dc.contributor.advisor |
นราพงษ์ จรัสศรี |
en_US |
dc.contributor.author |
สทาศัย พงศ์หิรัญ |
en_US |
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
en_US |
dc.date.accessioned |
2015-09-17T04:04:00Z |
|
dc.date.available |
2015-09-17T04:04:00Z |
|
dc.date.issued |
2557 |
en_US |
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45642 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (ศป.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 |
en_US |
dc.description.abstract |
วิทยานิพนธ์เรื่อง “ดรสา แบหลา: นาฏยศิลป์สร้างสรรค์จากวรรณคดีไทยเรื่อง อิเหนา” นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ และศึกษาค้นคว้าหาแนวคิดในการสร้างสรรค์งานนาฏยศิลป์ โดยใช้เครื่องมือที่ช่วยให้เข้าถึงข้อมูลเชิงลึก ในการสร้างสรรค์งานนาฏยศิลป์ ทั้งการสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ และแบบฝึกหัดทางนาฏยศิลป์ ซึ่งมุ่งเน้นการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการตีความสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย ผลของการวิจัยในครั้งนี้ คือ ได้ผลงานการสร้างสรรค์งานนาฏยศิลป์ และได้แนวคิดในการสร้างสรรค์งานนาฏยศิลป์ซึ่งตรงตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกประการ โดยผลงานการสร้างสรรค์นั้น สามารถจำแนกได้ตามองค์ประกอบของนาฏยศิลป์ออกเป็น 8 ประการดังนี้ 1) บทการแสดงที่สร้างสรรค์ใหม่บนพื้นฐานมาจากวรรณคดีของไทย 2) นักแสดงที่มีความถนัดและมีทักษะปฏิบัติทางการแสดงมากกว่าการเต้นรำ เพื่อการสื่อสารจินตภาพ อารมณ์ และความรู้สึกเป็นสำคัญ 3) ลีลาและการเคลื่อนไหวทางนาฏยศิลป์ตามแนวคิดของโพสโมเดิร์นดาร์นซ์ (Post Modern Dance) ที่เรียกว่า “อันเทรนดาร์นซ์เซอร์” (Un - Train Dancer) ในการฝึกฝนนักแสดง 4) เสียงและดนตรีประกอบที่เปิดกว้างทางความคิดและจินตนาการของผู้ชม 5) อุปกรณ์การแสดงภายใต้พื้นฐานแนวคิดที่เรียกว่ามินิมอลลิซึ่ม (Minimalism) โดยมุ่งเน้น ความประหยัด และความเรียบง่าย 6) พื้นที่การแสดงตามแนวคิด“ศิลปะเฉพาะที่”(Site Specific Art) ที่สามารถสื่อสารความหมาย และสร้างความเชื่อให้กับผู้ชม 7) แสงที่ใช้ทฤษฎีของสี มาเป็นส่วนสําคัญในการเล่าเรื่องและลําดับเหตุการณ์ 8) เครื่องแต่งกายที่ส่งเสริมบุคคลิกตัวละคร ที่เอื้อต่อลีลาและการเคลื่อนไหวของนักแสดง นอกจากนั้น แนวความคิดในการสร้างสรรค์งานนาฏยศิลป์ก็สามารถสรุปประเด็นตามความสําคัญ ได้ดังนี้คือ 1) การคํานึงถึงการสร้างสรรค์งานนาฏยศิลป์บนพื้นฐานของความเคารพวรรณคดีไทย 2) การคํานึงถึงเรื่องราววรรณคดีไทยที่ผสมผสานกับแนวคิดและรูปแบบของนาฏยศิลป์ตะวันตก 3) การคํานึงถึงการบูรณาการระหว่างนาฏยศิลป์กับศิลปะการละคร 4) การคํานึงถึงทฤษฎีและแนวคิดสตรีนิยม (Feminism) 5) การคํานึงถึงทฤษฎีและแนวคิดโพสโมเดิร์น (Post – modern) 6) การใช้สัญลักษณ์เพื่อสื่อสารในการแสดง และ 7) การสะท้อนให้เห็นถึงสภาพสังคม ข้อสรุปจากผลการวิจัย ตลอดจนผลสำรวจจากแบบสอบถามในงานวิจัยครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่า “ดรสา แบหลา: นาฏยศิลป์สร้างสรรค์จากวรรณคดีไทยเรื่อง อิเหนา” เป็นผลงานการแสดงที่มีลักษณะเด่นที่เรียกว่า “พหุวัฒนธรรม” (Muticultural) คือการผสมผสานระหว่างเรื่องราวความเป็นไทย กับการนำเสนอในรูปแบบนาฏยศิลป์การละคร (Dance theatre) ของตะวันตก และยังมีความแตกต่างจาก ดรสา แบหลา ในรูปแบบนาฏยศิลป์สร้างสรรค์ที่เคยปรากฎมาด้วยการตีความผ่านแนวคิดสตรีนิยม (Feminism) การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ชิ้นน้ีได้ จะสามารถเป็นตัวอย่างของสื่อการแสดงแนวใหม่ ในการถ่ายทอดและอนุรักษ์วรรณคดีไทย ในอนาคตต่อไป |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
The objectives of “Suicide of Darasa: the Dance Creation from Thai Literature Inao” are to create a dance performance and to study the concepts in the art creation, using the tools in reaching in-depth data in dance creation. Participant observation, informal interviews and dance exercises are also employed, focusing on an analysis to reach inductive conclusions.The outcome of this research is a creation of a dance and concepts in dance creation, which fulfils the study’s objectives. The creation consists of 8 dance components: 1) a new play based on Thai literature; 2) performers trained in acting rather than dancing who chiefly convey imagination, emotions and feelings; 3) choreography and movements in the school of postmodern dance or “untrained dancers”, whose concepts are used to train the performers; 4) sound and music accompaniment which stimulate the audience’s thoughts and imagination; 5) minimal props which are simple and economical; 6) performing space observing the “Site-Specific Art” concept, which conveys meaning and create illusion for the audience; 7) colour theory in lighting to present narrative chronology; and 8) costumes which enhance characters and allow free movements for the performers. Moreover, the concepts in dance creation are, presented in order of importance, namely 1) consideration of the dance creation based on respect for Thai literature; 2) consideration of Thai literature mixed with western dance concepts and forms; 3) consideration of integration between dance and drama; 4) consideration of feminist concepts and theories; 5) consideration of postmodern concepts and theories; 6) usage of symbols to communicate in the performance and 7) reflection of social conditions. The research conclusions and results from questionnaires in this study show that “Suicide of Darasa: the Dance Creation from Thai Literature Inao” is a performance with prominence in multiculturalism; that is, a fusion of Thainess and western dance theatre presentation. It is also distinct from existing “Suicide of Darasa” in the dance form in its unveiling of feminism. This dance creation will be an example of a new performance medium in disseminating and preserving Thai literature. |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1033 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
อิเหนา |
|
dc.subject |
สตี |
|
dc.subject |
วรรณคดีไทย |
|
dc.subject |
นาฏศิลป์ไทย |
|
dc.subject |
การรำ |
|
dc.subject |
ละคร |
|
dc.subject |
สตรีนิยม |
|
dc.subject |
Inao |
|
dc.subject |
Sati |
|
dc.subject |
Thai literature |
|
dc.subject |
Dramatic arts, Thai |
|
dc.subject |
Dance |
|
dc.subject |
Theater |
|
dc.subject |
Feminism |
|
dc.title |
ดรสา แบหลา: นาฏยศิลป์สร้างสรรค์จากวรรณคดีไทย เรื่อง อิเหนา |
en_US |
dc.title.alternative |
SUICIDE OF DARASA: THE DANCE CREATION FROM THAI LITERATURE INAO |
en_US |
dc.type |
Thesis |
en_US |
dc.degree.name |
ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
en_US |
dc.degree.level |
ปริญญาเอก |
en_US |
dc.degree.discipline |
ศิลปกรรมศาสตร์ |
en_US |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.email.advisor |
Naraphong.C@Chula.ac.th,thaiartmovement@hotmail.com |
en_US |
dc.identifier.DOI |
10.14457/CU.the.2014.1033 |
|