DSpace Repository

การประมาณค่าควอนไทล์โดยตัวประมาณแบบกราฟด้วยข้อมูลที่ถูกตัดปลายทางขวาจากการแจกแจงแบบล็อก-โลเคชั่น-สเกล

Show simple item record

dc.contributor.advisor อนุภาพ สมบูรณ์สวัสดี en_US
dc.contributor.author กานต์ธิดา ตันประเสริฐ en_US
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี en_US
dc.date.accessioned 2015-09-17T04:05:17Z
dc.date.available 2015-09-17T04:05:17Z
dc.date.issued 2557 en_US
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45800
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 en_US
dc.description.abstract ควอนไทล์-ควอนไทล์ พล็อต หรือที่เป็นที่รู้จักในชื่อ Q-Q plot เป็นที่นิยมใช้ในการตรวจสอบสมมติฐานของการแจกแจง เมื่อใช้กับข้อมูลจากการแจกแจงแบบโลเคชั่น-สเกล หรือล็อก-โลเคชั่น-สเกล ค่าพารามิเตอร์แสดงตำแหน่งและค่าพารามิเตอร์แสดงขนาดสามารถประมาณได้จากกราฟ Q-Q plot วิธีการประมาณแบบกราฟนี้ (Graphical Estimation Method; GE Method) เป็นวิธีประมาณที่ง่ายและรวดเร็วเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการประมาณแบบมาตรฐานอย่างวิธีการประมาณแบบภาวะน่าจะเป็นสูงสุด (Maximum Likelihood Estimation Method; MLE Method) วัตถุประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้เพื่อเปรียบเทียบวิธีการประมาณแบบกราฟ กับวิธีการประมาณแบบภาวะน่าจะเป็นสูงสุดในการประมาณค่าควอนไทล์ด้วยข้อมูลที่ถูกตัดปลายทางขวาแบบที่ 1 และ 2 ที่มาจากการแจกแจงแบบ ล็อก-โลเคชั่น-สเกล โดยการแจกแจงที่ใช้ในการศึกษาคือ การแจกแจงล็อกปกติ การแจกแจงไวบูลล์ และการแจกแจงล็อกโลจิสติก ผลการศึกษาโดยรวมพบว่า (1) ข้อมูลที่ถูกตัดปลายทางขวาแบบที่ 1 และแบบที่ 2 ให้ผลเปรียบเทียบระหว่างวิธี MLE กับวิธี GE ในทิศทางเดียวกัน (2) วิธี MLE มีประสิทธิภาพในการประมาณที่ดีกว่าวิธี GE ในทุกสถานการณ์ที่ศึกษา (3) ทั้ง 3 การแจกแจงให้ผลที่ค่อนข้างคล้ายกัน โดยเมื่อระดับสัดส่วนการตัดปลายทางขวา หรือตำแหน่งควอนไทล์สูงขึ้น จะทำให้ประสิทธิภาพสัมพัทธ์ของวิธี GE เมื่อเทียบกับ MLE มีค่าต่ำลง และ (4) เมื่อเปรียบเทียบ 3 การแจกแจง พบว่าค่าประสิทธิภาพสัมพัทธ์ในการเปรียบเทียบวิธีการประมาณแบบกราฟกับวิธีการประมาณแบบภาวะน่าจะเป็นสูงสุด มีค่าสูงสุดเมื่อประมาณค่าควอนไทล์จากการแจกแจงล็อกปกติ en_US
dc.description.abstractalternative Quantile-quantile plot, also known as Q-Q plot, is commonly used for assessing distributional assumption. When the data are from Location-Scale or Log-Location-Scale distributions, the location and scale parameters can be graphically estimated from the Q-Q plot. This graphical estimation (GE) method is quick-and-easy to estimate in comparison to standard method such as the maximum likelihood estimation (MLE) method. The purpose of this study is to compare GE to MLE methods in estimating quantiles when dealing with type-1-right-censored data and type-2-right-censored data from Log-Location-Scale distribution. The distributions in this study are lognormal, Weibull, and loglogistic distributions. Overall findings are: (1) type1 and type2 right censored data give the similar results in comparing GE to MLE method, (2) MLE method is more efficient than GE method in every scenarios, (3) similarly for all three distributions, the performance of the GE method decreases when the censoring rate or the position of quantiles increase, and (4) when comparing between three distributions, relative efficiency of GE to MLE methods yields the highest values when estimating the quantile from lognormal distribution. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.title การประมาณค่าควอนไทล์โดยตัวประมาณแบบกราฟด้วยข้อมูลที่ถูกตัดปลายทางขวาจากการแจกแจงแบบล็อก-โลเคชั่น-สเกล en_US
dc.title.alternative QUANTILE ESTIMATION BY GRAPHICAL ESTIMATORS WITH RIGHT-CENSORED DATA FROM LOG-LOCATION-SCALE DISTRIBUTIONS en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline สถิติ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Anupap.S@Chula.ac.th,mr.anupap@gmail.com,anupap@cbs.chula.ac.th,Anupap.S@Chula.ac.th en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record