DSpace Repository

อิทธิพลของแหล่งทรัพยากรที่เอื้อต่องานและข้อเรียกร้องในงานต่อความพึงพอใจในงานของพนักงานโดยมีความผูกใจมั่นในงานและความเหนื่อยหน่ายในงานเป็นตัวแปรส่งผ่าน

Show simple item record

dc.contributor.advisor อรัญญา ตุ้ยคำภีร์
dc.contributor.advisor เรวดี วัฒฑกโกศล
dc.contributor.author ผดารัช สีดา
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
dc.date.accessioned 2015-09-11T07:17:56Z
dc.date.available 2015-09-11T07:17:56Z
dc.date.issued 2555
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45181
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 en_US
dc.description.abstract การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาและตรวจสอบความตรงของโมเดลเชิงสาเหตุของความพึงพอใจในงาน โดยมีแหล่งทรัพยากรที่เอื้อต่องาน ข้อเรียกร้องในงานเป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรง และมีอิทธิพลทางอ้อมผ่านตัวแปรส่งผ่านความผูกใจมั่นในงานและความเหนื่อยหน่ายในงาน (2) ศึกษาและเปรียบเทียบขนาดอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมของปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในงาน กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานที่ปฏิบัติงานในบริษัทเอกชน รัฐวิสาหกิจและภาครัฐ ที่มีอายุงานในองค์การ/บริษัทไม่ต่ำกว่า 1 ปี ทั้งเพศชายและเพศหญิง จำนวน 601 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ (1) มาตรวัดแหล่งทรัพยากรที่เอื้อต่องาน (2) มาตรวัดข้อเรียกร้องในงาน (3) มาตรวัดความผูกใจมั่นในงาน (4) มาตรวัดความเหนื่อยหน่ายในงาน (5) มาตรวัดความพึงพอใจในงาน ผลการวิจัยพบว่า 1.โมเดลเชิงสาเหตุของอิทธิพลของแหล่งทรัพยากรที่เอื้อต่องาน ข้อเรียกร้องในงานที่มีต่อความพึงพอใจในงานของพนักงาน โดยมีความผูกใจมั่นในงานและความเหนื่อยหน่ายในงานเป็นตัวแปรส่งผ่านมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (χ2 =30.79, N = 601, p =.128, RMSEA=0.02, GFI= 0.99, AGFI=0.97) 2.แหล่งทรัพยากรที่เอื้อต่องานเป็นตัวแปรแฝงภายนอกที่มีอิทธิพลทางตรงและอิทธิพลทางอ้อมต่อความผูกใจมั่นในงานสูงสุด อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 3.ข้อเรียกร้องในงานที่เป็นอุปสรรคเป็นตัวแปรแฝงภายนอกที่มีอิทธิพลทางตรงสูงสุด ในขณะที่แหล่งทรัพยากรที่เอื้อต่องานมีอิทธิพลทางอ้อมต่อความเหนื่อยหน่ายในงานสูงสุดอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 4.ข้อเรียกร้องในงานที่เป็นอุปสรรคเป็นตัวแปรแฝงภายนอกที่มีอิทธิพลทางตรงสูงสุด ในขณะที่แหล่งทรัพยากรที่เอื้อต่องานมีอิทธิพลทางอ้อมต่อความพึงพอใจในงานสูงสุดอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 5.ความเหนื่อยหน่ายในงานเป็นตัวแปรแฝงภายในที่มีอิทธิพลทางตรงสูงสุด ในขณะที่ความผูกใจมั่นในงานมีอิทธิพลทางอ้อมสูงสุดต่อความพึงพอใจในงานอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 en_US
dc.description.abstractalternative The purposes of this study were (1) to develop and to validate the causal model of the job resources and job demands on job satisfaction through the mediating roles of work engagement and job burnout and (2) to investigate and to compare effects size, both direct and indirect effects, of Job Satisfaction. Participants were 601 Thai employees in Bangkok metropolis. Instruments were Job Resources Scale, Job Demands Scale, Work Engagement Scale, Job Burnout Scale, and Job Satisfaction Scale. Findings are as follows. 1.The causal model of the job resources and job demands on job satisfaction through the mediating roles of work engagement and job burnout fits the empirical data (χ2 =30.79, N = 601, p =.128, RMSEA=0.02, GFI= 0.99, AGFI=0.97) 2.As exogeneous variable, direct effect and indirect effect of job resources to work engagement are significantly different from zero at alpha level .01. 3.As exogeneous variable, hindrance demands has the most direct effect while job resources has the most indirect effect to job burnout which are significantly different from zero at alpha level .01. 4.As exogeneous variable, hindrance demands has the most direct effect while job resources has the most indirect effect to job satisfaction which are significantly different from zero at alpha level .01. 5.As endogeneous variable, job burnout has the most direct effect while work engagement has the most indirect effect to job satisfaction which are significantly different from zero at alpha level .01. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1287
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject การทำงาน -- แง่จิตวิทยา en_US
dc.subject ความพอใจในการทำงาน en_US
dc.subject ความเหนื่อยหน่าย (จิตวิทยา) en_US
dc.subject ความผูกพันต่อองค์การ en_US
dc.subject Work -- Psychological aspects en_US
dc.subject Job satisfaction en_US
dc.subject Burn out (Psychology) en_US
dc.subject Organizational commitment en_US
dc.title อิทธิพลของแหล่งทรัพยากรที่เอื้อต่องานและข้อเรียกร้องในงานต่อความพึงพอใจในงานของพนักงานโดยมีความผูกใจมั่นในงานและความเหนื่อยหน่ายในงานเป็นตัวแปรส่งผ่าน en_US
dc.title.alternative Effects of job resources and job demands on job satisfaction of employees : the mediating roles of work engagement and job burnout en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor atuicomepee@gmail.com
dc.email.advisor Rewadee.W@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2012.1287


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record