DSpace Repository

การยอมรับและการปรับตัวของคนพิการทางการเคลื่อนไหวที่เกี่ยวข้องกับบทบาทของครอบครัว

Show simple item record

dc.contributor.advisor จุลนี เทียนไทย
dc.contributor.author ปิยะพิมพ์ กิติสุธาธรรม
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
dc.date.accessioned 2015-09-16T04:02:07Z
dc.date.available 2015-09-16T04:02:07Z
dc.date.issued 2554
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45325
dc.description วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 en_US
dc.description.abstract ศึกษาถึงการยอมรับความพิการของคนพิการทางการเคลื่อนไหว และการปรับตัวทางด้านร่างกาย จิตใจและสังคมในการดำรงชีวิตประจำวัน ภายหลังการสูญเสียความสามารถทางการเคลื่อนไหวของคนพิการ รวมถึงศึกษาบทบาทของครอบครัวที่มีผลต่อการปรับตัวทั้ง 3 ด้านของคนพิการทางการเคลื่อนไหว โดยใช้เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การวิจัยเชิงเอกสาร การสังเกตการณ์ และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกรณีศึกษาทั้งหมด 20 ราย โดยแบ่งออกเป็นคนพิการทางการเคลื่อนไหวจำนวน 10 ราย และสมาชิกในครอบครัวของคนพิการจำนวน 10 ราย ผลการวิจัยพบว่า ขั้นตอนของการยอมรับความพิการของคนพิการทางการเคลื่อนไหว แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ 1) ระยะการรับรู้ เกิดขึ้นเมื่อคนพิการรับรู้ความจริงว่าตนเองต้องสูญเสียความสามารถทางการเคลื่อนไหวไปตลอดชีวิต 2) ระยะการเรียนรู้ เป็นระยะที่คนพิการเริ่มยอมรับกับสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้น คนพิการจะเรียนรู้ในการปรับตัว และเรียนรู้บทบาทใหม่ในชีวิตของตนเอง และ 3) ระยะการยอมรับ เป็นระยะของการปรับตัวและปรับจิตใจให้ยอมรับกับสภาพของการเป็นคนพิการทางการเคลื่อนไหว สำหรับการปรับตัวของคนพิการทางการเคลื่อนไหว แบ่งออกเป็น 3 ด้าน คือ 1) การปรับตัวด้านร่างกาย เป็นเป้าหมายที่สำคัญเพื่อให้คนพิการทางการเคลื่อนไหวสามารถใช้ชีวิตในสภาพของความพิการได้สะดวกที่สุด ด้วยการดูแลฟื้นฟูสุขภาพร่างกายให้มีความแข็งแรง และปรับในเรื่องของพื้นที่และสภาพแวดล้อมภายในบ้าน 2) การปรับตัวด้านจิตใจ เป็นการปรับตัวที่สำคัญที่สุดของคนพิการทางการเคลื่อนไหว เนื่องจากสภาพทางด้านจิตใจนั้นมีผลกระทบต่อทุกด้านในการดำรงชีวิตของคนพิการ และ 3) การปรับด้านสังคม เป็นการปรับตัวของคนพิการทางการเคลื่อนไหวในการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมร่วมกับผู้อื่น และสามารถใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างเป็นปกติ โดยบทบาทของครอบครัวมีผลต่อการยอมรับและการปรับตัวของคนพิการทางการเคลื่อนไหว ซึ่งคู่สามีภรรยาของคนพิการทางการเคลื่อนไหวมีบทบาทต่อการยอมรับ และการปรับตัวของคนพิการทางการเคลื่อนไหวมากกว่าครอบครัวโดยสายเลือด en_US
dc.description.abstractalternative To explore stages mobility disabled people have to go through before accepting their disability. It highlighted how they adjust themselves physically, mentally, and socially after they have become disabled and how their family played a role in this process. Qualitative research methodology, namely, documentary research, observation, and in-depth interviews, were employed and utilized in twenty case studies (from 10 disabled informants and 10 family members). The research result showed that these mobility disabled people went through three acceptance stages. First, the perception stage, that is, when a person acknowledges that he/she is being disabled for the rest of his/her lives. Second, the learning stage, that is, when a person learns to adjust to his/her new disability body. Third, the acceptance stage, that is, when a person accepts that he/she needs to interact with others and is able to live happily in the society. This research result also showed the way in which they adjusted themselves physically, mentally, and socially. For example, they tried to be physically fit as much as they can, adjust their living condition in the house to accommodate their disability, lift up their spirit because they are aware that this is related to their physical and mental well-being and their outlook in life, and enhance their life fulfillment by learning to interact with others. In addition, adjusting their mentality was thought to be the most important part in furthering their physical and social adjustment. Last, the research result showed that family, especially their life partners, played a significant role in speeding or slowing the acceptance and adjustment process. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.2047
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject คนพิการ en_US
dc.subject คนพิการ -- ความสัมพันธ์ในครอบครัว en_US
dc.subject การปรับตัว (จิตวิทยา) en_US
dc.subject ปฏิสัมพันธ์เชิงสัญลักษณ์ en_US
dc.subject คนพิการ -- การดำเนินชีวิต en_US
dc.subject People with disabilities en_US
dc.subject People with disabilities -- Family relationships en_US
dc.subject Adjustment ‪(Psychology)‬ en_US
dc.subject Symbolic interactionism en_US
dc.subject People with disabilities -- Conduct of life en_US
dc.title การยอมรับและการปรับตัวของคนพิการทางการเคลื่อนไหวที่เกี่ยวข้องกับบทบาทของครอบครัว en_US
dc.title.alternative Acceptance and adjustment of the mobility disabled people and related family role en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name สังคมวิทยามหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline สังคมวิทยา en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Chulanee.T@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2011.2047


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record