DSpace Repository

การศึกษาเปรียบเทียบการออกแบบเรขศิลป์ระหว่างวัยทวีนผู้ชายและวัยทวีนผู้หญิง จากแนวความคิดคุณค่าหลัก 6 ประการของวัยทวีน โดย มาร์ติน ลินด์สตรอม

Show simple item record

dc.contributor.advisor อารยะ ศรีกัลยาณบุตร en_US
dc.contributor.author ยศไกร ไทรทอง en_US
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ en_US
dc.date.accessioned 2015-09-18T04:21:37Z
dc.date.available 2015-09-18T04:21:37Z
dc.date.issued 2557 en_US
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46032
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศป.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 en_US
dc.description.abstract งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการเลือกใช้องค์ประกอบเรขศิลป์ หลักการออกแบบเรขศิลป์ หลักการจัดองค์ประกอบของภาพถ่าย และเทคนิควิธีการสร้างภาพประกอบระหว่างวัยทวีนผู้ชายและวัยทวีนผู้หญิง เพื่อใช้เป็นแนวทางในการออกแบบเรขศิลป์ที่เหมาะสมกับจุดจับใจ จากแนวความคิดคุณค่าหลัก 6 ประการของวัยทวีน โดย มาร์ติน ลินด์สตรอม ซึ่งวัยทวีน (Tween) เป็นคำที่เกิดขึ้นจากการผสมคำระหว่างคำว่า teen และ between หมายถึง คนหรือกลุ่มคนที่อยู่ระหว่างเด็กและวัยรุ่น มีอายุระหว่าง 8–14 ปี ซึ่งวัยทวีนโตเกินไปที่จะเป็นเด็ก แต่ก็เด็กเกินไปที่จะเป็นวัยรุ่น วัยทวีนชอบความแตกต่าง เป็นตัวของตัวเอง เป็นกลุ่มที่เริ่มต้นรับรู้แบรนด์ และที่สำคัญเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูงมาก โดยมีการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ (1) แนวคิดทางการตลาดสำหรับวัยทวีน (Marketing to Tweens) (2) แนวคิดคุณค่าหลัก 6 ประการของวัยทวีน (Tween's 6 Core Values) ได้แก่ ความกลัว, ความเพ้อฝัน, อำนาจควบคุม, อารมณ์ขัน, ความรัก, และความมั่นคง (3) แนวคิดทางด้านสุนทรียศาสตร์และการออกแบบเรขศิลป์ (Aesthetics and Graphic Design) (4) แนวคิดโลกแห่งภาพ (World of Images) จากนั้นได้สร้างแบบสอบถามโดยได้ทำการเก็บข้อมูล 4 ช่วง ได้แก่ (1) ข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ไม่ว่าจะเป็นด้านการทำงาน รวมทั้งการสอนในด้านการออกแบบเรขศิลป์ เป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 10 ปี จำนวน 19 ท่าน โดยการตอบแบบสอบถามในลักษณะของการใช้ผู้เชี่ยวชาญ อ้างอิงจากวิธีเดลฟาย (Delphi Method) เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญได้ทำการเลือกองค์ประกอบต่างๆ ในการออกแบบเรขศิลป์ตามจุดจับใจที่เหมาะสมสำหรับวัยทวีน (2) ข้อมูลจากวัยทวีนที่มีอายุระหว่าง 8-14 ปี อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร รวมทั้งสิ้น 388 คน เพื่อนำองค์ประกอบต่างๆ ในการออกแบบเรขศิลป์ที่ผู้เชี่ยวชาญเลือกไว้ในช่วงแรก นำมาให้วัยทวีนได้ทำการเลือกอีกครั้ง โดยได้ทำการเก็บข้อมูลแยกเป็น 2 กลุ่ม โดยเป็นวัยทวีนผู้ชายจำนวน 193 คน และวัยทวีนผู้หญิงจำนวน 195 คน (3) ข้อมูลจากกลุ่มสนทนา (Focus Group) จำนวน 4 ครั้ง จากวัยทวีนทั้งหมด 102 คน ในช่วงเวลาประมาณ 6 เดือน โดยเป็นการเก็บข้อมูลเพื่อการออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกายสำหรับวัยทวีน (4) ประเมินความพึงพอใจผลงานการออกแบบบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกายสำหรับวัยทวีนจากกลุ่มเป้าหมายทั้งสองเพศ ผลการวิจัยได้ค้นพบแนวทางในการออกแบบได้ทั้งหมด 12 แนวทาง แบ่งเป็นแนวทางในการออกแบบเรขศิลป์สำหรับวัยทวีนผู้ชาย จำนวน 6 แนวทาง และเป็นแนวทางในการออกแบบเรขศิลป์สำหรับวัยทวีนผู้หญิง จำนวน 6 แนวทาง ตามจุดจับใจจากคุณค่าหลัก 6 ประการของวัยทวีน โดยแต่ละแนวทางยังจัดประเภทของกลุ่มคำตอบไว้ 3 กลุ่ม ได้แก่ (1) กลุ่มคำตอบที่แนะนำให้นำไปใช้เพื่อการออกแบบอย่างยิ่ง (2) กลุ่มคำตอบที่แนะนำให้นำไปใช้เพื่อการออกแบบ และ (3) กลุ่มคำตอบที่ไม่แนะนำให้นำไปใช้เพื่อการออกแบบ ผลการเปรียบเทียบลำดับการเลือกใช้องค์ประกอบเพื่อการออกแบบเรขศิลป์ในแต่ละจุดจับใจสำหรับวัยทวีนผู้ชายและวัยทวีนผู้หญิง พบว่า วัยทวีนทั้งสองเพศชอบลำดับในการเลือกใช้องค์ประกอบแบบเดียวกันเป็นส่วนมาก โดยมีความชอบแตกต่างกันระหว่างร้อยละ 9.67 ถึง 38.46 ขึ้นอยู่กับแต่ละจุดจับใจ ซึ่งสามารถนำเอาผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้เพื่อการออกแบบได้ โดยจุดจับใจที่มีค่าร้อยละด้านความชอบในลำดับการเลือกใช้องค์ประกอบแบบเดียวกัน ระหว่างวัยทวีนผู้ชายและวัยทวีนผู้หญิงระดับสูง (ร้อยละ 80 ขึ้นไป) ซึ่งได้แก่ องค์ประกอบจากจุดจับใจด้านความกลัว ด้านอารมณ์ขัน ด้านความรัก และด้านความมั่นคง ก็อาจไม่ต้องคำนึงถึงวิธีการออกแบบเฉพาะเพศเพื่อสื่อสารถึงจุดจับใจดังกล่าวมากนัก แต่หากจุดจับใจที่มีค่าร้อยละด้านความชอบในลำดับการเลือกใช้องค์ประกอบแบบเดียวกัน ระหว่างวัยทวีนผู้ชายและวัยทวีนผู้หญิงระดับกลางถึงระดับต่ำ (ร้อยละ 79.99 ลงมา) ซึ่งได้แก่ องค์ประกอบจากจุดจับใจด้านความเพ้อฝัน และด้านอำนาจควบคุม ก็จะต้องคำนึงถึงวิธีการออกแบบเฉพาะเพศให้มาก ผลการประเมินความพึงพอใจการออกแบบบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกายสำหรับวัยทวีนที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด โดยกลุ่มวัยทวีนผู้ชายจำนวน 30 คน ให้ระดับความคิดเห็นด้วยอย่างยิ่งในประเด็นด้านสร้างการจดจำได้ดี มีค่าเฉลี่ยที่ 4.43 ส่วนกลุ่มวัยทวีนผู้หญิงจำนวน 30 คน ให้ระดับความคิดเห็นด้วยอย่างยิ่งในประเด็นด้านมีความโดดเด่นสะดุดตา มีค่าเฉลี่ยที่ 4.30 en_US
dc.description.abstractalternative The purpose of this research is to study the comparison of graphic design element, graphic design principle, principle of photographic composition, and illustration technique between tween boys and tween girls for developing the graphic design appropriated to the appeals from the concept of tween’s 6 core values by Martin Lindstrom. Tween is compound word of “teen” and “between”, which means people who are in the age period between “children” and “teens” approximately in 8-14 years old. Moreover, they are no longer to be little children but not yet teens. Tweens are self-confident, love to be different, begin to perceive in brand awareness and more importantly, have great purchasing power. The researcher has studied from concept, theory, and literature review as follows; (1) Marketing to tweens concept (2) Tween's 6 core values by Martin Lindstrom; fear, fantasy, mastery, humor, love, and stability (3) Aesthetics and graphic design concept (4) World of images concept. Then, researcher develops questionnaires and collects data for 4 steps; (1) Data from 19 experts in working field or teaching in graphic design with more than 10 years experience to select the appropriated elements of graphic design to the appeals for tweens referring from Delphi Method (2) Data from 388 tweens with 8-14 years old in Bangkok area by providing the appropriated elements selected by expert in the first step for the tweens to select again. Data collection is divided into 2 groups; 193 tween boys and 195 tween girls. (3) Data from conducting 4 focus groups with 102 tweens within a 6 month period to design and develop packaging of deodorant products for tweens. (4) Evaluate the satisfaction survey of deodorant packaging for tweens from both gender of target group. Research result has been found 12 ways of design which are divided into 6 ways of graphic design for tween boys and 6 ways of graphic design for tween girls to the appeals from the concept of tween’s 6 core values and also categorized the answer to 3 groups; (1) Highly recommend to be applied for design (2) Recommend to be applied for design (3) Not recommend to be applied for design. Comparative result of sequence selection for appropriated elements of graphic design in each appeal for tween boys and tween girls states that tween boys and girls generally prefer the same elements but the different point of satisfaction is in 9.67% to 38.46% depend on each appeal. The appeals, which get high percentage (more than 80%) in satisfaction by sequence selection the same appropriated element of tween boys and tween girls; fear, humor, love, and stability, do not need to consider the design for gender-specific. But if it is low percentage (lower than 79.99%); fantasy and mastery, need to consider the design for gender-specific. The highest mean of evaluation survey in satisfaction of deodorant packaging for tweens states that 30 tween boys totally agree on the criteria of impressiveness with mean of 4.43 and 30 tween girls totally agree on the criteria of attractiveness with mean of 4.30. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.789
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ลินด์สตรอม, มาร์ติน, ค.ศ.1970-
dc.subject การออกแบบกราฟิก
dc.subject ค่านิยมในวัยรุ่น
dc.subject ศิลปกรรม -- การตลาด
dc.subject สุนทรียศาสตร์
dc.subject Lindstrom, Martin, 1970-
dc.subject Graphic design
dc.subject Values in adolescence
dc.subject Art -- Marketing
dc.subject Aesthetics
dc.title การศึกษาเปรียบเทียบการออกแบบเรขศิลป์ระหว่างวัยทวีนผู้ชายและวัยทวีนผู้หญิง จากแนวความคิดคุณค่าหลัก 6 ประการของวัยทวีน โดย มาร์ติน ลินด์สตรอม en_US
dc.title.alternative COMPARATIVE STUDY OF GRAPHIC DESIGN BETWEEN TWEEN BOYS AND TWEEN GIRLS FROM THE CONCEPT OF TWEEN'S 6 CORE VALUES BY MARTIN LINDSTROM en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาเอก en_US
dc.degree.discipline ศิลปกรรมศาสตร์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Araya.S@chula.ac.th,araya.chula@yahoo.com en_US
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2014.789


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Fine Arts - Theses [876]
    วิทยานิพนธ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์

Show simple item record