DSpace Repository

ผลการใช้เภสัชโภชนาที่มีกลูโคซามีนและคอนดรอยตินต่อภาวะข้อเสื่อมในสุนัขภายหลังเข้ารับการผ่าตัดแก้ไขเอ็นไขว้หน้าข้อเข่าขาด

Show simple item record

dc.contributor.advisor กัมปนาท สุนทรวิภาต
dc.contributor.author ปราชญ์ หมายหาทรัพย์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์.
dc.date.accessioned 2015-08-24T07:04:32Z
dc.date.available 2015-08-24T07:04:32Z
dc.date.issued 2555
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44726
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 en_US
dc.description.abstract กลูโคซามีนและคอนดรอยตินซัลเฟต เป็นองค์ประกอบสำคัญของโครงสร้างนอกเซลล์ของกระดูกอ่อนข้อต่อดังนั้นจึงได้รับความสนใจในการรักษาภาวะข้อเสื่อม โดยพบว่าสารทั้ง 2 ชนิดมีความสามารถในการรักษาสมดุลการสร้างและสลายกระดูกอ่อนข้อต่อ จึงคาดว่าน่าจะให้ผลดีในการนำมารักษาภาวะข้อเสื่อมที่เกิดขึ้น รวมถึงมีการนำมาใช้ในการรักษาภาวะข้อเสื่อมในทางการแพทย์และสัตวแพทย์อย่างแพร่หลาย แต่อย่างไรก็ตามยังมีข้อโต้เถียงถึงผลการรักษาภาวะข้อเสื่อมด้วยสารดังกล่าวทางคลินิก ดังนั้นการศึกษานี้จึงเน้นถึงผลการเปลี่ยนแปลงของอาการทางคลินิก คะแนนความเจ็บขาขณะเดิน คะแนนการเกิดภาวะข้อเสื่อมทางรังสีวิทยา การเปลี่ยนแปลงของระดับ Hyaluronic acid (HA) และ WF6-chondroitin epitope ในกระแสเลือดโดยใช้สุนัขที่เข้ารับการผ่าตัดแก้ไขภาวะเอ็นไขว้หน้าข้อเข่าขาด (n=12) เป็นตัวอย่างในการศึกษาภาวะข้อเสื่อม หลังจากนั้นทำการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ได้รับ glucosamine ร่วมกับ chondroitin sulfate (GsCn) (n=6) และกลุ่มที่ได้รับยาหลอก (Plab) (n=6) เป็นเวลา 16 สัปดาห์ พบว่าภายหลังการได้รับ glucosamine ร่วมกับ chondroitin sulfate ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อทำการประเมินด้วยคะแนนการลงน้ำหนักขา คะแนนความเจ็บปวดขณะเดิน การเปลี่ยนแปลงของระดับ HA และ WF6 ในกระแสเลือด แต่อย่างไรก็ตามพบว่าในกลุ่ม GsCn มีการลดลงของระดับ WF6 ในกระแสเลือดร่วมกับพบการสูงขึ้นของระดับ HA ในกระแสเลือดช้ากว่ากลุ่ม Plab ซึ่งอาจบ่งชี้ว่า glucosamine และ chondroitin sulfate อาจมีผลในการชะลอการทำลายกระดูกอ่อนข้อต่อและการเกิดภาวะข้อต่ออักเสบได้เล็กน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภายในเวลา 4 สัปดาห์หลังการผ่าตัด นอกจากนั้นยังไม่พบอาการข้างเคียงและการเปลี่ยนแปลงทางโลหิตวิทยาภายในระยะเวลา 16 สัปดาห์ของการศึกษา en_US
dc.description.abstractalternative Glucosamine and chondroitin sulfate is a key compositions of extracellular fluid, found in articular catilage. From previous studies, glucosamine and chondrotin sulfate have a positive effect in cartilage homeostasis .From these result, both glucosamine and chondroitin sulfate were used in treatment of osteoarthritis for long time ago,even in medicine and veterinary medicine.Altough,glucosamine and chondroitin sulfate were discussed about their positive effect in treatment of osteoarthritis in many research.The result from weight bearing score, lameness score, radiological score, serum level of hyaluronic acid (HA) and WF6-chondroitin epitope in dogs after correction of anterior cruciate ligament rupture operation (n=12).Compared between glucosamine /chondroitin group GsCn(n=6) and placebo group (Plab) (n=6) ,we found that glucosamine and chondroitin sulfate have a high safety index and did not show any adverse effect in 16 weeks of this study and do not have a statistic significant between groupin all parameter.For conclusion, glucosamine and chodroitin sulfate did not have a significant positive effect in osteoarthritis dog by compared lameness score, ragiological score, serum HA and WF6 level. But may slow down the degradation process of articular cartilage and synovitis. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.607
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject กลูโคซามีน en_US
dc.subject คอนดรอยทินซัลเฟต en_US
dc.subject อาหารฟังก์ชัน en_US
dc.subject เอ็นไขว้หน้าในข้อเข่า -- ศัลยกรรม en_US
dc.subject สุนัข -- ศัลยกรรม -- การพยาบาล en_US
dc.subject Glucosamine en_US
dc.subject Chondroitin sulfates en_US
dc.subject Functional foods en_US
dc.subject Anterior cruciate ligament -- Surgery en_US
dc.subject Dogs -- Surgery -- Nursing en_US
dc.title ผลการใช้เภสัชโภชนาที่มีกลูโคซามีนและคอนดรอยตินต่อภาวะข้อเสื่อมในสุนัขภายหลังเข้ารับการผ่าตัดแก้ไขเอ็นไขว้หน้าข้อเข่าขาด en_US
dc.title.alternative The effect of glucosamine and chondroitin nutraceutical on osteoarthritis in dogs after anterior cruciate ligament rupture surgical repair en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline ศัลยศาสตร์ทางสัตวแพทย์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Kumpanart.S@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2012.607


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record