DSpace Repository

การพยากรณ์อัตรามรณะของประชากรไทยโดยใช้ตัวแบบลี-คาร์เตอร์ ร่วมกับปัจจัยทางเศรษฐกิจและสาเหตุการตาย

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุวาณี สุรเสียงสังข์
dc.contributor.author ภัทร สุริยภัทรพันธ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
dc.date.accessioned 2015-09-11T02:35:02Z
dc.date.available 2015-09-11T02:35:02Z
dc.date.issued 2555
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45167
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 en_US
dc.description.abstract งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการพยากรณ์ค่าอัตรามรณะของประชากรไทยในช่วง 20 ปีข้างหน้า(ปีพ.ศ. 2554-2573) โดยใช้การประมาณอัตรามรณะในตัวแบบที่เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปคือตัวแบบลี-คาร์เตอร์ (Lee-Carter Model) นำมาทำการพยากรณ์ร่วมกับ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(Gross Domestic Product : GDP) อัตราการว่างงาน และสาเหตุของการตายที่สำคัญได้แก่ โรคเนื้องอก โรคติดเชื้อและปรสิต สาเหตุภายนอกของการป่วยและตาย โรคระบบไหลเวียนโลหิต โรคระบบทางเดินหายใจ ผลการศึกษาพบว่าตัวแปรทุกตัว ได้แก่ ดัชนีอัตรามรณะ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ อัตราการว่างงาน และอัตรามรณะของสาเหตุการตายที่สำคัญ เป็นข้อมูลที่มีลักษณะนิ่ง (stationary) ระดับผลต่างอันดับที่ 1 (at first difference) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 และ ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กันเชิงดุลยภาพระยะยาว (cointegration)กับดัชนีอัตรามรณะ ได้แก่ อัตรามรณะจากเนื้องอก อัตรามรณะจากโรคติดเชื้อและปรสิต และ อัตรามรณะจากโรคไหลเวียนโลหิต สำหรับเพศชาย และ อัตรามรณะจากเนื้องอก และอัตรามรณะจากโรคติดเชื้อและปรสิต สำหรับเพศหญิง และในส่วนของค่าพยากรณ์นั้นพบว่า ค่าพยากรณ์อัตรามรณะมีลักษณะเพิ่มขึ้นแบบเอ็กซ์โพเนนเชียลตามรายอายุ โดยในเพศชายและหญิงจะมีค่าลดลงเล็กน้อยตามจำนวนปีที่เพิ่มขึ้น en_US
dc.description.abstractalternative This research aims to forecast the mortality rate of the Thai population in the next 20 years (2011-2030) by using the estimated model generally known as Lee-Carter model, with gross domestic product (GPD), unemployment rate, and the specific cause of death, including neoplasm, certain infectious and pasasitic diseases, external cause of morbidity and mortality other accidents, diseases of the circulatory system, and diseases of the respiratory system. Preliminary results show that all of variables (k_t, GDP, unemployment rate and specific cause of death ) are stationary data at first difference at significance level 0.01. For males, cointegration is found between mortality index and mortality rate from neoplasms, certain infectious and parasitic diseases , and diseases of the respiratory system. For female, cointegration is found between mortality index and mortality rate from neoplasms, and certain infectious and parasitic diseases. In the case of the forecasting, found that the forecasting mortality rates have increased by the exponential age. For both male and female, the forecasting mortality will be slightly reduced by increasing the number of years. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1400
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject การตาย en_US
dc.subject ไทย -- ประชากร en_US
dc.subject Mortality en_US
dc.subject Thailand -- Population en_US
dc.title การพยากรณ์อัตรามรณะของประชากรไทยโดยใช้ตัวแบบลี-คาร์เตอร์ ร่วมกับปัจจัยทางเศรษฐกิจและสาเหตุการตาย en_US
dc.title.alternative Forecasting Thai mortality rates using Lee-Carter model with economic factors and cause of death en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline การประกันภัย en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor fcomssr@acc.chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2012.1400


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record