dc.contributor.advisor |
ประพล คำจิ่ม |
th |
dc.contributor.author |
สมพงษ์ ลีระศิริ |
th |
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
th |
dc.date.accessioned |
2015-09-19T03:38:41Z |
|
dc.date.available |
2015-09-19T03:38:41Z |
|
dc.date.issued |
2557 |
en_US |
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46402 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (ศป.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 |
th |
dc.description.abstract |
งานวิจัยและสร้างสรรค์ในครั้งนี้ใช้กระบวนการศึกษาจากทฤษฎีสัมพันธบทและบริบทที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้างงานศิลปะที่มีแรงบันดาลใจมาจากสมาชิกภายในครอบครัวซึ่งมีรากฐานมาจากชาวไทยเชื้อสายจีน โดยกำหนดระยะเวลาศึกษาเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ในกรุงเทพมหานครระหว่างพ.ศ. 2500-2517 ซึ่งเป็นยุคที่มีความเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ การเมืองและการปกครองอย่างกว้างขวาง และเป็นช่วงเวลาร่วมสมัยเดียวกันกับที่มารดาของผู้วิจัยได้เติบโตขึ้นและมีประสบการณ์การรับรู้ความเป็นไปของสภาพสังคมของชุมชนเมืองหลวงผ่านสิ่งที่เป็นวัฒนธรรมบันเทิงในขณะนั้น ได้แก่ ภาพยนตร์ ละครวิทยุ และเพลงไทยสากล ผ่านช่องทางของเทคโนโลยีในการสื่อสารและผลงานศิลปะสมัยนั้นคือ โรงมหรสพ โรงภาพยนตร์ โทรทัศน์ วิทยุ และโปสเตอร์ เป็นต้น แต่ในขณะเดียวกันก็ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ทั้งในเรื่องการยอมรับนับถือของภาครัฐในสถานภาพความมีตัวตนอยู่ของชาวไทยเชื้อสายจีนภายใต้ยุคสมัยสร้างความเป็นไทย การยอมรับในเพศสภาพของความเป็นเพศแม่ที่ได้รับการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม ผู้วิจัยได้ใช้กระบวนวิธีการตีความภายใต้กรอบทฤษฎีสัมพันธบทระหว่างบริบททางสังคม บทเพลงและสิ่งที่เกี่ยวข้องกับชุดการรับรู้ของมารดามาสู่ผลงานสร้างสรรค์ประเภทวีดีโออาร์ตซึ่งเป็นสื่อที่สามารถผสมผสานเนื้อหางานทั้งภาพและเสียงให้สอดคล้องเหมาะสมกับทฤษฎี หลักการและแนวคิดทางศิลปะโดยใช้วิธีการตีความและคัดสรรผลงานในอดีตนำกลับมาสร้างสรรค์ใหม่ (Appropriation) เพื่อทำให้ผู้ชมเกิดการระลึกถึงภาพความทรงจำทางสังคมในอดีต (Social Memory) ซึ่งมีผลต่อกระบวนการนำเสนอที่ผู้วิจัยจะต้องดำเนินเนื้อหาตามลำดับเหตุการณ์ทางสังคมโดยเลือกที่จะใช้หลักการเปิดเผยและซ่อนเร้นสัญญะต่าง ๆ ที่เป็นจุดเด่นและจุดด้อยในช่วงชีวิตจากคำสัมภาษณ์ของมารดามาเป็นปัจจัยในการผลิตวีดีโออาร์ต โดยเลือกใช้บุคคลและสภาพแวดล้อมภายในชุมชนซอยเจริญนคร 13 ซึ่งเป็นแหล่งพักอาศัยในปัจจุบันของมารดาเป็นพื้นที่ภาคสนามในการปฏิบัติงานวิจัยและสร้างสรรค์ |
th |
dc.description.abstractalternative |
This research and creative work has been formulated drawing upon educational knowledge of the intertextuality and context theories, which are related to the process of creating a work of art inspired by Chinese ethnic family background. The studies of the historical social events in Bangkok was defined during the period between B.C. 2500 and 2517 (1957 - 1974), which was a period of enormous social, political, economic and governance changes. This period is the very same period of which the researcher’s mother grew up experiencing and recognising the social conditions of the capital through the entertainment culture namely movies, radio soap operas, and music via the communication and contemporary art channels such as theatres, cinema, television, radio and posters etc. At the same time, she was affected by social changes, both in terms of the public acceptance of the social status of people of Chinese ethnicity when the country was promoting “Thainess”, as well as the social acceptance of widespread discrimination based on her gender as a female. The research methodology framework has defined under the intertextuality theory, music and relative contexts among the set of mother’s perception through the creative works of video art, a media with mixed images and sound content, in order to conform with the theories, principles and concepts of art. The video art is created by using the interpretation and selection method of the work in the past to rebuild new creations (Appropriation) in order to cause the audiences to recall images from their memory of the social past (Social Memory). To reach such a result, the researcher has to carefully plan out the presentation process to ensure that the context is presented in chronological order of social events, whilst adopting the anonymity and disclosure principles on signs and symbols which are the high and low points in his mother’s life, according to her interview, as factors in the production of video art. Furthermore, this research selected the local residents and environment within the community of soi Charoennakorn 13, the current residence of his mother, as an operational field for research and creativity. |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
th |
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1216 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
th |
dc.subject |
วิดีโออาร์ต -- ไทย -- กรุงเทพฯ |
th |
dc.subject |
การเชื่อมโยงเนื้อหา |
th |
dc.subject |
แอ็พโพรพริเอชัน (ศิลปะ) -- ไทย -- กรุงเทพฯ |
th |
dc.subject |
ชาวไทยเชื้อสายจีน -- ไทย -- กรุงเทพฯ |
th |
dc.subject |
ไทย -- ภาวะสังคม |
th |
dc.subject |
ไทย -- ความเป็นอยู่และประเพณี |
th |
dc.subject |
Video art -- Thailand -- Bangkok |
en_US |
dc.subject |
Intertextuality |
en_US |
dc.subject |
Appropriation (Arts) -- Thailand -- Bangkok |
en_US |
dc.subject |
Thailand -- Social conditions |
en_US |
dc.subject |
Thailand -- Social life and customs |
en_US |
dc.title |
วิดีโออาร์ต: สัมพันธบท และการตีความผ่านความทรงจำของสังคมกรุงเทพร่วมสมัยจากมุมมองชาวไทย-จีน |
th |
dc.title.alternative |
VIDEO ART: INTERTEXT AND INTERPRETATION OF SOCIAL MEMORYFROM THAI-CHINESE PERSPECTIVE IN CONTEMPORARY BANGKOK |
en_US |
dc.type |
Thesis |
en_US |
dc.degree.name |
ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
th |
dc.degree.level |
ปริญญาเอก |
th |
dc.degree.discipline |
ศิลปกรรมศาสตร์ |
th |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
th |
dc.email.advisor |
prapon.k@chula.ac.th |
en_US |
dc.identifier.DOI |
10.14457/CU.the.2014.1216 |
|