DSpace Repository

การนำกฎหมายว่าด้วยการแพทย์ฉุกเฉินมาใช้ทำให้เกิดผลตามเจตนารมณ์ในการคุ้มครองผู้ป่วยฉุกเฉินและผู้ปฏิบัติการ

Show simple item record

dc.contributor.advisor ศุภลักษณ์ พินิจภูวดล
dc.contributor.author ปรัชญา แช่มช้อย
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2015-09-03T08:25:01Z
dc.date.available 2015-09-03T08:25:01Z
dc.date.issued 2555
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44932
dc.description วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 en_US
dc.description.abstract วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาเกี่ยวกับการเปรียบเทียบกฎหมายการแพทย์ฉุกเฉินกับกฎหมายไทย ที่เกี่ยวข้องและกฎหมายต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายการแพทย์ฉุกเฉินที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษามาตรฐานการปฏิบัติการของแพทย์ฉุกเฉินอันเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิของผู้ป่วยฉุกเฉินและคุ้มครองการปฏิบัติหน้าที่ผู้ปฏิบัติการเวชกรรมฉุกเฉินด้วย ปัจจุบันประเทศไทยมีกฎหมายเกี่ยวกับระบบการแพทย์ฉุกเฉินใช้แล้ว แต่ก็ยังมีปัญหาในมิติของผู้ป่วยฉุกเฉินและผู้ปฏิบัติการทางการแพทย์ฉุกเฉินเพราะการประกอบวิชาชีพเวชกรรมฉุกเฉิน เป็นเรื่องที่ซับซ้อน ในบางคราวการที่ผู้ปฏิบัติการได้ทำความเสียหายให้เกิดขึ้นแก่ผู้ป่วยฉุกเฉินในการให้บริการทางการแพทย์ฉุกเฉินดังกล่าว ก็ต้องพิจารณาด้วยว่าเหตุการณ์สถานการณ์ที่มีความฉุกเฉินเร่งด่วนนั้นมีความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายในการรักษาผู้ป่วยมากกว่าในภาวการณ์อันปกติอยู่แล้ว และถ้าความเสียหายนั้นเกิดขึ้นกับตัวผู้ป่วยฉุกเฉินเองที่มีอาการรุนแรงจนอาจจะเกินความสามารถหรือวิสัยที่ผู้ปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉินจะเกินเยียวยามาก่อนอยู่แล้ว แต่เมื่อได้ส่งต่อมาถึงผู้ปฏิบัติการ แล้วเกิดความเสียหายขึ้นทั้งที่มีมาก่อนจะกล่าวโทษว่าเป็นผลมาจากการปฏิบัติการทางการแพทย์ฉุกเฉินก็ย่อมไม่เป็นธรรม ซึ่งการปฏิบัติการทางการแพทย์ฉุกเฉินจะได้รับความคุ้มครองก็ต่อเมื่อดำเนินการตามมาตรฐานวิชาชีพ และจริยธรรมตามกฎหมาย ในอีกทางหนึ่งมาตรฐานการรักษาก็เป็นการพิทักษ์สิทธิผู้ป่วยว่าผู้ป่วยนั้นจะได้รับการรักษาที่ถูกต้องได้รับการรับรองทางกฎหมายอันเป็นการคุ้มครองสิทธิแก่ผู้ป่วยให้อีกทางหนึ่ง แต่เนื่องจากปัจจุบันมาตรฐานการปฏิบัติการเวชกรรมฉุกเฉินยังไม่เป็นที่รองรับทางกฎหมาย เพราะยังไม่ได้มีรูปของอนุบัญญัติและประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งกฎหมายต่างประเทศล้วนนำมาตรฐานการปฏิบัติการดังกล่าวบัญญัติในรูปแบบทางกฎหมายทั้งสิ้น จึงเป็นสิ่งที่ควรศึกษาถึงกฎหมายของต่างประเทศในเรื่องดังกล่าวเพื่อนำมาปรับใช้และพัฒนามาตรฐานเวชกรรมฉุกเฉินต่อไป en_US
dc.description.abstractalternative This thesis aims to study about the comparison of Thai Emergency Medical Service Law (EMS.) with many related the Thai medical laws and Foreign Emergency Medical Service Laws nowadays. Especially, Emergency Medical Service Standard which protects of The Emergency Patient Right and protects of EMS providers’ duty. As of Now, Thailand has had the law of EMS system already, but there are problems with emergency patients and EMS providers. EMS is complicated, thus sometimes, there is the damage was taken place with emergency patient by the duty of EMS providers. This may consider that the emergency situation has risk of damage more than regulating cure. Perhaps, the damage takes place with severely emergency patient which over of EMS providers responsibility, but when sending the patient to EMS providers with severely come-to-before damage, it’s not fair if EMS providers have been accused by the patient in this case. EMS providers gain the duty’s protection when they do it with The Thai EMS Professional Standard and legal morality, by the way, this standard might protect the Right of Emergency Patient that the patient ought to be received curing with good standard by law. However, The Thai EMS Professional Standard is uncertified by law because it’s not legislated in the organic law form and there isn’t declared by The Thai Governmental Gazette. Dissimilarly, The foreign laws of similar countries lead this standard to be the law, therefore, we should study about foreign laws which is related to EMS standard for development and adaptation to the Thai EMS Law. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1710
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject กฎหมายทางการแพทย์ -- ไทย en_US
dc.subject บริการทางการแพทย์ -- การควบคุมคุณภาพ en_US
dc.subject แพทย์ฉุกเฉิน en_US
dc.subject สิทธิผู้ป่วย en_US
dc.subject Medical laws and legislation -- Thailand en_US
dc.subject Medical care -- Quality control en_US
dc.subject Emergency physicians en_US
dc.subject Patient advocacy en_US
dc.title การนำกฎหมายว่าด้วยการแพทย์ฉุกเฉินมาใช้ทำให้เกิดผลตามเจตนารมณ์ในการคุ้มครองผู้ป่วยฉุกเฉินและผู้ปฏิบัติการ en_US
dc.title.alternative Problem related to implementation of emergency medical system en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline นิติศาสตร์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Supalak.P@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2012.1710


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record