DSpace Repository

ผลกระทบเชิงเศรษฐกิจของมาตรการเงินช่วยเหลือบุตรในบริบทสังคมสูงวัย

Show simple item record

dc.contributor.advisor วรเวศม์ สุวรรณระดา
dc.contributor.author รัฐวิชญ์ ไพรวัน
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
dc.date.accessioned 2015-09-07T10:01:34Z
dc.date.available 2015-09-07T10:01:34Z
dc.date.issued 2555
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45055
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 en_US
dc.description.abstract งานศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบเชิงเศรษฐกิจของมาตรการเงินช่วยเหลือบุตรในสังคมไทยที่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอายุประชากรเข้าสู่สังคมสูงวัยโดยการใช้แบบจำลองเหลื่อมรุ่นและวิเคราะห์ด้วยวิธี Simulation ในแบบจำลอง มาตรการเงินช่วยเหลือบุตรมีลักษณะเป็นบริการภาครัฐที่มีผลเชิงบวกต่อการสะสมทุนมนุษย์ในเด็กโดยตรง ส่งผลต่อระดับค่าจ้างในอนาคตของเด็กให้เพิ่มสูงขึ้น แต่ไม่ใช่การช่วยเหลือเด็กหรือพ่อแม่ในรูปแบบของตัวเงิน ผลการศึกษาพบว่าในสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอายุประชากรเข้าสู่สังคมสูงวัยซึ่งในแบบจำลองนี้หมายถึงสภาวะที่อัตราการเพิ่มของประชากรลดลง หากรัฐบาลขยายฐานภาษีโดยการเพิ่มอัตราภาษีรายได้เพี่อทำให้เงินช่วยเหลือบุตรหรือเงินบำนาญที่จัดสรรมากขึ้น จะส่งผลให้ทุนมนุษย์ ระดับทุนหนึ่งหน่วยประสิทธิภาพแรงงาน ระดับผลผลิตและผลตอบแทนแรงงานเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งส่งผลให้ระดับการบริโภคในปัจจุบัน ระดับการบริโภคในอนาคตเพิ่มขึ้น และทำให้ระดับอรรถประโยชน์ของประชาชนสูงขึ้นมากกว่าในสถานการณ์ฐานได้ อย่างไรก็ตาม หากรัฐบาลขยายฐานภาษีโดยให้ความสำคัญต่อการเพิ่มขึ้นของจำนวนเงินช่วยเหลือบุตร แต่ละเลยจำนวนเงินบำนาญอาจส่งผลทำให้ระดับอรรถประโยชน์ของประชาชนลดลงได้ en_US
dc.description.abstractalternative The purpose of this study is to analyze the economic impacts of child allowance in Thailand under the situation of population aging. The study was conducted by, firstly, constructing a theoretical overlapping generation model and, secondly, analyzing by simulation technique. In this model, child allowance is not cash transfer but public services which cause positive effect on child’s human capital accumulation. It consequently affects wage in the future. The results show that, under the situation of population aging which the population growth is decelerated, if the government increases tax base by raising income tax rate in order to increase an amount of child allowance or pension, it can raise level of human capital, capital per effective worker, productivity and return to labor. Consequently, it will raise the current and future consumption, which causes a higher level of utility of the population comparing with the base situation. On the other hands, if the government concerns only to increase in an amount of child allowance but ignores pension, it may worse off the population. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1235
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject เศรษฐศาสตร์ en_US
dc.subject เศรษฐศาสตร์ -- แง่สังคมวิทยา en_US
dc.subject ครอบครัว -- การสงเคราะห์ en_US
dc.subject Economics en_US
dc.subject Economics -- Sociological aspects en_US
dc.title ผลกระทบเชิงเศรษฐกิจของมาตรการเงินช่วยเหลือบุตรในบริบทสังคมสูงวัย en_US
dc.title.alternative Economic impacts of child allowance policy in the context of aging society en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline เศรษฐศาสตร์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Worawet.S@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2012.1235


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record