dc.contributor.advisor | ผุสดี หลิมสกุล | en_US |
dc.contributor.author | นันทนา สาธิตสมมนต์ | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-09-19T03:39:57Z | |
dc.date.available | 2015-09-19T03:39:57Z | |
dc.date.issued | 2557 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46502 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 | en_US |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์เรื่อง กลวิธีการแสดงบทบาทนางยักษ์แปลงในละครนอก มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษาความเป็นมา องค์ประกอบการแสดง กระบวนท่ารำและกลวิธีในการแสดง โดยเลือกศึกษาบทบาทการแสดงของนางยักษ์แปลง 3 บทบาทได้แก่ บทบาทนางสันธีในละครนอกเรื่อง รถเสน บทบาทนางผีเสื้อสมุทรแปลงในละครนอกเรื่อง พระอภัยมณี และบทบาทนางพันธุรัตแปลงในละครนอกเรื่อง สังข์ทอง โดยใช้วิธีการดำเนินการวิจัยจากการศึกษาวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ การสังเกตการณ์การแสดง ตลอดจนรับการถ่ายทอดกระบวนท่ารำจากผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านนาฏยศิลป์ไทยที่เป็นผู้แสดงบทนางยักษ์แปลง ผลการวิจัยพบว่า นางยักษ์แปลง หมายถึงตัวละครที่มีชาติกำเนิดเป็นยักษ์เพศหญิงและได้แปลงกายเป็นนางมนุษย์ โดยมีวัตถุประสงค์ในการแปลงกายที่แตกต่างกัน ได้แก่ ต้องการหาคู่ครองที่เป็นมนุษย์ หรือต้องการปิดบังชาติกำเนิดของตนเพื่ออยู่ร่วมกับมนุษย์ บทนางยักษ์แปลงจึงเป็นบทบาทสำคัญสร้างความพลิกผันและสีสันในการดำเนินเรื่องราวของละครอย่างยิ่ง การแสดงบทบาทนางยักษ์แปลงในละครนอก ประกอบไปด้วย 1.บทบาทการรำซึ่งมีลักษณะของการรำตีบทตามคำร้องโดยใช้ท่ารำที่มาจากท่ามาตรฐานของตัวนาง และท่าที่เลียนแบบมาจากท่าธรรมชาติ และการรำในเพลงหน้าพาทย์ประกอบกิริยาของตัวละคร 2 บทบาทการเจรจาซึ่งมีลักษณะการเจรจาตามบทละครและการเจรจาเสริมบท กลวิธีในการแสดงมีลักษณะสำคัญดังนี้คือ การรำแบบมีจริต มีความกระฉับกระเฉงคล่องแคล่ว เน้นใช้จังหวะในการรำและการใส่พลังลงไปในท่ารำ มีการเคลื่อนไหวอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย ลีลาในการรำและการแสดงอารมณ์ตามบทบาทเน้นการแสดงออกอย่างเปิดเผยและมีลักษณะเกินจริง โดยแสดงออกผ่านทางสีหน้า แววตาและท่าทาง เช่นอารมณ์โกรธ อิจฉาริษยาจะใช้สีหน้าบึ้งตึง โดยวิธีการขมวดคิ้ว เบะปาก ส่งสายตาแข็งกร้าวอาฆาต กิริยาสะบัดสะบิ้ง อารมณ์รักจะใช้สีหน้ายิ้มแย้มส่งสายตาออดอ้อนยั่วยวน อารมณ์เสียใจ จะใช้สีหน้าแววตาเศร้าหมอง กิริยาสะอึกสะอื้น การเจรจาต้องใช้น้ำเสียงให้มีความสอดคล้องกับอารมณ์ของตัวละคร ซึ่งตัวนางยักษ์แปลงทั้ง 3 บทบาท มีท่วงทีลีลาในการรำที่คล้ายคลึงกัน แต่ต่างกันในด้านของการแสดงอารมณ์ ผู้แสดงบทบาทนางยักษ์แปลงต้องเป็นบุคคลที่มีรูปร่างหน้าตาสวยงาม มีทักษะทางนาฏยศิลป์ไทยเป็นอย่างดี มีบุคลิกภาพมั่นใจในตนเอง กล้าแสดงออก มีปฏิภาณไหวพริบสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี งานวิจัยทางด้านกลวิธีการแสดงจากบทบาทของตัวละครในนาฏยศิลป์ไทยยังมีอยู่เป็นจำนวนน้อย ควรค่าแก่การศึกษาและจัดทำเป็นงานวิชาการด้านนาฏยศิลป์ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อวงการนาฏยศิลป์ไทยสืบไป | en_US |
dc.description.abstractalternative | The objective of "Techniques in the Performance of the Role of Disguised Female Demon in Lakhonnok" is to study the history, elements of performance, dance patterns, and techniques of performance. The case studies included three roles of disguised female demons: the role of Santhumala in "Rathasena," the role of Nang Phisua Samut in "Phra Aphai Mani," and the role of Nang Phanthurat in "Sang Thong." The research methods included the freview of relevant literature, interviews, observations of the performance, as well as the participation in the training of dance patterns from experts in Thai classical dance who perform the role of disguised female demon. The results revealed that, a disguised female demon means the character who is born as a female demon and transforms herself into a female human. The purposes of the disguise are different, such as to look for a human suitor or to conceal the origin of herself in order to live with human. The role of disguised female demon is colourful and significant in creating the twist in the story. The performance of the role of disguised female demon in Lakhonnok consists of; 1. Dance performance, which is divided into the dance according to the interpretation of the lyrics using the classical dance patterns of the characters and the imitation of natural gestures, and the conventional dance in Na Phat Song to accompany characters' gestures; 2. Dialogues, which is divided into script dialogues and additional dialogues. Significant techniques of performance can be described as follows; dance is performed with manners and dynamic, focusing on rhythm of the dance and the vigor of dance patterns, moving every part of the body. Dance styles and emotional expression focus on the openly and exaggerated expression through facial expressions, eyes, and gestures. For example, anger and jealousy is expressed by a sullen facial expression, with knitted eyebrows, turn-down mouth, harsh and vindictive eyes, and short-tempered gestures. Love is expressed through smiling face and seductive eyes. Sadness is expressed with sad countenance and tearfully sentimental manner. The tone of voice used in dialogues need to be corresponding with the emotion of the character. The three roles of disguised female demons have similar dance styles and patterns, but they are different in terms of emotional expression. The requirements for the performers who perform the role of disguised female demon are found to be good look, good skills in Thai classical dance, self-confidence, expressiveness, intelligence and wit in improvisation. The studies on techniques of performance from the role of a character in Thai classical dance are found to be in a small number. Therefore it is worthy to be academically researched and developed to benefit Thai classical dance field in the future. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.title | กลวิธีการแสดงบทบาทนางยักษ์แปลงในละครนอก | en_US |
dc.title.alternative | TECHNIQUES IN THE PERFORMANCE OF THE ROLE OF THE DISGUISED FEMALE DEMON IN THE LAKHON NOK | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | นาฏยศิลป์ไทย | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | bundit@hotmail.com,bunditlim@hotmail.com | en_US |