Abstract:
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1)เปรียบเทียบคะแนนสุขภาวะของเยาวชนที่มีระดับการควบคุมตนเองแตกต่างกันระหว่างกลุ่มที่ได้รับการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวความหมายในชีวิตและกลุ่มที่ได้รับกิจกรรมปกติของศูนย์ฝึกฯ(2)วิเคราะห์พัฒนาการของสุขภาวะที่เป็นผลมาจากการได้รับกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวความหมายในชีวิตโดยใช้การวิเคราะห์โมเดลโค้งพัฒนาการที่มีตัวแปรแฝงและ (3)ทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลโค้งพัฒนาการที่มีตัวแปรแฝงของคะแนนสุขภาวะของเยาวชนระหว่างกลุ่มที่ได้รับการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวความหมายในชีวิตกับกลุ่มที่ได้รับกิจกรรมปกติของศูนย์ฝึกฯโดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เยาวชนผู้กระทำผิดที่ใช้สารเสพติด ที่อยู่ในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนเขต 8 จังหวัดสุราษฎร์ธานี และเขต 9 จังหวัดสงขลา จำนวน 180 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 90 คน และกลุ่มควบคุมจำนวน 90 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1) โปรแกรมกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวความหมายในชีวิต (2) มาตรวัดสุขภาวะ และ (3) มาตรวัดการควบคุมตนเอง การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมพหุนามแบบวัดซ้ำด้วยโปรแกรม SPSS การวิเคราะห์โมเดลโค้งพัฒนาการที่มีตัวแปรแฝง และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างกลุ่มพหุด้วยโปรแกรม LISREL ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. คะแนนเฉลี่ยสุขภาวะจากการวัด 4 ครั้ง ระหว่างเยาวชนที่ได้รับกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวความหมายในชีวิตและเยาวชนที่ได้รับกิจกรรมปกติของศูนย์ฝึก ฯ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเยาวชนที่มีระดับการควบคุมตนเองแตกต่างกันมีคะแนนเฉลี่ยสุขภาวะจากการวัดครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3 และครั้งที่ 4 ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. โมเดลโค้งพัฒนาการที่มีตัวแปรแฝงของสุขภาวะ ในเยาวชนผู้กระทำผิดที่ใช้สารเสพติดที่ได้รับการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวความหมายในชีวิตจำนวน 90 คน และเยาวชนที่ได้รับกิจกรรมปกติของศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนจำนวน 90 มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่า = 1.84, df = 3,/ df = 0.613, p-value = 0.61 ดัชนี GFI = 1.00 , CFI = 1.00, NFI = 1.00, RMSEA = 0.0, และ SRMR = 0.022 3. โมเดลโค้งพัฒนาการที่มีตัวแปรแฝงของคะแนนสุขภาวะระหว่างเยาวชนที่ได้กลุ่มรับการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวความหมายในชีวิตและเยาวชนที่ได้รับกิจกรรมปกติของศูนย์ฝึกฯ มีความไม่แปรเปลี่ยนของรูปแบบโมเดลแต่มีความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยสุขภาวะในการวัดแต่ละครั้งและความแปรปรวนของคะแนนเฉลี่ยสุขภาวะจากการวัด 4 ครั้งกล่าวคือ โมเดลโค้งพัฒนาการที่มีตัวแปรแฝงคะแนนสุขภาวะของเยาวชนผู้กระทำผิดที่ใช้สารเสพติดระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีรูปแบบโมเดลไม่แตกต่างกัน แต่มีน้ำหนักองค์ประกอบในการวัดแต่ละครั้งแตกต่างกัน