DSpace Repository

ผลของการปรับสภาพพื้นผิวต่อความแข็งแรงดึงระดับจุลภาคระหว่างเดือยฟันเสริมเส้นใยที่มีส่วนประกอบพื้นฐานเป็นไดเมทาคริเลตกับแกนฟันเรซินคอมโพสิต

Show simple item record

dc.contributor.advisor วัชรศักดิ์ ตุมราศวิน en_US
dc.contributor.author ศริยา เศารยะ en_US
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์ en_US
dc.date.accessioned 2015-09-17T04:03:20Z
dc.date.available 2015-09-17T04:03:20Z
dc.date.issued 2557 en_US
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45582
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 en_US
dc.description.abstract วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินค่าความแข็งแรงดึงระดับจุลภาคระหว่างเดือยฟันเสริมเส้นใยที่มีส่วนประกอบพื้นฐานเป็นไดเมทาคริเลตกับแกนฟันเรซินคอมโพสิต หลังจากปรับสภาพผิวเดือยฟันด้วยสารเคมี วัสดุและวิธีการวิจัย เดือยฟันยี่ห้อเอฟอาร์ซี โพสต์เทค พลัส จำนวน 96 แท่ง แบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ไม่ปรับสภาพผิว กลุ่มที่ 2 ปรับสภาพด้วยกรดฟอสฟอริกความเข้มข้นร้อยละ 37 นาน 1 นาที กลุ่มที่ 3 ปรับสภาพด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ความเข้มข้นร้อยละ 30 นาน 10 นาที กลุ่มที่ 4-6 ปรับสภาพด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ความเข้มข้นร้อยละ 30, 35, 50 นาน 1 นาที ตามลำดับ ศึกษาสภาพพื้นผิวของเดือยฟันหลังปรับสภาพผิวกลุ่มละ 1 แท่ง ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราด แบ่งเดือยฟันแต่ละกลุ่มที่เหลือออกเป็น 3 กลุ่มย่อย ได้แก่ กลุ่มย่อยที่ 1 ทาไซเลน กลุ่มย่อยที่ 2 ทาสารบอนด์ดิง กลุ่มย่อยที่ 3 ทาไซเลนและสารบอนด์ดิง วางเดือยฟันที่ปรับสภาพผิวแล้วกลางท่อพลาสติกใส แล้วฉีด มัลติคอร์โฟลว์เข้าไปในท่อพลาสติกและฉายแสง นำชิ้นเดือยฟัน-แกนฟันมาตัดเป็นชิ้นทดสอบรูปแท่ง จำนวน 20 ชิ้นต่อกลุ่ม เพื่อทดสอบค่าความแข็งแรงดึงระดับจุลภาค จำแนกความล้มเหลวของชิ้นทดสอบด้วยกล้องสเตอริโอไมโครสโคป วิเคราะห์ผลด้วยสถิติความแปรปรวนสองทางและวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วยสถิติ ดันเนท ทีสาม ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการทดลอง การปรับสภาพผิวเดือยฟันด้วยสารเคมีสามารถเพิ่มความแข็งแรงดึงระดับจุลภาคอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) การทาไซเลนและสารบอนด์ดิงให้ค่าความแข็งแรงดึงระดับจุลภาคสูงกว่าการทาสารบอนด์ดิงหรือไซเลนอย่างเดียว ตามลำดับ การปรับสภาพผิวเดือยฟันด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ความเข้มข้นร้อยละ 30 นาน 1 นาที ตามด้วยการทาไซเลนและสารบอนด์ดิงให้ค่าความแข็งแรงดึงระดับจุลภาคสูงสุด สรุป การปรับสภาพผิวเดือยฟันเสริมเส้นใยที่มีส่วนประกอบพื้นฐานเป็นไดเมทาคริเลตด้วยสารเคมีตามด้วยไซเลนและ/หรือสารบอนด์ดิงสามารถช่วยเพิ่มความแข็งแรงพันธะระหว่างเดือยฟันและแกนฟันเรซินคอมโพสิต en_US
dc.description.abstractalternative Objective: To evaluate microtensile bond strength between dimethacrylate-based fiber post and resin composite core after post surface treatment with chemical agents. Materials and methods: Ninety-six FRC Postec Plus were divided into 6 groups: group 1 no surface treatment; group 2 treatment with 37% phosphoric acid for 1 minute; group 3 treatment with 30% hydrogen peroxide for 10 minutes; group 4-6 treatment with 30%, 35%, 50% hydrogen peroxide for 1 minute, respectively. Surface morphology of one post in each group was examined by scanning electron microscope. The remaining fiber posts in each group were divided into 3 subgroups: subgroup 1 silanization; subgroup 2 application of bonding agent; subgroup 3 application of silane-bonding agent. The surface treated post was placed at the center of a cylindrical plastic tube. Multicore Flow was injected into the matrix band and light-activated. The post-core units were cut into twenty stick-shaped specimens per group for microtensile bond strength test. Modes of failure were classified by stereomicroscope. Data of microtensile bond strength were analyzed with two-way analysis of variances and Dunnett’s T3 at 95% confidence level. Results: Post surface treatment with chemical agents could significantly increase the microtensile bond strength (p<0.05). The application of silane-bonding agent resulted in higher microtensile bond strength than the application of bonding agent or silane only, respectively. Post surface treatment with 30% hydrogen peroxide for 1 minute followed by silane-bonding agent showed the highest microtensile bond strength. Conclusions: Surface treatment of dimethacrylate-based fiber post with chemical agents followed by silane and/or bonding agent can improve bond strength between fiber post and resin composite core. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.986
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ทันตกรรมประดิษฐ์
dc.subject ทันตวัสดุ
dc.subject เรซินทางทันตกรรม
dc.subject การยึดติดทางทันตกรรม
dc.subject สารยึดติดทางทันตกรรม
dc.subject Prosthodontics
dc.subject Dental materials
dc.subject Dental resins
dc.subject Dental bonding
dc.subject Dental adhesives
dc.title ผลของการปรับสภาพพื้นผิวต่อความแข็งแรงดึงระดับจุลภาคระหว่างเดือยฟันเสริมเส้นใยที่มีส่วนประกอบพื้นฐานเป็นไดเมทาคริเลตกับแกนฟันเรซินคอมโพสิต en_US
dc.title.alternative EFFECT OF SURFACE TREATMENT ON MICROTENSILE BOND STRENGTH BETWEEN DIMETHACRYLATE-BASED FIBER POST AND RESIN COMPOSITE CORE en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline ทันตกรรมประดิษฐ์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Wacharasak.T@Chula.ac.th,wacharasak@hotmail.com en_US
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2014.986


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record