dc.contributor.advisor |
นันทริกา ชันซื่อ |
en_US |
dc.contributor.author |
ชญานิศ ดาวฉาย |
en_US |
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์ |
en_US |
dc.date.accessioned |
2015-09-18T04:21:08Z |
|
dc.date.available |
2015-09-18T04:21:08Z |
|
dc.date.issued |
2557 |
en_US |
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45970 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 |
en_US |
dc.description.abstract |
การศึกษาครั้งนี้มีจุดประสงค์ในการประเมินวงรอบการสืบพันธุ์และศึกษาผลของการใช้ฮอร์โมนโพรสตาแกลนดินเอฟทูแอลฟ่าสังเคราะห์ต่อระดับฮอร์โมนเพศและลักษณะทางกายภาพของอวัยวะในระบบสืบพันธุ์ โดยการเจาะเลือดเพื่อวิเคราะห์ระดับฮอร์โมนเพศร่วมกับการศึกษาลักษณะทางกายภาพของอวัยวะในระบบสืบพันธุ์จากการสังเกต วัด และการอัลตราซาวด์ในปลากระเบนเพศผู้และเพศเมียเป็นเวลา 17 สัปดาห์ และเก็บข้อมูลดังกล่าวหลังจากการฉีดโพรสตาแกลนดินสังเคราะห์เป็นเวลา 26 วัน พบว่าปลากระเบนโมโตโร่ในบ่อเลี้ยงมีการปรับตัวให้มีรูปแบบของวงรอบการสืบพันธุ์แบบไม่พร้อมกันทั้งฝูงและสามารถสืบพันธุ์ได้ตลอดปีแตกต่างจากในประชากรในธรรมชาติ โดยระดับฮอร์โมนเพศไม่สามารถนำมาประเมินวงรอบการสืบพันธุ์โดยตรงได้ ในขณะที่ลักษณะทางกายภาพของอวัยวะในระบบสืบพันธุ์นั้นสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการประเมินวงรอบการสืบพันธุ์ ได้แก่ การเจริญของฟอลลิเคิล การตกไข่ การเปลี่ยนแปลงของมดลูก และความพร้อมในการผสมพันธุ์ของปลากระเบนเพศเมีย และการประเมินความเจริญพันธุ์และความพร้อมในการผสมพันธุ์ในปลากระเบนเพศผู้ได้ ซึ่งสามารถนำวิธีนี้มาใช้ในการประเมินรูปแบบและวงรอบการสืบพันธุ์ในปลากระเบนน้ำจืดที่หายากและใกล้สูญพันธุ์ได้ การใช้โพรสตาแกลนดินเอฟทูแอลฟ่าแสดงผลชัดเจนต่อมดลูก ทำให้มดลูกลดขนาดลงรวมทั้งลดความยาวของเนื้อเยื่อผนังมดลูกภายใน 1 วัน จึงเป็นไปได้ว่าการเปลี่ยนแปลงของมดลูกนี้จะเหนี่ยวนำให้เกิดการเตรียมพร้อมสำหรับวงรอบการสืบพันธุ์ครั้งใหม่ได้ ในขณะที่ฮอร์โมนดังกล่าวไม่แสดงผลชัดเจนต่อขนาดฟอลลิเคิลและระดับฮอร์โมนเพศ อย่างไรก็ตามการศึกษาครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่มีรายงานการใช้โพรสตาแกลนดินเอฟทูแอลฟ่าสังเคราะห์ในปลากระดูกอ่อน |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
The objective of this study was to study reproductive cycle and affects of exogenous prostaglandin on sex hormone profiles and reproductive anatomy in Ocellate river stingray. Reproductive cycle was estimated using serum hormone level and anatomy of external reproductive organ and ultrasonography of internal reproductive organ for 17 weeks. Then, the data were collected continuously for 26 days after injection of exogenous prostaglandin. The results indicated that reproductive cycle pattern of captive P. motoro has been adapted to asynchronous pattern and can reproduce throughout the year. Sex hormone profile could not be used to estimate reproductive cycle while reproductive anatomy can be used to estimate follicle development, ovulation, change of endometrium and courtship receptivity. Moreover, it can also be used to estimate sex maturity and breeding readiness in male stingray. Exogenous prostaglandin clearly showed effects on uterus and trophonemata. Vertical diameter of uterus and trophonemata length were definitely declined within a day after injection. The change of endometrium possibly induces resumption of postpartum reproductive cyclicity. In addition, the injection showed the effects on serum estradiol and progesterone with no significant impact on ovary volume and dominant follicle diameter. However, this is the first report on the application of exogenous prostaglandin in Elasmobranch. |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.690 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
ปลากระเบนน้ำจืด |
|
dc.subject |
ปลากระเบนน้ำจืด -- การสืบพันธุ์ |
|
dc.subject |
ฮอร์โมนเพศ |
|
dc.subject |
Freshwater stingrays |
|
dc.subject |
Freshwater stingrays -- Reproduction |
|
dc.subject |
Hormones, Sex |
|
dc.title |
ผลของการใช้โพรสตาแกลนดินต่อระดับของฮอร์โมนเพศและวงรอบการสืบพันธุ์ในปลากระเบนน้ำจืดสายพันธุ์โมโตโร่ (Potamotrygon motoro) ในบ่อเลี้ยง |
en_US |
dc.title.alternative |
EFFECTS OF PROSTAGLANDIN ON SEX HORMONE PROFILES AND REPRODUCTIVE CYCLE IN CAPTIVE OCELLATE RIVER STINGRAY (POTAMOTRYGON MOTORO) |
en_US |
dc.type |
Thesis |
en_US |
dc.degree.name |
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
en_US |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
en_US |
dc.degree.discipline |
อายุรศาสตร์สัตวแพทย์ |
en_US |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.email.advisor |
Nantarika.C@chula.ac.th |
en_US |
dc.identifier.DOI |
10.14457/CU.the.2014.690 |
|