DSpace Repository

นัยทางสังคมการเมืองของเพลงกล่อมเด็กไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor แล ดิลกวิทยรัตน์
dc.contributor.author วาริฎฐา ถาวโรฤทธิ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
dc.date.accessioned 2015-10-02T02:41:08Z
dc.date.available 2015-10-02T02:41:08Z
dc.date.issued 2551
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46802
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 en_US
dc.description.abstract งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและค้นคว้าความหมายและสาระของเนื้อร้องซึ่งเป็นอุดมคติในเพลงกล่อมเด็ก ในบริบททางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของไทย โดยใช้ข้อมูลในลักษณะใหม่ นั่นคือ การใช้วรรณกรรมประเภทมุขปะฐา (Oral literature) ได้แก่เพลงกล่อมเด็ก มาประกอบกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เพื่อนำมาศึกษา นัยทางสังคมการเมืองของเพลงกล่อมเด็กไทย แม้จุดประสงค์ของเพลงกล่อมเด็กจะถูกใช้เป็นเครื่องมือเพื่อสำหรับขับกล่อมเด็ก ณ ช่วงเวลาหนึ่งที่แสดงถึงความผูกพันในครอบครัว แต่เนื้อหาสาระของบทเพลงบางบทมีการสอดแทรกบริบททางสังคมของไทยในอดีตที่กล่าวถึงนัยทางสังคมการเมืองไทย ซึ่งสะท้อนถึงการจัดตั้งทางสังคม ได้แก่ วิถีการผลิต พลังการผลิต และความสัมพันธ์ทางการผลิต ผลการศึกษาพบว่า เพลงกล่อมเด็กทั้ง 4 ภาค ซึ่งผู้วิจัยศึกษาถึงนัยทางสังคมการเมืองไทย จากเนื้อหาสาระในเพลงกล่อมเด็กสะท้อนถึงการซ้อนเร้นทางสังคมที่มีรัฐคอยควบคุม โดยอธิบายภายใต้สมมุติฐานว่าความหมายในเพลงกล่อมเด็กบางเพลงผิดแผกไปจากหน้าที่ของการขับกล่อม ด้วยเนื้อหาสาระที่ควรจะมุ่งสื่อความหมายในทางสุนทรียศาสตร์โดยเฉพาะหากแต่เป็นสื่อกลางในการส่งผ่านความคิดทางการเมือง และกระบวนการกล่อมเกลาทางสังคม ของผู้ที่ขับกล่อม ซึ่งส่วนมากจะเป็นการสะท้อนชีวิตของไพร่ จึงสามารถใช้เป็นข้อมูลในการศึกษาบริบททางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ในยุคศักดินา จากการศึกษาโดยใช้วรรณกรรมประเภทเพลงกล่อมเด็กเพื่อศึกษาบริบททางเศรษฐกิจการเมือง และสังคม มิได้หมายความว่า เพลงกล่อมเด็กทุกบทเพลงจะมีเนื้อหาแสดงถึงนัยทางสังคมการเมืองทั้งหมด บทบาทของเพลงกล่อมเด็กก็ยังคงทำหน้าที่ขับกล่อม ให้ความสุนทรีย์อย่างต่อเนื่อง แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ายังคงมีบทเพลงกล่อมเด็กที่มีเนื้อหา และสาระที่แสดงถึงนัยทางสังคมการเมืองไทย ผ่านกระบวนการจัดตั้งทางสังคม โดยรัฐ ที่ส่งผ่านมาในบทเพลงกล่อมเด็ก เพื่อให้เกิดมิติของเพลงกล่อมเด็ก ที่นำไปสู่การอธิบายบริบททางเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองของสังคมไทยในอดีต en_US
dc.description.abstractalternative This research seeks to explore the meaning and essence of lyrics which are ideals that manifest in lullabies in the Thai economic, social, and political contexts. It analyzes lullabies, as a genre of oral literature, in juxtaposition with historical evidences to examine the implications of politics and society on the Thai lullabies. Notwithstanding their main function as a means that lulls a child to sleep and also manifests affectionate attachment in the family, certain lullabies contain lyrics that are subtly percolated with characteristics of the Thai socio-political settings in the past. These elements reflect the bases of social order, namely mode of production, forces of production, and relations of production. The findings on the lullabies in the four geographical regions of Thailand demonstrate that the implications of politics and society on the lullabies are evident beyond their aesthetic value as the songs have been used among the phrai families as a medium through which political ideas and socialization has been channeled. The lyrics also reflect the political, economic, and social contexts in the sakdina period. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1957
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject เพลงกล่อมเด็กไทย -- แง่สังคม en_US
dc.subject เพลงกล่อมเด็ก -- แง่สังคม en_US
dc.subject เพลงสำหรับเด็ก en_US
dc.subject วรรณคดีกับการเมือง en_US
dc.subject การเมืองกับวัฒนธรรม en_US
dc.subject Lullabies, Nursery rhymes -- Social aspects en_US
dc.subject Children's songs -- Social aspects en_US
dc.subject Politics and culture en_US
dc.title นัยทางสังคมการเมืองของเพลงกล่อมเด็กไทย en_US
dc.title.alternative Implications of politics and society on Thai lullabies en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline เศรษฐศาสตร์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Lae.D@chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2008.1957


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record