dc.contributor.author | กมลพร บัณฑิตยานนท์ | |
dc.contributor.author | วิภาวรรณ วงษ์สุวรรณ์ คงเผ่า | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2015-10-13T03:39:37Z | |
dc.date.available | 2015-10-13T03:39:37Z | |
dc.date.issued | 2555 | |
dc.identifier.other | ค 15 015558 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46814 | |
dc.description.abstract | การประเมินและติดตามผลหลักสูตรครูศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2538) สาขามัธยมศึกษา วิชาเอกภาษาไทยมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาสถานภาพของบัณฑิตคณะครุศาสตร์ สาขามัธยมศึกษา วิชาเอกภาษาไทย เพื่อสำรวจความคิดเห็นของบัณฑิตคณะครุศาสตร์ สาขามัธยมศึกษา วิชาเอกภาษาไทยเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร ปัญหาของหลักสูตร การนำความรู้ไปใช้ และคุณลักษณะของบัณฑิตที่ได้จากการเรียนตามหลักสูตร ตัวอย่างประชากรเป็นบัณฑิตคณะครุศาสตร์ สาขามัธยมศึกษา วิชาเอกภาษาไทยที่สำเร็จการศึกษาครุศาสตรบัณฑิตจำนวน 23 คน เป็นบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2541 จำนวน 13 คน และปีการศึกษา 2542 จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามสำหรับผู้สำเร็จการศึกษาครุศาสตรบัณฑิตสาขามัธยมศึกษา วิชาเอกภาษาไทย ตามหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2538) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การแจกแจงความถี่ คำนวณค่าร้อยละ คำนวณค่ามัชฌิมเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการประเมินและติดตามผลหลักสูตรได้ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 23 คน คือ บัณฑิตที่จบการศึกษาปี 2541 จำนวน 13 คน และบัณฑิตที่จบการศึกษาปี 2542 จำนวน 10 คน สรุปได้ดังนี้ 1. ด้านการจัดการเรียนการสอน หลักสูตรมีการจัดการเรียนการสอนมีความเหมาะสมในระดับมาก โดยลำดับแรกคือ เน้นการเรียนการสอนให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ส่วนการจัดการจัดการเรียนการสอนเน้นความรู้วิชาชีพครูในด้านการวิเคราะห์แบบเรียนอยู่ในระดับน้อย 2. ด้านปัญหาของหลักสูตร หลักสูตรมีปัญหาในระดับน้อย ทั้งนี้ปัญหาด้านผู้สอนเกี่ยวกับการสอนด้วยบรรยายเพียงอย่างเดียวอยู่ในระดับมาก ส่วนปัญหาด้านผู้สอนเกี่ยวกับการไม่มีการแนะนำรายวิชาและบอกข้อตกลงเบื้องต้นให้นิสิตทราบก่อนเริ่มการสอนอยู่ในระดับน้อยที่สุด 3. ด้านการนำความรู้ไปใช้ 3.1 การนำเนื้อหาวิชาความรู้ภาษาไทยไปใช้ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยลำดับแรกคือ ความรู้ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ส่วนเนื้อหาวิชาที่นำไปใช้อยู่ในระดับน้อยคือ ความรู้เกี่ยวกับภาษาถิ่น ความรู้เกี่ยวกับคำราชาศัพท์ และความรู้เกี่ยววรรณคดีมรดกและวรรณกรรมปัจจุบันในด้านประวัติผู้แต่ง 3.2 การนำทักษะวิชาภาษาไทยไปใช้อยู่ในระดับมากทุกทักษะ โดยทักษะที่มีการนำไปใช้มากที่สุดเรียงตามลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ทักษะการฟัง ทักษะการพูด ทักษะการอ่าน และทักษะการเขียน ส่วนทักษะวิชาภาษาไทยที่นำไปใช้อยู่ในระดับน้อย คือ ทักษะการพูดโต้วาที ทักษะการขับร้องเพลงไทยเดิมและเพลงปฏิพากย์ ทักษะการอ่านบทละคร ทักษะการเขียนบทละคร การเขียนโฆษณาจูงใจ ปลุกใจ การเขียนประกาศ และการเขียนจดหมาย ในขณะที่ทักษะการเขียนเรื่องสั้นมีการนำไปใช้อยู่ในระดับน้อยที่สุด 4. ด้านคุณลักษณะของบัณฑิต ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยลำดับแรก คือ มีคุณธรรม จริยธรรม มีความสามารถในการทำวิจัยอยู่ในระดับน้อย | en_US |
dc.description.abstractalternative | The Evaluation and Follow up of the Curriculum for Bachelor’s Degree in Education (B.E. 2538 Improved Curriculum), Secondary Education, Thai Language Program is the survey of the opinions of the graduates of the Faculty of Education, Secondary Education, Thai Language Program about teaching and learning, the problems, knowledge utilization as well as qualifications of the graduates of the Program. The samples were 23 graduates of the Faculty of Education, Secondary Education, Thai Language Program, 13 of whom graduated in 1988 and 10 in 1999. The questionnaire was used as a tool for compiling data. The analysis of data was done through frequency distribution, percentage calculation, arithmetic mean calculation and standard deviation. The results were as follows: 1) Teaching and Learning of the Program: The teaching and learning was found to be highly proper as it encourages students to become self-motivated, effective, and academically knowledgeable teacher; however, the teaching and learning that focused on analyzing textbooks was minimal; 2) Problems of the Program: Seldom problematic areas were found including teachers using lecturing as the only teaching method as the most, whereas teachers not introducing the subjects or explaining preliminary agreements to the students prior to the start of the class as the least; 3) Over all of Thai Content Knowledge Utilization was at the very good level with not much use of knowledge concerning dialects, the royal language, and the biography of the classical and modern literature authors, while over all of Thai Language Skills Utilization was also at the very good level across all skills, listening, speaking, reading and writing respectively, with not much use of skills for debating, Thai classical and dialogue song singing, script reading, script writing, propaganda writing, announcement writing, letter writing, and short story writing; and 4) Qualifications of the graduates: Overall, the graduates were of high quality except for their ability of research. | en_US |
dc.description.sponsorship | ทุนวิจัยในกองทุนคณะครุศาสตร์ พ.ศ. 2544 | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ -- หลักสูตร | en_US |
dc.subject | การประเมินหลักสูตร | en_US |
dc.subject | ภาษาไทย -- การศึกษาและการสอน | en_US |
dc.subject | ครุศาสตรบัณฑิต | en_US |
dc.title | การประเมินและติดตามผลหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2538) สาขามัธยมศึกษา วิชาเอกภาษาไทย | en_US |
dc.title.alternative | The evaluation and follow up the study Bachelor's Degree curriculum in education (B.E. 2538 Improved curriculum), Secondary Thai language program | en_US |
dc.type | Technical Report | en_US |
dc.email.author | Kamonporn.B@chula.ac.th | |
dc.email.author | Wipawan.W@Chula.ac.th |