DSpace Repository

ความหวัง การมองโลกในแง่ดี การเผชิญปัญหา และความวิตกกังวลของผู้สูงอายุที่มีความเจ็บป่วยเรื้อรังในชุมชน

Show simple item record

dc.contributor.advisor อรัญญา ตุ้ยคำภีร์ en_US
dc.contributor.advisor สุภาพรรณ โคตรจรัส en_US
dc.contributor.author ปิยพัฒน์ วงศ์สินอุดม en_US
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา en_US
dc.date.accessioned 2015-09-17T04:03:29Z
dc.date.available 2015-09-17T04:03:29Z
dc.date.issued 2557 en_US
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45597
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 en_US
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของความหวัง การมองโลกในแง่ดี และการเผชิญปัญหา ที่มีต่อความวิตกกังวลของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีความเจ็บป่วยเรื้อรังในชุมชนจำนวน 291 คน (ชาย 92 คน หญิง 199 คน) เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย มาตรวัดความหวัง มาตรวัดการมองโลกในแง่ดี มาตรวัดการเผชิญปัญหา และมาตรวัดความวิตกกังวลของผู้สูงอายุ การเก็บข้อมูลโดยให้ผู้สูงอายุตอบแบบสอบถามเป็นรายบุคคล การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการสร้างสมการโครงสร้างโดยใช้โปรแกรมลิสเรล (LISREL) ผลการวิจัยพบว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่แสดงถึงอิทธิพลของความหวัง การมองโลกในแง่ดี ที่มีต่อความวิตกกังวลของผู้สูงอายุที่มีความเจ็บป่วยเรื้อรังในชุมชน โดยมีการเผชิญปัญหาเป็นตัวแปรส่งผ่าน มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (X2 = 72.57, df = 58, p = .094, GFI = .97, AGFI = .94, RMSEA = .029) ทั้งนี้ ตัวแปรทั้งหมดในสมการสามารถอธิบายความแปรปรวนของความวิตกกังวลของผู้สูงอายุได้ร้อยละ 53.0 (R2 = .53, p < .001) โดยที่การเผชิญปัญหาด้านลบ (แบบหลีกหนีปัญหา และแบบการจมดิ่งกับอารมณ์) มีอิทธิพลทางตรงต่อความวิตกกังวลของผู้สูงอายุสูงที่สุด (β = .75, p < .001) รองลงมาเป็นความหวัง (β = -.52, p < .05) และการมองโลกในแง่ดี (β = -.13, p < .05) ทั้งนี้ ตัวแปรที่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อความวิตกกังวลของผู้สูงอายุผ่านการเผชิญปัญหาด้านลบมีเพียงตัวเดียว คือ ความหวัง (β = .21, p < .05) en_US
dc.description.abstractalternative The purpose of this study was to investigate the influence of hope and optimism on geriatric anxiety with coping as mediator. Participants were 291 community-dwelling older adults with chronic illness. They were 92 males and 199 females. Instruments were (1) Hope Scale (2) The Revised Life Orientation Test (3) Coping Scale and (4) Geriatric Anxiety Inventory. Participants completed questionnaire individually. Data analyzed using the structural equation modeling through LISREL. Findings revealed that the causal model where hope and optimism were used to predict geriatric anxiety of community-dwelling older adults with chronic illness with coping being a mediator, fits the empirical data (X2 = 72.57, df = 58, p = .094, GFI = .97, AGFI = .94, RMSEA = .029). The model accounted for 53.0 percent of the variance of geriatric anxiety (R2 = .53, p < .001). The direct effect of negative coping (Avoidance and Emotional Submission) was the most salient in predicting geriatric anxiety (β = .75, p < .001), followed by hope (β = -.52, p < .05) and optimism (β = -.13, p < .05), respectively. The indirect effect of hope on geriatric anxiety via negative coping was found (β = .21, p < .05). en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.997
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ความหวัง
dc.subject การมองโลกในแง่ดี
dc.subject การปรับตัว (จิตวิทยา)
dc.subject ความเครียดในผู้สูงอายุ
dc.subject ความวิตกกังวล
dc.subject จิตวิทยาการปรึกษา
dc.subject Hope
dc.subject Optimism
dc.subject Adjustment (Psychology)
dc.subject Stress in old age
dc.subject Anxiety
dc.subject Counseling psychology
dc.title ความหวัง การมองโลกในแง่ดี การเผชิญปัญหา และความวิตกกังวลของผู้สูงอายุที่มีความเจ็บป่วยเรื้อรังในชุมชน en_US
dc.title.alternative HOPE, OPTIMISM, COPING, AND GERIATRIC ANXIETY OF COMMUNITY-DWELLING OLDER ADULTS WITH CHRONIC ILLNESS en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline จิตวิทยา en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Arunya.T@Chula.ac.th,atuicomepee@gmail.com en_US
dc.email.advisor ksupapun@chula.ac.th en_US
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2014.997


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record