที่อนุญาโตตุลาการ ได้กระทำต่อมาจนมีคำชี้ขาดที่บกพร่องไม่สมควรให้มีผลบังคับ (3) คำชี้ขาดอันเกิดจากการหลอกลวงพูดเท็จต่ออนุญาโตตุลาการ (4) คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการกำหนดให้คู่พิพาทฝ่าฝืนคำสั่งหรือคำพิพากษาที่ชอบด้วยกฎหมายของศาลต่างประเทศ (5) กรณีมีพฤติการณ์หรือการปฏิบัติอย่างใดๆ เพื่อให้อนุญาโตตุลาการปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริต (6) กรณีที่อนุญาโตตุลาการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง หรือจงใจละเลยไม่หยิบยกพยานหลักฐานสำคัญแห่งคดีขึ้นวินิจฉัย การนำแนวการตีความดังกล่าวมาใช้จะช่วยส่งเสริมการปรับใช้หลักความสงบเรียบร้อยของแต่ละประเทศรวมทั้งประเทศไทยให้มีความสอดคล้องและเป็นสากลมากยิ่งขึ้น en
dc.description.abstractalternative This thesis studies the clauses for setting aside the deficient award of the arbitrator and the general principle as well as the procedure to challenge the award regarding Arbitration Act 2002. Setting aside the deficient award is the useful measure giving the losing party the opportunity to present a challenge petition to the court. This party will not be enforced by the unlawful award. However, this thesis focuses on the arbitrability in Article 40(2)(a) and the public policy in Article 40(2)(b). The arbitrability ground in Article 40(2)(a) is considers as a tool for enforcing the public policy. One can conclude that the arbitrability concept is one part of the public policy. Eventhough, the public policy basis is not specific, therefore, there are some problems in practical use. From this research, the following allegations should be treated by courts as violations of public policy under Article 40(2)(b) : (1) There is the evidence suggesting actual bias or prejudice on the part of an arbitrator (2) An arbitral agreement exacted by duress (3) An award obtained by fraud (4) An award compels a party of violate the decree of a foreign court. (5) There are the circumstances treating an arbitrator to be dishonest (6) An arbitrator willfully or gross negligently ignores the important evidencess of the case. The above trends of interpretation would help harmonizing the practical use of public policy in the international level so as to promote the practical use of Thailand to an international standard en
dc.format.extent 2004534 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th en
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.132
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject การอนุญาโตตุลาการ -- ไทย en
dc.subject อนุญาโตตุลาการ -- ไทย en
dc.title เหตุเพิกถอนคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 : ศึกษากรณีตามมาตรา 40 (2) (ข) en
dc.title.alternative Clauses for setting aside the arbitral award under Arbitration Act 2002 : a study of section 40(2)(B) en
dc.type Thesis en
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต en
dc.degree.level ปริญญาโท en
dc.degree.discipline นิติศาสตร์ en
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor Phijaisakdi.H@chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2005.132


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record